บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
Full Description
- แนะนำบทบัญญัติต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงโดยเฉพาะ
- คำนำ
- ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปรานี
ผู้ทรงเมตตาเสมอ
- บทที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป
- บทที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการตกแต่งเรือนร่างของสตรี
- บทที่ 3 บทบัญญัติเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน เลือดเสีย และเลือดหลังคลอด
- บทที่ 4 บทบัญญัติเกี่ยวกับเสื้อผ้าและหิญาบ
- บทที่ 5 บทบัญญัติเกี่ยวกับการละหมาดของสตรี
- บทที่ 6 บทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการศพของสตรี
- บทที่ 7 บทบัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอดของสตรี
- บทที่ 8 บทบัญญัติเกี่ยวกับการประกอบพิธีหัจญ์และ อุมเราะฮฺของสตรี
- บทที่ 9 บทบัญญัติเกี่ยวกับการเป็นสามีภรรยา และการสิ้นสุดระหว่างกัน
- บทที่ 10 บทบัญญัติต่างๆ ที่จะปกป้องรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความบริสุทธิ์ของสตรี
- บทที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป
- บทที่ 2 บัญญัติว่าด้วยการดูแลเรือนร่างของสตรี
- หนึ่ง ดูแลตัวเองตามฟิฏเราะฮฺ
- สอง ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับเส้นผมและขน
- ข. ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมกำจัดขนคิ้ว
- ค. ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมผ่าแยกฟันโดยการถูด้วยตะไบเพื่อการเสริมสวย
- ง. ไม่อนุญาตให้สตรีสักบนร่างกาย หรือให้ผู้อื่นสักให้
- จ. บทบัญญัติหรือข้อชี้ขาดเกี่ยวกับการย้อมสีด้วยใบเทียน การย้อมผม และการใช้เครื่องประดับที่เป็นทองคำ
- บทที่ 3 บัญญัติว่าด้วยเลือดประจำเดือน เลือดเสีย และเลือดหลังคลอด
- บทที่ 4 บัญญัติว่าด้วยอาภรณ์และหิญาบ
- บทที่ 5 บัญญัติว่าด้วยการละหมาดของผู้หญิง
- บทที่ 6 บัญญัติว่าด้วยการจัดการศพของผู้หญิง
- บทที่ 7 บัญญัติว่าด้วยการถือศีลอดของผู้หญิง
- บทที่ 8 บัญญัติว่าด้วยการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺของผู้หญิง
- 1. มะห์ร็อม
- 2. ได้รับอนุญาตจากสามี
- 3. การทำหัจญ์และอุมเราะฮฺแทนผู้ชาย
- 4. เลือดประจำเดือนและเลือดหลังการคลอด
- 5. สิ่งที่สตรีจะต้องปฏิบัติขณะเข้าพิธีหัจญ์
- 6. ชุดที่สวมใส่ในพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ
- 7. อาภรณ์ที่อนุโลมให้สวมใส่
- 8. การกล่าวตัลบียะฮฺ
- 9. หลักปฏิบัติในการเฏาะวาฟเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ
- 10. เดินเฏาะวาฟและสะแอโดยไม่ต้องวิ่ง
- 11. พิธีกรรมหัจญ์ที่ผู้มีประจำเดือนปฏิบัติได้และห้ามปฏิบัติ
- 12. อนุโลมให้สตรีออกจากมุซดะลิฟะฮฺก่อน
- 13. การตัดผมของสตรี
- 14. การเปลื้องอิห์รอมของสตรีที่มีประจำเดือน
- 15. มีประจำเดือนหลังจากเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ
- 16. การเยือนมัสญิดนะบะวีย์
- บทที่ 9 บัญญัติว่าด้วยการเป็นสามีภรรยา และการสิ้นสภาพ
- บทที่ 10 ว่าด้วยการรักษาเกียรติและความบริสุทธิ์ของสตรี
- บทส่งท้าย
แนะนำบทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงโดยเฉพาะ
تنبيهات على أحكام تختص بالمؤمنات
หนังสือที่ประมวลบทบัญญัติต่างๆ ในอิสลามที่เกี่ยวข้องกับสตรีเป็นการเฉพาะ รวบรวมประเด็นต่างๆ โดยสังเขป ประกอบด้วยบทบัญญัติทั่วไป บัญญัติเกี่ยวกับการตกแต่งเรือนร่างของสตรี บัญญัติเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน เลือดเสีย และเลือดหลังคลอด เสื้อผ้าและหิญาบ การละหมาด การจัดการศพ การถือศีลอด การประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ การเป็นสามีภรรยาและการสิ้นสุดระหว่างกัน บัญญัติต่างๆ ที่จะปกป้องรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความบริสุทธิ์ของสตรี
คำนำ
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างสรรพ สิ่ง แล้วชี้นำทาง และทรงสร้างคู่ครองที่มาจากผู้ชายและผู้หญิง มาจากน้ำอสุจิเมื่อมันถูกหลั่งออกมา ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าที่ถูกเคารพภักดีอย่างแท้จริง นอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีอันใดสำหรับพระองค์ สำหรับพระองค์เท่านั้นที่ฉันมอบการสรรเสริญทั้งโลกนี้และโลกหน้า และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ ผู้ซึ่งถูกนำพาขึ้นไปสู่ฟากฟ้า แล้วได้เห็นสัญญาณต่างๆ อันยิ่งใหญ่ของพระผู้อภิบาลของเขา ความจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่าน วงศาคณาญาติ และเหล่าสาวกของท่านทุกคน
อนึ่ง เมื่อสถานภาพของสตรีมุสลิมในอิสลามนั้นมีความสูงส่ง และเธอก็มีภารกิจสำคัญหลายประการ และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้มีคำชี้แนะต่างๆ แก่บรรดาสตรีเป็นการเฉพาะ ท่านได้สั่งเสียให้ดูแลพวกเธอในคุฎบะฮฺของท่าน ณ ทุ่งอะเราะฟาต ซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องเอาใจใส่ต่อพวกเธอในทุกสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ซึ่งสตรีผู้ศรัทธาตกเป็นเป้าหมายเฉพาะในการรุกราน เพื่อต้องการทำลายเกียรติและศักดิ์ศรีของเธอ และดึงสถานภาพอันสูงส่งของเธอให้ต่ำลง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ให้เธอตระหนักต่ออันตราย และต้องนำเสนอแนวทางรอดพ้นให้แก่เธอ
ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจนี้ ซึ่งได้ประมวลบทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับสตรีเป็นการเฉพาะ ถึงแม้ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย แต่มันก็เป็นการทุ่มเทอย่างที่สุดเท่าที่ได้แล้ว และข้าพเจ้าหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงทำให้มันเกิดประโยชน์ตามปริมาณของมัน และเป็นก้าวแรกของภารกิจดังกล่าว โดยหวังว่าในอนาคตจะมีก้าวอื่นๆ ที่จะมาเติมเต็มให้มีความครอบคลุมและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
และสิ่งที่ข้าพเจ้าจะนำเสนอในช่วงเวลาอันรีบเร่งนี้ประกอบด้วย
บทที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป
บทที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการตกแต่งเรือนร่างของสตรี
บทที่ 3 บทบัญญัติเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน เลือดเสีย และเลือดหลังคลอด
บทที่ 4 บทบัญญัติเกี่ยวกับเสื้อผ้าและหิญาบ
