บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
Full Description
การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์
[ ไทย ]
الإيمان بالكتب
[ باللغة التايلاندية ]
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري
แปลโดย: อิบรอเฮง อาลหูเซ็น
ترجمة: إبراهيم حسين
ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี
مراجعة: فيصل عبدالهادي
จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض
1429 – 2008
การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์
การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ คือ การเชื่ออย่างแน่วแน่และสัตย์จริงว่าอัลลอฮฺได้ทรงประทานบรรดาคัมภีร์ลงมาแก่บรรดานบีและรอซูลของพระองค์เพื่อเป็นทางนำแก่ปวงบ่าวทั้งหลาย และเชื่อว่าคัมภีร์เหล่านี้เป็นดำรัสของพระองค์จริง และเนื้อหาในคัมภีร์เหล่านี้เป็นความจริง ในบรรดาคัมภีร์บางเล่มอัลลอฮฺได้กล่าวชื่อในอัลกุรอาน และในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้ก็มีที่ไม่รู้จักชื่อและไม่รู้จำนวนนอกจากพระองค์อัลลอฮฺผู้เดียวเท่านั้น
บรรดาคัมภีร์ที่มีกล่าวในอัลกุรอาน
อัลลอฮฺได้ทรงชี้แจงในอัลกุรอานว่าพระองค์ทรงได้ประทานบรรดาคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. ศุหุฟ อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม
2. อัต-เตารอฮฺ คัมภีร์ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่นบีมูซา อะลัยฮิสสลาม
3. อัซ-ซาบูร คัมภีร์ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่นบีดาวูด อะลัยฮิสสลาม
4. อัล-อินญีล คัมภีร์ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่นบีอีซา อะลัยฮิสสลาม
5. อัลกุรอาน คัมภีร์ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ประทานลงมาแก่นบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
การศรัทธาและปฏิบัติตามคัมภีร์ต่างๆ ก่อนหน้าอัลกุรอาน
เราศรัทธาว่าอัลลอฮฺเป็นผู้ประทานคัมภีร์เหล่านี้ และเราเชื่ออย่างสัตย์จริงในความถูกต้องของรายละเอียดและเนื้อหาที่มีอยู่ในคัมภีร์เหล่านี้เหมือนกับความถูกต้องของรายละเอียดและเนื้อหาที่มีอยู่ในอัลกุรอาน และเราเชื่อในเนื้อหาที่มีอยู่ในคัมภีร์เหล่านี้ เฉพาะที่ไม่ได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง และเราพร้อมนำบทบัญญัติต่างๆ ที่ยังไม่ได้ยกเลิกไปปฏิบัติด้วยความน้อมรับและเต็มใจ และบรรดาคัมภีร์ที่มาจากฟากฟ้าที่เราไม่รู้ชื่อเราจะศรัทธาโดยภาพรวม
บรรดาคัมภีร์ต่างๆก่อนหน้านี้ เช่น อัต-เตารอฮฺ อัล-อินญีล อัซ-ซาบูร และคัมภีร์อื่นๆ ถูกยกเลิกไปแล้วด้วยคัมภีร์อัลกุรอาน มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺผู้ที่ได้ตรัสว่า
«وَأَنْزَلْنَا إِلَيْكَ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ مُصَدِّقًا لِمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ الْكِتَابِ وَمُهَيْمِنًا عَلَيْهِ فَاحْكُمْ بَيْنَهُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ وَلا تَتَّبِعْ أَهْوَاءَهُمْ عَمَّا جَاءَكَ مِنَ الْحَقِّ» (المائدة : ٤٨)
ความว่า “และเราได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่เจ้าด้วยความจริงในฐานะเป็นที่ยืนยันคัมภีร์ที่อยู่ก่อนหน้ามันและเป็นที่ควบคุมคัมภีร์(ก่อนหน้า)นั้น ดังนั้น เจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขาด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ต่ำของพวกเขาโดยเขาออกจากความจริงที่ได้มายังเจ้า” (อัล-มาอิดะฮฺ : 48)
