บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
Full Description
อัล-หุดูด (การกำหนดบทลงโทษ)
﴿كتاب الحدود﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2010 - 1431
﴿كتاب الحدود﴾
« باللغة التايلاندية »
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: يوسف أبو بكر
مراجعة: عصران إبراهيم
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
อัล-หุดูด (การกำหนดบทลงโทษ)
การกำหนดบทลงโทษ (อัลหุดูด) ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้
1. บทลงโทษการผิดประเวณี (ซีนา)
2. บทลงโทษการใส่ร้าย (เรื่องการผิดประเวณี)
3. บทลงโทษการดื่มสุรา
4. บทลงโทษการลักขโมย
5. บทลงโทษการปิดทางสัญจร
6. บทลงโทษผู้ก่อการกบฏ (การเตือน ตกศาสนา บนบาน สาบาน)
บทนำว่าด้วยเรื่องการกำหนดบทลงโทษ
การกำหนดบทลงโทษ (อัลหุดูด) คือ การลงโทษตามจำนวนที่บทบัญญัติศาสนากำหนดในการฝ่าฝืน เพื่อสิทธิของอัลลอฮฺตะอะลา
การกำหนดบทลงโทษประเภทต่างๆ
การกำหนดบทลงโทษในศาสนาอิสลามมี 6 ประเภท ดังต่อไปนี้ คือ โทษการผิดประเวณี โทษการใส่ร้ายเรื่องการผิดประเวณี โทษการดื่มสุรา โทษการลักขโมย โทษการปิดทางสัญจร โทษผู้เป็นกบฏ
ความผิดที่กล่าวมาทั้งหมดมีบทลงโทษที่ศาสนากำหนดเป็นการเฉพาะ
วิทยปัญญาที่บทบัญญัติกำหนดบทลงโทษ
อัลลอฮฺได้สั่งใช้ให้เคารพและเชื่อฟังต่อพระองค์ ให้ปฏิบัติตามคำสั่งและออกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม และพระองค์ทรงกำหนดบทลงโทษประเภทต่างๆ เพื่อให้เป็นผลดีกับบ่าวของพระองค์ พระองค์ได้สัญญาด้วยสวนสวรรค์แก่ผู้ที่ยืนหยัดบนบทบัญญัติศาสนา และขุมนรกแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน ดังนั้นเมื่อผู้ใดได้กระทำความผิดและได้ถอนตัวจากความผิด พระองค์ได้เปิดประตูสำหรับการเตาบะฮฺ (การสารภาพผิด) และการอภัยโทษ
แต่ทว่าหากเขายังคงดำเนินชีวิตอยู่กับการฝ่าฝืนและล้ำขอบเขตที่พระองค์กำหนดไว้ เช่น การละเมิดต่อทรัพย์สิน เกียรติยศศักดิ์ศรีของผู้อื่น ดังนั้นจำเป็นแก่ผู้ที่ดื้อดึงจากความผิดด้วยการรักษาบทลงโทษของอัลลอฮฺ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบสุขแก่ประชาชาติ และข้อกำหนดบทลงโทษทั้งหมดนั้นเป็นความเมตตาและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ
การปกป้องความจำเป็นทั้งห้าประการ
การดำรงไว้ซึ่งความเป็นมนุษย์ คือ การปกป้องรักษาความจำเป็นทั้ง 5 ประการ และการดำรงรักษาขอบเขตต่างๆ และมาปกป้องรักษาและค้ำจุนความจำเป็นเหล่านั้น
ดังนั้นการรักษาชีวิตก็เพราะมีการชดใช้ชีวิต (กิศอศ)
การรักษาทรัพย์สินก็เพราะการดำรงไว้ซึ่งโทษของการลักขโมย
การรักษาเกียรติยศศักดิ์ศรีก็เพราะการดำรงไว้ซึ่งโทษของการผิดประเวณี
การรักษาสติปัญญาก็เพราะการดำรงไว้ซึ่งโทษของการดื่มสุรา
การรักษาความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติภูมิ ก็เพราะมีการลงโทษการปล้นชิง การปกป้องรักษาศาสนาและชีวิตในทุกด้านก็เพราะมีการดำรงรักษาบทลงโทษด้านต่างๆ
ความเข้าใจในการดำรงไว้ซึ่งบทลงโทษ
บทลงโทษ คือ สิ่งที่จะมาปรามมิให้มีการกระทำการฝ่าฝืนและปกป้องกับผู้ที่ถูกลงโทษ ทำให้เขามีความสะอาดเนื่องจากความผิด และปรามบุคคลอื่นมิให้กระทำ