บทที่ 5 บทบัญญัติเกี่ยวกับการละหมาดของสตรี
บทที่ 6 บทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการศพของสตรี
บทที่ 7 บทบัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอดของสตรี
บทที่ 8 บทบัญญัติเกี่ยวกับการประกอบพิธีหัจญ์และ อุมเราะฮฺของสตรี
บทที่ 9 บทบัญญัติเกี่ยวกับการเป็นสามีภรรยา และการสิ้นสุดระหว่างกัน
บทที่ 10 บทบัญญัติต่างๆ ที่จะปกป้องรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความบริสุทธิ์ของสตรี
ผู้เขียน
บทที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป
หนึ่ง สถานภาพของสตรีในยุคก่อนอิสลาม
“ยุคก่อนอิสลาม" หมายถึง ยุคสมัยอนารยชน (ญาฮิลียะฮฺ) ซึ่งเป็นยุคการดำเนินชีวิตของชาวอาหรับเป็นการเฉพาะ และการใช้ชีวิตโดยทั่วไปของชนอื่นๆ โดยที่ผู้คนทั้งหลายอยู่ในยุคสมัยที่ขาดช่วงจากบรรดาศาสนทูต และอยู่ในยุคอวิชชา อัลลอฮฺได้มองมายังพวกเขา –ดังที่มีปรากฏในหะดีษ- แล้วทรงกริ้วโกรธพวกเขา ทั้งที่เป็นชาวอาหรับและไม่ใช่ชาวอาหรับ นอกจากชาวคัมภีร์ที่ยังหลงเหลืออยู่ และในเวลานั้นสตรีส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะลำบาก แร้นแค้น -โดยเฉพาะในสังคมชาวอาหรับ- พวกเขารังเกียจที่จะได้บุตรสาว และบางคนจะฝังบุตรสาวทั้งเป็น หรือบางคนจะทอดทิ้งให้เธอใช้ชีวิตอย่างต่ำต้อย ไร้เกียรติ ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَإِذَا بُشِّرَ أَحَدُهُم بِٱلۡأُنثَىٰ ظَلَّ وَجۡهُهُۥ مُسۡوَدّٗا وَهُوَ كَظِيمٞ ٥٨ يَتَوَٰرَىٰ مِنَ ٱلۡقَوۡمِ مِن سُوٓءِ مَا بُشِّرَ بِهِۦٓۚ أَيُمۡسِكُهُۥ عَلَىٰ هُونٍ أَمۡ يَدُسُّهُۥ فِي ٱلتُّرَابِۗ أَلَا سَآءَ مَا يَحۡكُمُونَ ٥٩ ﴾ [النحل: ٥٨- ٥٩]
ความว่า “และเมื่อคนหนึ่งในหมู่พวกเขาได้รับแจ้งข่าวว่าได้ลูกผู้หญิง ใบหน้าของพวกเขากลายเป็นหมองคล้ำและเศร้าสลด เขาจะหลบหน้าจากกลุ่มชน อันเนื่องจากความอับอายที่เขาได้รับการแจ้งข่าวร้าย และครุ่นคิดว่าเขาจะเก็บลูกสาวไว้ด้วยความอัปยศหรือจะฝังเธอไว้ใต้ดิน พึงรู้เถิดว่าสิ่งที่พวกเขาตัดสินนั้นมันชั่วร้ายยิ่ง" (อัน-นะห์ลฺ : 58-59)
และพระองค์ตรัสอีกว่า
﴿ وَإِذَا ٱلۡمَوۡءُۥدَةُ سُئِلَتۡ ٨ ﴾ [التكوير: ٨]
ความว่า “และเมื่อทารกหญิงที่ถูกฝังทั้งเป็นถูกถาม ด้วยความผิดอันใดเล่าเธอจึงถูกฆ่า" (อัต-ตักวีร : 8-9)
คำว่า “อัล-เมาอูดะฮฺ" หมายถึง เด็กผู้หญิงที่ถูกฝังในดินทั้งเป็นจนกระทั่งเสียชีวิต และเมื่อเธอรอดพ้นจากจากการฝัง และมีชีวิตอยู่ เธอก็จะใช้ชีวิตอย่างไร้เกียรติ ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกของญาติที่ใกล้ชิด ถึงแม้ว่าเขาจะมีทรัพย์สมบัติมากมายเพียงใดก็ตาม และถึงแม้ว่าเธอจะทนทุกข์ทรมานอันเนื่องจากความยากจน เพราะพวกเขาจะแบ่งมรดกให้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น มิหนำซ้ำเธอจะกลายเป็นมรดกเมื่อสามีได้เสียชีวิตลง เสมือนกับว่าเธอเป็นดังทรัพย์สินของสามี
สตรีจำนวนมากตกอยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของสามีคนเดียว โดยที่พวกเขาสามารถมีภรรยาจำนวนกี่คนก็ได้ ไม่จำกัด และไม่ได้เอาใจใส่ต่อความลำบากยากแค้น ความคับอกคับใจ ความปวดร้าว และความอธรรมอันจะเกิดขึ้นกับบรรดาสตรีเพศ
สอง สถานภาพของสตรีในอิสลาม
