×

ประเภทของเตาฮีด - (ไทย)

ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทัศนะต่างๆ ของอุละมาอ์อิสลามในการแบ่งประเภทเตาฮีดเป็น รุบูบิยะฮฺ, อุลูฮิยะฮฺ และ อัสมาอ์ วัศ ศิฟาต ซึ่งการแบ่งประเภทดังกล่าวอาศัยการวิเคราะห์หลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ ผ่านการอธิบายของบรรดาอุละมาอ์ที่น่าเชื่อถือ

คำสั่งให้รีบเร่งจัดการศพ - (ไทย)

อธิบายหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้สั่งให้รีบจัดการศพ “พวกท่านจงรีบเร่งจัดการและนำศพไปฝังเถิด เพราะถ้าผู้ตายเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เขาจะได้มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี แต่ถ้ามิได้เป็นเช่นนั้น พวกท่านก็จะได้วางความชั่วร้ายลงจากบ่าของพวกท่านเสียที” เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

คุฏบะฮฺ บทเรียนจากหะดีษญิบรีล - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ อธิบายสรุปหะดีษญิบรีล อะลัยฮิสสลาม ที่จุดประกายความสำคัญของการเรียนรู้พื้นฐานศาสนา ที่มุสลิมจำเป็นต้องย้ำเตือนและพยายามปฏิบัติให้ได้ เพื่อความสำเร็จของตนเอง

อธิบายหะดีษ ใครที่ตั้งใจทำดีแต่ไม่ทันได้ทำ - (ไทย)

อธิบายหะดีษที่ว่าด้วยใครที่ประสงค์จะทำความดีแต่ไม่ทันได้ลงมือทำอัลลอฮฺก็จะทรงตอบแทนด้วยหนึ่งความดี และถ้าเข้าลงมือทำก็จะได้รับผลเป็นสิบเท่า ในขณะที่ถ้าคิดจะทำความชั่วแต่ไม่ได้ทำอัลลอฮฺจะไม่ทรงคิดบาป พร้อมตอบคำถามเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแบบเชื่อมต่ออายะฮฺ แลประเด็นเรื่องการคุยกันในมัสยิด

การบริโภคแต่พอดี - (ไทย)

บทความหะดีษเกี่ยวกับการบริโภคแต่พอดี และวิเคราะห์บทเรียนต่างๆ ที่เป็นประโยชน์จากหะดีษดังกล่าว ซึ่งเป็นบทเรียนที่สื่อให้เห็นถึงความครอบคลุมของศาสนาอิสลาม การให้ความสำคัญของอิสลามต่อระบบศีลธรรมและมารยาทในทุกๆ เรื่อง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

สามสิ่งที่ตามคนตายไปสุสาน - (ไทย)

อธิบายข้อเท็จจริงแห่งความตายที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่พ้น นั่นคือ การที่เขาจะต้องอยู่ในหลุมฝังศพตัวเปล่า ลูกหลาน ครอบครัว และญาติมิตร รวมถึงทรัพย์สมบัติต่างๆ มากมายเท่าไรก็ไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้ นอกจากความดีที่เขาประกอบไว้ตอนมีชีวิตอยู่เท่านั้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

ผู้ที่ตืนเช้าขึ้นมาอย่างปลอดภัยในบ้านของเขา - (ไทย)

บทความที่สะกิดเตือนใจให้มุสลิมรำลึกถึงนิอฺมัตความสุขสบายและความปลอดภัยที่เขาได้รับจากองค์อัลลอฮฺ ซึ่งถือว่าเป็นความพอเพียงที่ทรงคุณค่าที่สุดแล้วในชีวิตของมนุษย์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

เสบียงนักดาอีย์ผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ - (ไทย)

สารว่าด้วยเนื้อหาสาระของการเป็นดาอีย์ หรือผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮฺและอิสลาม เป็นบทสรุปที่กระทัดรัดและครอบคลุมเหมาะแก่การใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับนักทำงานอิสลามทุกคน ประกอบด้วยเนื้อหาหลักประการสำคัญคือ การมีความรู้ การอดทน การมีวิทยปัญญา การมีมารยาทที่ดี การเข้าหาผู้อื่น และการมีนิสัยแบบใจกว้างต่อความเห็นต่าง พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺในหัวข้อต่างๆ อย่างละเอียด

การเป็นบ่าวของอัลลอฮฺคือความสุขที่แท้จริง - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงความสุขที่แท้จริงที่มนุษย์สัมผัสได้จากการมอบตัวเป็นบ่าวต่ออัลลอฮฺ หรือสภาพที่เรียกว่า อุบูดียะฮฺ ต่อเอกองค์อัลลอฮฺเพียงพระองค์ เป็นความสุขที่พึงแสวงหาเพื่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และได้กล่าวถึงวิธีการที่จะได้มาซึ่งสิ่งดังกล่าวด้วย

คุฏบะฮฺ : ว่าด้วยความสุข - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงข้อเท็จจริงของความสุขตามทัศนะอิสลาม ซึ่งมุ่งเน้นที่การให้มนุษย์ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและประกอบความดีงาม การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ ความรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่ตนมี การดูแลหัวใจ และการผูกสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้า

คุฏบะฮฺ : ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริงมนุษย์นั้นอยู่ในความขาดทุน - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ อธิบายและสรุปความบทเรียนจากสูเราะฮฺ อัล-อัศริ เกี่ยวกับสภาพและข้อเท็จจริงความขาดทุนของมนุษย์ พร้อมทั้งนำเสนอทางออกที่จะเป็นมูลเหตุนำให้เขารอดพ้นจากสภาพดังกล่าว เป็นข้อสรุปที่ต้องทบทวนและใคร่ครวญสำหรับผู้หวังความสำเร็จทุกคน