ข้อกำหนดต่างๆ ของอัลลอฮฺ
คือบรรดาข้อห้ามของพระองค์อัลลอฮฺซึ่งห้ามมิให้กระทำหรือล่วงละเมิด เช่น การผิดประเวณี การขโมย และเรื่องอื่นๆ และบรรดาข้อกำหนดคือสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดให้ปฏิบัติ เช่น เรื่องมรดกและข้อกำหนดที่เป็นการสกัดกั้นสิ่งต้องห้าม เช่น การผิดประเวณี การใส่ร้าย และเรื่องอื่นๆ จากสิ่งที่บทบัญญัติศาสนาไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมหรือตัดทอน
ความแตกต่างระหว่างการประหารชีวิต (กิศอศ) กับบทลงโทษ
การประหารชีวิตเป็นสิทธิของญาติผู้ตาย (ถูกฆ่า) และเป็นสิทธิของผู้ถูกละเมิดหากว่าเขายังมีชีวิตอยู่โดยเรียกร้องให้มีการชดใช้หรือให้อภัย และผู้นำก็ต้องดำเนินตามคำร้องของเขา
สำหรับบทลงโทษต่างๆ นั้น เป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง (ฮากิม) ดังนั้นไม่อนุญาตให้ยกเลิกเมื่อเรื่องราวไปถึงเขา และเช่นเดียวกันโทษประหารชีวิตอาจถูกทดแทนด้วยกับการจ่ายสินไหม (ดียะฮฺ) หรือการให้อภัยโดยไม่มีสิ่งแลกเปลี่ยนอันใด แต่สำหรับบทลงโทษไม่อนุญาตให้มีการอภัยและไม่มีการอุทธรณ์ไม่ว่ากรณีใดจะด้วยมีสิ่งทดแทนหรือไม่มีสิ่งทดแทนก็ตามแต่
บุคคลที่จะถูกลงโทษ
จะไม่ถูกลงโทษนอกจากต้องเป็นบุคคลที่บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้เจตนา รู้สึกตัว รู้ถึงข้อห้าม ปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลาม เป็นมุสลิม หรือชาวซิมมียฺ (ผู้ปฏิเสธที่อาศัยอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม)
عن علي رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «رُفِعَ القَلَـمُ عَنْ ثَلاثَةٍ: عَنِ النَّائِمِ حَتَّى يَسْتَيْقِظَ، وَعَنِ الصَّبِيِّ حَتَّى يَـحْتَلِـمَ، وَعَنِ المَـجْنُوْنِ حَتَّى يَـعْقِلَ». أخرجه أحمد وأبو داود
1. ความหมาย จากอะลี เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ปากกาจะถูกยกจากบุคคลสามประเภท จากผู้ที่นอนหลับจนกระทั่งตื่น จากเด็กจนกระทั่งบรรลุศาสนภาวะ และจากผู้วิกลจริตจนกระทั่งหายเป็นปกติ” (บันทึกโดย อะหฺมัด หมายเลขหะดีษ 940 และอบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 4403 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน ดูเพิ่มเติมในหนังสือ อัลอิรวาอฺ หมายเลขหะดีษ 297)
ولما نزلت: ( ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ) [البقرة/286]، قال الله: «قَدْ فَعَلْتُ». أخرجه مسلم
2. เมื่ออัลลอฮฺได้ประทานโองการ ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ขอพระองค์อย่าได้ทรงถือโทษพวกเรา ในสิ่งที่พวกเราหลงลืมหรือผิดพลาดไป” (อัลบะกอเราะฮฺ / 286) อัลลอฮฺตรัสว่า “ข้าได้กระทำแล้ว” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 126)
บทบัญญัติว่าด้วยการล่าช้าในการลงโทษ
อนุญาตให้ล่าช้าในการลงโทษเมื่อมีเหตุผลที่ทำให้เกิดผลดีกับสาสนาอิสลาม อาทิ ในภาวะสงคราม หรือเป็นผลดีกับผู้ที่จะถูกลงโทษ อาทิ ในภาวะที่ร้อนหรือเย็น ป่วยไข้ หรือเป็นผลดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรณีเด็กที่อยู่ในครรภ์ หรือกรณีเด็กที่ดื่มนม
ผู้ทำหน้าที่ในการลงโทษ