คัมภีร์ที่อยู่ในความครอบครองของอะฮฺลุลกิตาบ (ชาวคัมภีร์ ซึ่งหมายถึงชาวยิวและชาวคริสต์) ที่ชื่อว่าอัต-เตารอฮฺ(โทราห์)และอัล-อินญีล(ไบเบิล)ในปัจจุบันเป็นการไม่ถูกต้องที่จะอ้างว่าเป็นคัมภีร์ที่ถูกประทานแก่บรรดานบีและรอซูลของอัลลอฮฺ เพราะคัมภีร์ดังกล่าวนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขมาแล้ว ตัวอย่างเช่น การยกสถานะของนบีว่าเป็นลูกของพระเจ้าหรือการยกฐานะของนบีอีซาบุตรของมัรยัมว่าเป็นพระเจ้า การให้คุณสมบัติของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างที่ไม่เหมาะสมตามสถานะความเป็นจริงของพระเจ้า การให้ร้ายแก่บรรดานบีของอัลลอฮฺ เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ควรแก่การโต้แย้งและไม่ควรเชื่อและศรัทธา เว้นเสียแต่สิ่งที่มีอยู่ในอัลกุรอานและหะดีษเท่านั้น
ถ้าหากอะฮฺลุลกิตาบ (บรรดาชาวคัมภีร์) ได้รายงานแก่พวกเรา พวกเราจะไม่เชื่อพวกเขาและจะไม่กล่าวโกหก แต่เรากล่าวว่า “เราศรัทธามั่นในอัลลอฮฺ ศรัทธาต่อคัมภีร์ต่างๆ และบรรดารอซูลของพระองค์” ถ้าคำพูดที่พวกเขาได้กล่าวมาเป็นสัตย์จริงเราก็จะได้ไม่กล่าวหาว่าพวกเขาโกหก และถ้าคำพูดที่พวกเขาได้กล่าวมานั้นเป็นคำโกหก คำพูดของเราดังกล่าวก็จะได้ไม่เป็นการยืนยันว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
การศรัทธาและปฏิบัติตามอัลกุรอาน
อัลกุรอานเป็นพระมหาคัมภีร์ที่อัลลอฮฺทรงประทานแก่นบีคนสุดท้ายและนบีที่ประเสริฐที่สุด นั่นคือท่านนบี มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นคัมภีร์ที่มาจากฟากฟ้าเล่มสุดท้าย เป็นคัมภีร์ที่ประเสริฐและยิ่งใหญ่ที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาเพื่อชี้แจงรายละเอียดทุกอย่าง และเป็นคัมภีร์ที่เป็นทางนำและเป็นความโปรดปรานแก่สรรพสิ่งในจักรวาลทั้งมวล
อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่ดีที่สุด ที่นำลงมาโดยมลาอิกะฮฺที่ประเสริฐที่สุด นั่นคือ มลาอิกะฮฺญีบรีล ได้ถูกประทานลงมายังนบีมุหัมมัดผู้ที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย และได้ลงมายังประชาชาติที่ดีที่สุด ด้วยภาษาที่ดีที่สุดนั่นคือภาษาอาหรับ ทุกคนวาญิบที่จะต้องศรัทธาในอัลกุรอานและปฏิบัติตามบัญญัติต่างๆ ที่มีอยู่ในอัลกุรอานและประพฤติตนตามคำสอนของอัลกุรอาน อัลลอฮฺจะไม่ทรงรับการกระทำใดๆ ที่ไม่ได้เป็นคำสอนที่มาจากอัลกุรอาน หลังจากที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาอัลลอฮฺจะปกปักษ์รักษาอัลกุรอานด้วยพระองค์เอง อัลกุรอานจะปลอดจากการเปลี่ยนแปลงและการแก้ไขใดๆ และปลอดจากการเพิ่มเติมและความบกพร่องทุกประการ
1. อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอานว่า
«إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ» (الحجر : 9)
ความว่า “แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)ลงมาและแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน” (อัล-หิจญ์รุ : 9)
2. และอัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอานอีกว่า
«وَإِنَّهُ لَتَنْزِيلُ رَبِّ الْعَالَمِينَ، نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الأمِينُ، عَلَى قَلْبِكَ لِتَكُونَ مِنَ الْمُنْذِرِينَ، بِلِسَانٍ عَرَبِيٍّ مُبِينٍ» (الشعراء : 192-195)
ความว่า และแท้จริงมัน เป็นการประทานลงมาของพระเจ้าแห่งสากลโลก อัร-รูหฺ(มลาอิกะฮฺ)ผู้ซื่อสัตย์ได้นำมามันลงมายังหัวใจของเจ้า เพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง เป็นภาษาอาหรับอันชัดแจ้งยิ่ง (อัช-ชุอะรออ์ : 192-195)
นัยยะความหมายของโองการต่างๆ ในอัลกุรอาน
โองการต่างๆ ของอัลกุรอานได้อธิบายเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งแบ่งเป็นการอธิบายด้วยวิธีการบอกเล่า(อัล-เคาะบัรالخبر ) หรืออธิบายด้วยการขอและการเรียกร้อง (อัฏ-เฏาะลับ الطلب)
