Full Description
คำสั่งให้รีบเร่งจัดการศพ
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ
2014 - 1436
شرح حديث أسرعوا بالجنازة
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2014 - 1436
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
คำสั่งให้รีบเร่งจัดการศพ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« أَسْرِعُوا بِالْجِنَازَةِ، فَإِنْ تَكُ صَالِحَةً فَخَيْرٌ تُقَدِّمُونَهَا، وَإِنْ يَكُ سِوَى ذَلِكَ فَشَرٌّ تَضَعُونَهُ عَنْ رِقَابِكُمْ » [رواه البخاري برقم 1315 ومسلم برقم 944]
“พวกท่านจงรีบเร่งจัดการและนำศพไปฝังเถิด เพราะถ้าผู้ตายเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เขาจะได้มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี แต่ถ้ามิได้เป็นเช่นนั้น พวกท่านก็จะได้วางความชั่วร้ายลงจากบ่าของพวกท่านเสียที” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1315 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 944)
ในหะดีษบทนี้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้รีบเร่งจัดการและฝังศพ ทั้งนี้ เพราะผู้ที่เสียชีวิตนั้น มีทั้งคนดีมีอีหม่าน และคนไม่ดี ซึ่งหากเขาเป็นคนดี การที่เราล่าช้าในการจัดการศพ ก็จะทำให้เขากลับไปหาความโปรดปรานที่อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้ให้แก่เขาในหลุมศพได้ล่าช้า เพราะเขานั้นได้ย้ายถิ่นพำนักจากโลกดุนยา ไปสู่สถานที่ซึ่งประเสริฐและดียิ่งกว่า และก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลง จะมีการแจ้งข่าวดีแก่เขา โดยวิญญาณของเขาจะได้รับแจ้งว่า
« أَبْشِرِي بَرَوْحٍ وَرَيْحَانٍ وَرَبٍّ غَيْرِ غَضْبَانَ »
“พึงทราบเถิดว่าเจ้ากำลังจะได้พักผ่อน และได้รับความสุขความสำราญ ทั้งยังจะได้พบกับพระผู้อภิบาลซึ่งไม่ทรงกริ้วโกรธเจ้า”
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ فَأَمَّآ إِن كَانَ مِنَ ٱلۡمُقَرَّبِينَ ٨٨ فَرَوۡحٞ وَرَيۡحَانٞ وَجَنَّتُ نَعِيمٖ ٨٩ وَأَمَّآ إِن كَانَ مِنۡ أَصۡحَٰبِ ٱلۡيَمِينِ ٩٠ فَسَلَٰمٞ لَّكَ مِنۡ أَصۡحَٰبِ ٱلۡيَمِينِ ٩١ ﴾ [الواقعة: ٨٨- ٩١]
“สำหรับผู้ที่หากว่าเขา (ผู้ตาย) เป็นผู้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ดังนั้น ความอิ่มเอิบสดชื่น และสวรรค์อันเป็นที่โปรดปรานจะได้แก่เขา และหากว่าเขาอยู่ในกลุ่มทางขวา (ผู้ได้รับบันทึกด้วยมือขวา)ดังนั้น ความปลอดภัยก็เป็นของเจ้า ในฐานะเป็นผู้อยู่ในกลุ่มทางขวา (ผู้ได้รับบันทึกด้วยมือขวา)”(อัลวากิอะฮฺ: 88-91)
แต่ในทางกลับกัน หากผู้เสียชีวิตเป็นคนไม่ดี ก็ต้องรีบเร่งเช่นเดียวกัน เพื่อที่มุสลิมจะได้วางความชั่วร้ายลงจากบ่าและความรับผิดชอบของตน ซึ่งผู้ตายที่เป็นคนไม่ดีนี้ ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงก็จะได้รับการแจ้งข่าวร้ายว่า เขาจะต้องเผชิญกับความโกรธกริ้วจากอัลลอฮฺ และจะถูกลงโทษอย่างแสนสาหัส ดังปรากฏในหะดีษที่ว่า
« أَيَّتُهَا النَّفْسُ الْخَبِيثَةُ في الجَسَدِ الخَبِيْثِ اخْرُجِي إِلَى سَخَطٍ مِنَ اللَّهِ وَغَضَبٍ» [رواه الحاكم برقم 8769]
“โอ้จิตใจสกปรกที่อยู่ในร่างกายอันสกปรกเอ๋ย จงออกไปสู่ความโกรธกริ้วของอัลลอฮฺเถิด” (บันทึกโดย อัลหากิม หะดีษเลขที่ 8769)
บทเรียนจากหะดีษบทนี้
หนึ่ง ควรรีบเร่งจัดเตรียมศพอย่างไม่รอช้า ส่วนการที่บางคนเคลื่อนย้ายศพไปยังสถานที่ห่างไกล หรือฝังศพล่าช้าไปหลายวันนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ขัดกับแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และยังเป็นการไม่ให้เกียรติศพ แต่หากล่าช้าเพียงเล็กน้อยให้ผู้คนได้รวมตัวกัน เพื่อที่จะละหมาดให้แก่ผู้ตาย หรือมีเหตุอื่น ๆ อันเป็นที่ยอมรับได้ ก็ถือว่าไม่เป็นไร