ผู้ทำหน้าที่ในการลงโทษ คือ ผู้นำของปวงชนมุสลิมหรือผู้ทำหน้าที่แทนโดยกระทำต่อหน้า กลุ่มชนบรรดาผู้ศรัทธาในชุมชนมุสลิม และไม่ดำเนินการลงโทษในบริเวณมัสยิด
บทบัญญัติการลงโทษในมักกะฮฺ
อนุญาตให้มีการดำเนินการลงโทษและประหารชีวิต (กิศอศ) ในมักกะฮฺ การเป็นเขตหวงห้ามของหะรอมมักกะฮฺนั้นไม่ได้ปกป้องผู้กระทำผิด ดังนั้นผู้ใดที่ต้องถูกดำเนินโทษทัณฑ์ของอัลลอฮฺไม่ว่าเป็นการโบยตี กักขัง หรือประหารชีวิต ก็จะต้องรับการลงโทษไม่ว่าในเขตฮะรอมหรือสถานที่อื่นๆ
ลักษณะการลงโทษโดยการโบยตี
การโบยตีนั้นโดยการใช้ไม้เรียวไม่ใช้เหล็กไม่ถอดเสื้อผ้าออก และผู้ถูกโบยตีจะต้องสวมเสื้อผ้าและจะไม่ให้ถูกร่างกาย และจะต้องระวังใบหน้า ศีรษะ อวัยวะเพศ และอวัยวะส่วนที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต และสำหรับผู้หญิงก็ต้องมีเสื้อผ้าเช่นกัน
บทบัญญัติเมื่อต้องโทษหลายคดี
เมื่อมีโทษหลายคดีรวมกันหากว่าเป็นโทษประเภทเดียวกัน เช่น การผิดประเวณีหลายครั้ง ลักขโมยหลายครั้ง ให้ลงโทษเพียงครั้งเดียว และหากว่าผิดจากหลายคดี เช่น การผิดประเวณีของคนโสด ลักขโมย และดื่มสุรา กรณีนี้ให้แยกการลงโทษโดยเริ่มจากสถานเบาโดยการโบยสาเหตุจากการดื่มสุรา แล้วลงโทษฐานผิดประเวณี และตัดมือฐานลักขโมย
ประเภทต่างๆ ของการลงโทษโดยการโบยตี
รูปแบบโทษที่หนักที่สุด คือ โทษการผิดประเวณี รองลงมาการใส่ร้ายป้ายสี รองลงมาอีกคือการดื่มเหล้า
บทบัญญัติว่าด้วยผู้ที่รับสารภาพต่อผู้ปกครองว่าทำความผิด
บุคคลใดได้รับสารภาพต่อผู้ปกครอง (ผู้นำ) และเขาก็ไม่ได้เปิดเผยความผิด ดังนั้นสมควรที่ผู้นำจะต้องปกปิดมันและอย่าได้ถามถึงเขา
عَنْ أنَسِ بْنِ مَالِكٍ رَضِيَ الله عَنْـهُ قَالَ: كُنْتُ عِنْدَ النَّبِيِّ ﷺ فَجَاءَهُ رَجُلٌ فقَالَ: يَا رَسُولَ الله، إِنِّي أصَبْتُ حَدّاً، فَأقِمْهُ عَلَيَّ، قَالَ: وَلَـمْ يَسْألْـهُ عَنْـهُ، قَالَ: وَحَضَرَتِ الصَّلاةُ، فَصَلَّى مَعَ النَّبِيِّ ﷺ ، فَلَـمَّا قَضَى النَّبِيُّ ﷺ الصَّلاةَ، قَامَ إِلَيْـهِ الرَّجُلُ فقَالَ: يَا رَسُولَ الله، إِنِّي أصَبْتُ حَدّاً، فَأقِمْ فِيَّ كتاب الله، قَالَ: «ألَيْسَ قَدْ صَلَّيْتَ مَعَنَا؟». قَالَ: نَعَمْ، قَالَ: «فَإِنَّ الله قَدْ غَفَرَ لَكَ ذَنْبَكَ، أوْ قَالَ: حَدَّكَ». متفق عليه
ความหมาย จากอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า “ฉันเคยอยู่กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้นมีชายคนหนึ่งมาหาท่านและก็กล่าวว่า “โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺฉันได้กระทำความผิดจงลงโทษฉันด้วยเถิด อนัสกล่าวว่า และท่านนบีไม่ได้ถามเขาถึงความผิดนั้น แล้วได้เวลาละหมาด เขาเข้าร่วมละหมาดพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดเสร็จ เขาเข้ามาหาท่านนบีพร้อมกับกล่าวว่า โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺฉันได้กระทำความผิด ฉะนั้นโปรดลงโทษฉันด้วยกับคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ท่านนบีกล่าวว่า ท่านละหมาดพร้อมกับพวกเราใช่หรือไม่? เขาตอบว่า ใช่ครับ ท่านนบีกล่าวว่า อัลลอฮฺได้ทรงอภัยจากความผิดของท่านแล้ว หรือท่านนบีกล่าวว่า ทรงอภัยจากโทษของท่านแล้ว” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6823 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2764)