อิสลามได้ขจัดความอธรรมต่างๆ เหล่านั้นออกจากสตรี และคืนความเป็นมนุษย์แก่เธอ โดยที่อัลลอฮฺตรัสได้ว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ إِنَّا خَلَقۡنَٰكُم مِّن ذَكَرٖ وَأُنثَىٰ ﴾ [الحجرات: ١٣]
ความว่า “โอ้มวลมนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชายและเพศหญิง" (อัล-หุญุรอต : 13)
ในโองการนี้ อัลลอฮฺได้บอกว่าเธอให้มีความเท่าเทียมกับบุรุษเพศในความเป็นมนุษย์ เช่นเดียวกับที่เธอมีความเท่าเทียมกันในการได้รับภาคผลบุญหรือบทลงโทษต่อการประพฤติปฏิบัติ
พระองค์ยังตรัสอีกว่า
﴿ مَنۡ عَمِلَ صَٰلِحٗا مِّن ذَكَرٍ أَوۡ أُنثَىٰ وَهُوَ مُؤۡمِنٞ فَلَنُحۡيِيَنَّهُۥ حَيَوٰةٗ طَيِّبَةٗۖ وَلَنَجۡزِيَنَّهُمۡ أَجۡرَهُم بِأَحۡسَنِ مَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٩٧ ﴾ [النحل: ٩٧]
ความว่า “ผู้ใดปฏิบัติความดี ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ตาม ในขณะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขามีชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาด้วยรางวัลที่ดียิ่งสำหรับภาคผลของการที่พวกเขาได้เคยปฏิบัติไว้" (อัน-นะห์ลฺ : 97)
และอัลลอฮฺยังตรัสอีกว่า
﴿ لِّيُعَذِّبَ ٱللَّهُ ٱلۡمُنَٰفِقِينَ وَٱلۡمُنَٰفِقَٰتِ وَٱلۡمُشۡرِكِينَ وَٱلۡمُشۡرِكَٰتِ﴾ [الأحزاب : ٧٣]
ความว่า “เพื่ออัลลอฮฺนั้นจะทรงลงโทษบรรดามุนาฟิกชายและหญิง และจะทรงลงโทษบรรดาผู้ตั้งภาคีชายและหญิง" (อัล- อะห์ซาบ : 73)
และอัลลอฮฺได้ห้ามเอาสตรีมาเป็นส่วนหนึ่งของมรดกในกรณีที่สามีได้เสียชีวิตลง อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا يَحِلُّ لَكُمۡ أَن تَرِثُواْ ٱلنِّسَآءَ كَرۡهٗاۖ ﴾ [النساء : ١٩]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ไม่เป็นการอนุมัติแก่พวกเจ้า ในการที่จะเอาบรรดาสตรีมาเป็นมรดกด้วยการบังคับ" (อัน-นิสาอ์ : 19)
อิสลามได้ประกันความเป็นอิสรภาพของสตรี โดยกำหนดให้เธอมีสิทธิในมรดก โดยไม่ต้องตกเป็นมรดกเสียเองเฉกเช่นในอดีต และได้กำหนดให้สตรีเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกในทรัพย์สินของญาติผู้ใกล้ชิดของเธอด้วย พระองค์ได้ตรัสว่า
﴿ لِّلرِّجَالِ نَصِيبٞ مِّمَّا تَرَكَ ٱلۡوَٰلِدَانِ وَٱلۡأَقۡرَبُونَ وَلِلنِّسَآءِ نَصِيبٞ مِّمَّا تَرَكَ ٱلۡوَٰلِدَانِ وَٱلۡأَقۡرَبُونَ مِمَّا قَلَّ مِنۡهُ أَوۡ كَثُرَۚ نَصِيبٗا مَّفۡرُوضٗا ٧ ﴾ [النساء : ٧]
ความว่า “สำหรับผู้ชายนั้นมีส่วนแบ่งจากสิ่งที่พ่อแม่และบรรดาญาติใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ และสำหรับผู้หญิงนั้นก็มีส่วนแบ่งจากสิ่งที่พ่อแม่และบรรดาญาติใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ ซึ่งสิ่งนั้นจะมีจำนวนน้อยหรือมากก็ตาม เป็นส่วนแบ่งที่ถูกกำหนดอัตราส่วนไว้แล้ว" (อัน-นิสาอ์ : 7)
และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ يُوصِيكُمُ ٱللَّهُ فِيٓ أَوۡلَٰدِكُمۡۖ لِلذَّكَرِ مِثۡلُ حَظِّ ٱلۡأُنثَيَيۡنِۚ فَإِن كُنَّ نِسَآءٗ فَوۡقَ ٱثۡنَتَيۡنِ فَلَهُنَّ ثُلُثَا مَا تَرَكَۖ وَإِن كَانَتۡ وَٰحِدَةٗ فَلَهَا ٱلنِّصۡفُۚ﴾ [النساء : ١١]