สอง ผู้ตายที่เป็นคนที่ดีนั้น เขาจะได้ย้ายถิ่นพำนักไปยังสถานที่อันประเสริฐและดียิ่งกว่าถิ่นพำนักของเขาในโลกดุนยา และไปอยู่กับครอบครัวที่ดียิ่งกว่า อบูเกาะตาดะฮฺ บิน ร็อบอีย์ อัลอันศอรีย์ เล่าว่า มีศพหนึ่งถูกหามผ่านท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจึงกล่าวว่า
« مُسْتَرِيحٌ وَمُسْتَرَاحٌ مِنْهُ! » قَالُوا : يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الْمُسْتَرِيحُ وَالْمُسْتَرَاحُ مِنْهُ؟
قَالَ : « الْعَبْدُ الْمُؤْمِنُ يَسْتَرِيحُ مِنْ نَصَبِ الدُّنْيَا وَأَذَاهَا إِلَى رَحْمَةِ اللَّهِ، وَالْعَبْدُ الْفَاجِرُ يَسْتَرِيحُ مِنْهُ الْعِبَادُ وَالْبِلَادُ وَالشَّجَرُ وَالدَّوَابُّ » [رواه البخاري برقم 6512 ومسلم برقم 950]
“คนที่ได้พักผ่อน และคนที่ผู้อื่นได้พักจากเขา” บรรดาเศาะหาบะฮฺถามว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ คนที่ได้พักผ่อนและคนที่ผู้อื่นได้พักจากเขานั้นหมายถึงอะไรหรือ?” ท่านตอบว่า “บ่าวผู้ศรัทธาเมื่อตายไปก็จะได้พักผ่อนจากความเหน็ดเหนื่อยและความทุกข์ยากในโลกดุนยา แล้วกลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺ ส่วนบ่าวผู้ชั่วช้าสามานย์เมื่อตายไป ผู้คนทั้งหลาย ประเทศชาติบ้านเมือง ต้นหมากรากไม้ หรือแม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน ต่างก็จะได้ผ่อนคลายสบายตัว” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6512 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 950)
อบูสะอีด อัลคุดรีย์ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا وُضِعَتِ الْجِنَازَةُ وَاحْتَمَلَهَا الرِّجَالُ عَلَى أَعْنَاقِهِمْ، فَإِنْ كَانَتْ صَالِحَةً قَالَتْ: قَدِّمُونِي، وَإِنْ كَانَتْ غَيْرَ صَالِحَةٍ قَالَتْ لأَهْلِهَا: يَا وَيْلَهَا أَيْنَ يَذْهَبُونَ بِهَا؟! يَسْمَعُ صَوْتَهَا كُلُّ شَيْءٍ إِلاَّ الإِنْسَانَ، وَلَوْ سَمِعَ الإِنْسَانَ لَصَعِقَ » [رواه البخاري برقم 1316]
“เมื่อศพถูกวางลง และบรรดาชายฉกรรจ์ได้หามศพนั้นบนไหล่ของพวกเขา หากศพนั้นเป็นศพของคนดีก็จะพูดว่า พวกท่านรีบนำฉันไปเถิด แต่หากเป็นศพของคนไม่ดี ก็จะกล่าวแก่ครอบครัวของเขาว่า ความพินาศได้เกิดขึ้นแล้ว พวกท่านจะนำศพนั่นไปไหนกัน? ทั้งนี้ สรรพสิ่งทั้งหลายจะได้ยินเสียงดังกล่าว ยกเว้นมนุษย์ ซึ่งหากมนุษย์ได้ยิน ก็คงจะหวาดกลัวจนสลบหมดสติไปอย่างแน่นอน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1316)
สาม ผู้ตายที่เป็นคนไม่ดีนั้น จะถูกย้ายที่พำนักจากโลกดุนยาอันเต็มไปด้วยความสุขสำราญและความหลงระเริง ไปสู่การลงโทษอันสุดแสนสาหัส โดยหลุมศพของเขาจะบีบรัดร่างเขาจนกระดูกแทบแตกกระจุย จากนั้นประตูนรกก็จะเปิดรับเขา ดังปรากฏในหะดีษเศาะฮีหฺมากมาย ด้วยเหตุนี้เขาจึงกล่าวว่า “ความพินาศได้เกิดขึ้นแล้ว พวกท่านจะนำศพนั่นไปไหนกัน?”
สี่ การที่มนุษย์เราไม่ได้ยินเสียงการลงโทษในหลุมศพนั้น ถือเป็นความเมตตาของอัลลอฮฺต่อบ่าวของพระองค์อย่างยิ่ง เพราะหากได้ยินเสียงดังกล่าว เราคงไม่สามารถจะมีชีวิตอย่างปกติสุขได้ อบูสะอีด อัลคุดรียฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ هَذِهِ الْأُمَّةَ تُبْتَلَى فِي قُبُورِهَا، فَلَوْلَا أَنْ لَا تَدَافَنُوا لَدَعَوْتُ اللَّهَ أَنْ يُسْمِعَكُمْ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ الَّذِي أَسْمَعُ مِنْهُ » [رواه مسلم برقم 2867]
“ประชาชาติของฉันจะถูกทดสอบในหลุมศพของพวกเขา ถ้าไม่ใช่เพราะเกรงว่าพวกท่านจะไม่กล้าฝังศพอีกต่อไป ฉันจะขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺทรงให้พวกท่านได้ยินเสียงการลงโทษในหลุมศพ ดังเช่นที่ฉันได้ยิน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2867)