ความประเสริฐในการปกปิดความลับของตัวเองและผู้อื่น
สมควรแก่ผู้ที่กระทำความผิดจะต้องปกปิดความลับของตัวเองและให้เตาบะฮฺ (สารภาพต่ออัลลอฮฺ) และสมควรแก่ผู้ที่ทราบเรื่องของเขาให้ปกปิดตราบใดที่เรื่องนั้นยังมิถูกเปิดเผยเพื่อมิให้ความชั่วนั้นเป็นที่แพร่หลายระหว่างผู้คน
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «كُلُّ أُمَّتِي مُعَافَى إلَّا المُـجَاهِرِينَ، وَإنَّ مِنَ المُـجَاهَرَةِ أَنْ يَـعْمَلَ الرَّجُلُ بِاللَّيْلِ عَمَـلاً، ثُمَّ يُصْبِحُ وَقَـدْ سَتَـرَهُ الله فَيَـقُـولُ: يَا فُـلانُ عَمِلْـتُ البَارِحَـةَ كَـذَا وَكَذَا، وَقَدْ بَاتَ يَسْتُرهُ رَبُّـهُ، وَيُصْبِحُ يَكْشِفُ سِتْرَ الله عَنْـهُ». متفق عليه
1. ความหมาย จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ประชาชาติของฉันทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอภัยนอกจากบรรดาผู้ที่กระทำความผิดอย่างเปิดเผย ส่วนหนึ่งจากการกระทำความผิดอย่างเปิดเผยคือการที่ชายผู้หนึ่งทำงานหนึ่งในตอนกลางคืนพอมาตอนเช้าอัลลอฮฺได้ปกปิดความลับให้แก่เขา ดังนั้นเขากล่าวว่า เมื่อคืนที่ผ่านมาฉันได้ทำอย่างนั้นได้ทำอย่างนี้ ในขณะที่ตอนกลางคืนนั้นพระผู้อภิบาลได้ปกปิดความลับให้แก่เขาแต่พอตอนเช้าเขาเปิดเผยความลับที่อัลลอฮฺทรงปกปิดให้” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6069 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2990)
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «مَنْ نَفَّسَ عَنْ مُؤْمِنٍ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ الدُّنْيَا، نَفَّسَ الله عَنْـهُ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ يَومِ القِيَامَةِ، وَمَنْ يَسَّرَ عَلَى مُعْسِرٍ يَسَّرَ الله عَلَيْـهِ فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، وَمَنْ سَتَرَ مُسْلِـماً سَتَرَهُ الله فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، وَالله فِي عَوْنِ العَبْدِ مَا كَانَ العَبْدُ فِي عَوْنِ أَخِيهِ». أخرجه مسلم
2. ความหมาย จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ได้ช่วยให้ผู้ศรัทธารอดพ้นจากความเดือดร้อนในโลกดุนยา อัลลอฮฺจะช่วยให้เขารอดพ้นจากความเดือดร้อนในวันกิยามะฮฺ ผู้ใดให้ความสะดวกกับผู้อื่นอัลลอฮฺจะให้ความสะดวกแก่เขาในโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮฺ ผู้ใดปิดบังความลับของมุสลิมอัลลอฮจะปกปิดความลับของเขาในโลกดุนยาและโลกอาคิเราะฮฺ และอัลลอฮฺจะอยู่ในการช่วยเหลือบ่าวตราบใดที่บ่าวอยู่ในการช่วยเหลือพี่น้องของเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2699)
บทบัญญัติว่าด้วยการขอยกเว้นการรับโทษ
นับเป็นความจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งบทการลงโทษกับผู้ที่เป็นญาติและไม่เป็นญาติ ผู้มีเกียรติยศและผู้ไม่มีเกียรติยศ และเมื่อผู้ปกครอง (ฮากิม) ทราบข่าวการกระทำที่จะต้องลงโทษไม่อนุญาตให้มีผู้ใดขอยกเว้นการรับโทษหรือขอให้มันเป็นโมฆะไปได้ ไม่อนุญาตให้ผู้ปกครองรับการลดหย่อนผ่อนผันและจำเป็นที่เขาจะต้องยืนยันการลงโทษ และไม่อนุญาตให้รับสินบนเพื่อให้การลงโทษหมดไป