การอธิบายด้วยการกล่าวหรือการบอกเล่า (อัล-เคาะบัร)แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การกล่าวหรือบอกเล่าถึงผู้สร้าง ชื่อ คุณลักษณะ การงาน คำพูด นั่นคือ การกล่าวหรือการบอกถึงอัลลอฮฺพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
2. การกล่าวหรือการบอกถึงสิ่งถูกสร้าง อาทิเช่น การกล่าวถึงฟากฟ้าและแผ่นดิน บัลลังก์ มนุษย์และสิงสาราสัตย์ สิ่งไร้ชีวิตและบรรดาพืชไม้ต่างๆ สวนสวรรค์และไฟนรก การบอกเล่าถึงบรรดานบีและรอซูลของอัลลอฮฺ บรรดาสาวกของนบีและรอซูล และการกล่าวศัตรูของพวกเขาและผลตอบแทนของสองฝ่ายดังกล่าว เป็นต้น
การอธิบายด้วยการขอ(อัฏ-เฏาะลับ) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การขอด้วยการออกคำสั่งให้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียว การภักดีต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และการปฏิบัติในกิจการงานต่างๆ เช่น การละหมาด การถือศีลอด และอื่นๆ ที่เป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ
2. การขอด้วยการสั่งห้ามการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ และห้ามในสิ่งที่อัลลอฮฺได้กำหนดให้เป็นสิ่งที่หะรอมต่างๆดังเช่น ดอกเบี้ย สิ่งชั่วร้าย และเลวทรามต่างๆ และอื่นๆ ที่พระองค์ทรงห้ามไว้
มวลการขอบคุณและการสรรเสริญทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺ ความประเสริฐและบุญคุณล้วนเป็นของพระองค์ที่ได้ส่งรอซูลผู้ที่มีความประเสริฐที่สุด และได้ประทานพระมหาคัมภีร์ที่ดีที่สุด และได้เลือกพวกเราเป็นประชาชาติที่ดีที่สุดที่ถูกคัดสรรออกมาเพื่อมนุษย์ทั้งปวง
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
«اللَّهُ نَزَّلَ أَحْسَنَ الْحَدِيثِ كِتَابًا مُتَشَابِهًا مَثَانِيَ تَقْشَعِرُّ مِنْهُ جُلُودُ الَّذِينَ يَخْشَوْنَ رَبَّهُمْ ثُمَّ تَلِينُ جُلُودُهُمْ وَقُلُوبُهُمْ إِلَى ذِكْرِ اللَّهِ ذَلِكَ هُدَى اللَّهِ يَهْدِي بِهِ مَنْ يَشَاءُ وَمَنْ يُضْلِلِ اللَّهُ فَمَا لَهُ مِنْ هَادٍ» (الزمر : ٢٣)
ความว่า “อัลลอฮฺทรงประทานคำกล่าวที่ดียิ่งลงมาเป็นคัมภีร์ที่(มีโองการ)คล้ายกันและทวนซ้ำ ด้วยจาก(คัมภีร์อัลกุรอาน)นั้นเอง ผิวกายของผู้ที่เกรงกลัวต่ออัลลอฮฺจะหดเหี่ยว(หมายถึงมีความยำเกรงด้วยความซึมซับต่อโองการของอัลกุรอาน) แล้วผิวกายและหัวใจของพวกเขาก็จะโอนอ่อนต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ นั่นคือการชี้นำของอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงชี้นำแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขาหลงทาง ดังนั้นสำหรับเขาจะไม่มีผู้ชี้นำใดๆ อีก” (อัซ-ซุมัร : 23)
2. และอัลลอฮฺได้ตรัสอีกว่า
«لَقَدْ مَنَّ اللَّهُ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ إِذْ بَعَثَ فِيهِمْ رَسُولا مِنْ أَنْفُسِهِمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ وَيُزَكِّيهِمْ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَإِنْ كَانُوا مِنْ قَبْلُ لَفِي ضَلالٍ مُبِينٍ» (آل عمران :١٦٤)
ความว่า "แน่นอนยิ่ง อัลลอฮฺนั้นทรงมีพระคุณแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย โดยที่พระองค์ได้ทรงส่งรอซูลคนหนึ่งจากพวกเขาเองลงมาในหมู่พวกเขา เพื่อให้อ่านบรรดาโองการของพระองค์แก่พวกเขาฟัง และอบรมสั่งสอนให้พวกเขาบริสุทธิ์ และให้สอนคัมภีร์และความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในบัญญัติศาสนาแก่พวกเขาด้วย และแท้จริงก่อนนั้นพวกเขาเคยอยู่ในความหลงผิดอันชัดแจ้ง" (อาล อิมรอน : 164)