×

หลักความเชื่อมุสลิมตามแนวการอธิบายของอะฮฺลุส สุนนะฮฺ วัล ญะมาอะฮฺ - (ไทย)

หนังสือที่อธิบายถึงหลักความเชื่อของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ ที่ครอบคลุมหลักศรัทธาทั้งหกประการ คือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ต่อมะลาอิกะฮฺ ต่อคัมภีร์ ต่อศาสนทูต ต่อวันกิยามะฮฺ และต่อกฎสภาวการณ์ของอัลลอฮฺ เพียบพร้อมด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดีษ โดยอาศัยการเรียบเรียงอย่างกระชับรัดกุมและง่ายต่อการทำความเข้าใจ

อธิบายพื้นฐานหลักการศรัทธา - (ไทย)

หนังสืออธิบายพื้นฐานหลักการศรัทธา โดยเชค มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน เป็นอีกเล่มหนึ่งที่อธิบายหลักต่างๆ ที่สำคัญของรุ่ก่นอีมาน หรือพื้นฐานการศรัทธาทั้งหกประการไว้อย่างรวบรัด กระชับ เข้าใจง่าย ฉบับแปลภาษาไทยพิมพ์เผยแพร่โดยฝ่ายศาสนาสถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทย

สิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่อิสลามยืนยันรับรอง - (ไทย)

สิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่อิสลามยืนยันรับรอง ผู้เขียนได้กล่าวในบทนำว่า “ส่วนหนึ่งจากความงดงามของอิสลามคือการธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและให้สิทธิแก่ผู้ที่สมควรได้รับสิทธิอย่างเหมาะสมโดยปราศจาความเลยเถิดและหย่อนหยาน อัลลอฮฺได้บัญชาให้ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ทำดีและรักษาสิทธิต่างๆ ของบรรดาญาติมิตร ด้วยเหตุเพื่อธำรงความยุติธรรมนี่เอง ศาสนาทูตทั้งหลายจึงถูกแต่งตั้งขึ้น คัมภีร์ต่างๆ ถูกประทานลงมา และภารกิจทั้งโลกนี้และอาคิเราะฮฺได้ถูกปฏิบัติ ความยุติธรรมหมายถึงการมอบสิทธิแก่ผู้ที่สมควรได้รับสิทธิ ตลอดจนถึงการมอบสถานะอันสมควรแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้จะไม่เกิดความสมบูรณ์ยกเว้นเมื่อได้รู้จักสิทธิต่างๆ ที่บุคคลเหล่านั้นพึงได้รับ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้เรียงร้อยถ้อยคำเหล่านี้เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของสิทธิต่างๆ เพื่อที่บ่าวคนหนึ่งจะต้องปฏิบัติตามภาระหน้าที่เท่าที่เขามีความสามารถที่จะกระทำได้ โดยสามารถสรุปสิทธิต่างๆ ได้ดังนี้ 1. สิทธิของอัลลอฮฺ ซุบหานะฮุ วะตะอาลา 2. สิทธิของนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม 3. สิทธิของบิดามารดา 4. สิทธิของบุตร 5. สิทธิของญาติพี่น้อง 6. สิทธิของคู่สมรส 7. สิทธิของผู้นำและผู้อยู่ภายใต้การปกครอง 8. สิทธิของเพื่อนบ้าน 9. สิทธิของชาวมุสลิมทั่วไป 10. สิทธิของพี่น้องต่างศาสนิก สิทธิต่างๆ เหล่านี้คือประเด็นที่เราต้องการอธิบายโดยสังเขปในหนังสือเล่มนี้”

สิทธิของเศาะหาบะฮฺและอุมมะฮาตุลมุอ์มินีน - (ไทย)

กล่าวถึงสิทธิต่างๆ ของบรรดาเศาะหาบะฮฺ และหุก่มของผู้ที่ด่าทอสาปแช่งเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม และกล่าวถึงสิทธิของบรรดาภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม รายชื่อของภรรยาของท่านนบีมีใครบ้าง และหุก่มของผู้ที่กล่าวหาใส่ร้ายภรรยาของท่านนบี เป็นบทความจากหนังสือ มุคตะศ็อรฺ ลุมอะตุล อิอฺติกอด ของเชค มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ

ความสัมพันธ์ระหว่างชะฮาดะฮฺกับประเภทต่างๆ ของเตาฮีด - (ไทย)

ความสัมพันธ์ระหว่างชะฮาดะฮฺกับประเภทต่างๆของเตาฮีด บทความจากคำฟัตวาของชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน ซึ่งได้คัดลอกจากหนังสือ “ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต” ของท่าน

ประเภทของเตาฮีด - (ไทย)

ประเภทของเตาฮีด บทความจากคำฟัตวาของชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน ซึ่งได้คัดลอกจากหนังสือ “ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต” ของท่าน

ความหมายของเตาฮีด - (ไทย)

ฟัตวาว่าด้วยความหมายของเตาฮีด ตอบโดยชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน เป็นส่วนหนึ่งของฟัตวาจากหนังสือ “ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต” โดยชัยคฺมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน

สิ่งแรกที่มนุษย์ถูกสั่งใช้ - (ไทย)

อะไรคือสิ่งแรกที่มนุษย์ถูกสั่งใช้ให้ทำ? ฟัตวาตอบโดยชัยคฺ มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน จากหนังสือ ‎‎“ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต”

เสบียงนักดาอีย์ผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ - (ไทย)

สารว่าด้วยเนื้อหาสาระของการเป็นดาอีย์ หรือผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮฺและอิสลาม เป็นบทสรุปที่กระทัดรัดและครอบคลุมเหมาะแก่การใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับนักทำงานอิสลามทุกคน ประกอบด้วยเนื้อหาหลักประการสำคัญคือ การมีความรู้ การอดทน การมีวิทยปัญญา การมีมารยาทที่ดี การเข้าหาผู้อื่น และการมีนิสัยแบบใจกว้างต่อความเห็นต่าง พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺในหัวข้อต่างๆ อย่างละเอียด

ดุลยภาพและความพอดีในการดะอฺวะฮฺ - (ไทย)

บทความนี้เป็นการถอดเทปบรรยายของเชค มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ เกี่ยวกับความสมดุลในการดะอฺวะฮฺ โดยพูดถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับตัวอย่างความสุดโต่ง ความหย่อนยาน และความสมดุลระหว่างสองสภาพดังกล่าวในกระบวนการเชิญชวนผู้อื่นสู่ความดีงามและหักห้ามจากความชั่ว เป็นอีกหนึ่งบทเรียนอันทรงคุณค่าสำหรับนักทำงานอิสลามทุกคน