และผู้ใดรับสินบนจากผู้ทำผิดประเวณี ผู้ลักขโมย หรือผู้ที่ดื่มสุรา และเรื่องในทำนองเดียวกัน เพื่อที่ให้ยกเลิกบทลงโทษของอัลลอฮฺ แท้จริงแล้วเขาได้รวบรวมความเสียหายที่ยิ่งใหญ่สองประการด้วยกัน
1. ทำให้การลงโทษเป็นโมฆะ (ละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบ)
2. บริโภคของที่ต้องห้าม (กระทำของที่หะรอม)
عن عائشة رضي الله عنها أن قريشاً أهمتهم المرأة المخزومية التي سرقت فقالوا: مَنْ يُكَلِّـمُ رَسُولَ الله ﷺ ، وَمَنْ يَـجْتَرِئُ عَلَيْـهِ إلا أُسَامَةُ حِبُّ رَسُولِ الله ﷺ ، فَكَلَّـمَ رَسُولَ الله ﷺ فَقَالَ: «أَتَشْفَعُ فِي حَدٍّ مِنْ حُدُوْدِ الله؟» ثُمَّ قَامَ فَخَطَبَ فَقَالَ: «يَا أَيُّـهَا النَّاسُ إنَّمَا ضَلَّ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ أَنَّـهُـمْ كَانُوا إذَا سَرَقَ الشَّرِيفُ تَرَكُوهُ، وَإذَا سَرَقَ الضَعِيفُ فِيهِـمْ أَقَامُوا عَلَيْـهِ الحَدَّ، وَايْـمُ الله لَوْ أَنَّ فَاطِمَةَ بِنْتَ مُـحَـمَّدٍ سَرَقَتْ لَقَطَعَ مُـحَـمَّدٌ يَدَهَا». متفق عليه
ความหมาย จากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า แท้จริงเป็นเรื่องใหญ่สำหรับชาวกุเรชเมื่อมีผู้หญิงจากเผ่ามักซูมียะฮฺคนหนึ่งได้ลักขโมย ดังนั้นพวกเขากล่าวว่า ใครจะเป็นผู้ไปเจรจากับรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม? และไม่มีผู้ใดกล้านอกจากอุสามะฮฺผู้ซึ่งเป็นที่รักของท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ครั้นเมื่ออุสามะฮฺได้เจรจาพูดคุยกับท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าวว่า จะมีการอุทรณ์ช่วยเหลือในเรื่องบทลงโทษของอัลลอฮฺหรือ? หลังจากนั้นท่านได้ลุกขึ้นยืนเทศนาว่า “โอ้มวลมนุษยชาติแท้จริงผู้คนที่มาก่อนหน้าพวกท่านได้พังพินาศมาแล้ว แท้จริงเมื่อผู้ที่มีเกียรติทำการลักขโมยพวกเขาจะไม่ลงโทษ และเมื่อผู้คนที่ด้อยเกียรติ ทำการลักขโมยพวกเขาดำเนินการลงโทษ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺหากว่าฟาติมะฮฺลูกสาวของมุหัมมัด ลักขโมย มุหัมมัดจะเป็นผู้ตัดมือของเธอเอง” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6788 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1688)
บทบัญญัติว่าด้วยการละหมาดให้กับผู้ที่ถูกประหารชีวิต
ผู้ที่ตายจากการถูกประหารชีวิต ถูกลงโทษ หรือถูกตักเตือน หากเขาเป็นมุสลิมจะต้องอาบน้ำชำระร่างกาย ละหมาดให้ และฝังในสุสานของมุสลิม หากเขาตกศาสนาไม่ใช่มุสลิมก็ไม่ต้องอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ต้องละหมาด และไม่ต้องฝังในสุสานของมุสลิม แต่ให้มีการห่อและขุดหลุมฝังเหมือนกับผู้ปฏิเสธทั่วไป
ความผิดหรืออาชญากรรมต่างๆ ที่สังคมไม่ปลอดภัยจากความชั่วร้ายของมันนอกจากด้วยการลงโทษตามบทบัญญัติศาสนาแก่ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน สำหรับการปรับเป็นเงิน กักขัง หรือวิธีอื่นๆ นั้นเป็นการลงโทษที่มนุษย์กำหนดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นการอธรรมและยิ่งเพิ่มทวีความอธรรมชั่วร้าย