“อัลลอฮฺได้ทรงสั่งเสียพวกเจ้าไว้เกี่ยวกับลูกๆ ของพวกเจ้าว่า สำหรับผู้ชายนั้นมีสิทธิ์ได้รับเท่ากับส่วนแบ่งของผู้หญิงสองคน แต่หากลูกๆ เป็นผู้หญิงสองคนขึ้นไป พวกเธอก็จะได้รับสองในสามจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้ และถ้าลูกเป็นผู้หญิงคนเดียว เธอก็จะได้รับครึ่งหนึ่ง..." (อัน-นิสาอ์ : 11)
รวมถึงอายะฮฺอื่นๆ ที่กล่าวถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้สตรีมีสิทธิ์ได้รับมรดก ไม่ว่าจะเป็นมารดา ลูกผู้หญิง พี่สาว น้องสาวและภรรยา
ส่วนในด้านการเป็นสามีภรรยานั้น อัลลอฮฺได้จำกัดให้ผู้ชายมีภรรยาไม่เกิน 4 คน (ในเวลาเดียวกัน) โดยมีเงื่อนไขให้ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมที่มีความสามารถระหว่างบรรดาภรรยา และทรงกำหนดให้อยู่ร่วมกับพวกเธอด้วยดี ดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿وَعَاشِرُوهُنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ﴾ [النساء : ١٩]
ความว่า “และพวกเจ้าจงอยู่ร่วมกับพวกเธอด้วยดี" (อัน-นิสาอ์ : 19)
และพระองค์ได้ทรงกำหนดให้สินสอด (เศาะดาก) เป็นสิทธิของผู้หญิง และได้สั่งใช้ให้มอบแก่เธออย่างครบถ้วนตามที่ได้ตกลงกันไว้ ยกเว้นในกรณีที่เธอจะสละสิทธิ์ด้วยความยินดี ซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
﴿ وَءَاتُواْ ٱلنِّسَآءَ صَدُقَٰتِهِنَّ نِحۡلَةٗۚ فَإِن طِبۡنَ لَكُمۡ عَن شَيۡءٖ مِّنۡهُ نَفۡسٗا فَكُلُوهُ هَنِيٓٔٗا مَّرِيٓٔٗا ٤ ﴾ [النساء : ٤]
ความว่า “และจงให้แก่บรรดาสตรีซึ่งสินสอดของพวกเธอด้วยความเต็มใจ แต่ถ้าเธอเห็นชอบที่จะให้สิ่งหนึ่งแก่พวกเจ้าจากสินสอดนั้นแล้ว ก็จงบริโภคสิ่งนั้นโดยสะดวกและสำราญใจ" (อัน-นิสาอ์ : 4)
อัลลอฮฺได้บัญญัติให้ภรรยาเป็นผู้ดูแลบ้านของสามี เป็นผู้อบรมขัดเกลาบรรดาลูกๆ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«وَالْمَرْأَةُ رَاعِيَةٌ فِي بَيْتِ زَوْجِهَا وَمَسْئُولَةٌ عَنْ رَعِيَّتِهَا»
"และสตรีนั้นเป็นผู้ดูแลภายในบ้านของสามี และเธอจะต้องถูกสอบสวนต่อผู้ที่อยู่ในการดูแลของเธอ" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 5200 มุสลิม 4701 อบู ดาวูด 2928 และอัต-ติรมิซีย์ 1705)
และพระองค์ได้บัญญัติให้สามีจ่ายค่าเลี้ยงดู และค่าเสื้อผ้าอาภรณ์แก่ภรรยาด้วยดี เหมาะสมตามจารีตประเพณี
สาม เป้าหมายของศัตรูต่อสตรีมุสลิม
เป้าหมายของศัตรูและผู้ที่เห็นพ้องกับพวกเขา คือต้องการที่จะให้สตรีสลัดเกียรติ ศักดิ์ศรี และภารกิจของเธอ
แท้จริงศัตรูของอิสลาม – ทว่า ที่จริงทุกวันนี้พวกเขาคือศัตรูกับความเป็นมนุษย์ด้วยซ้ำ ซึ่งประกอบด้วยบรรดาผู้ปฏิเสธ บรรดาผู้กลับกลอก และบรรดาผู้ที่หัวใจมีโรค- พวกเขามีความเคียดแค้นที่เห็นสตรีมุสลิมดำรงตนอยู่ในเกียรติและศักดิ์ศรี และได้รับการปกป้องให้ปลอดภัยในอิสลาม เพราะว่าพวกเขาต้องการใช้สตรีเป็นเครื่องมือในการทำลายอิสลาม และใช้พวกเธอเป็นกับดักเพื่อล่อลวงผู้ที่มีศรัทธาอ่อนและผู้ที่มีอารมณ์เบี่ยงเบน หลังจากที่ปล่อยให้พวกเขาใช้อารมณ์ปรารถนาให้อิ่มหนำสำราญจากตัวของพวกเธอแล้ว ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
﴿وَيُرِيدُ ٱلَّذِينَ يَتَّبِعُونَ ٱلشَّهَوَٰتِ أَن تَمِيلُواْ مَيۡلًا عَظِيمٗا ٢٧ ﴾ [النساء : ٢٧]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำนั้น ต้องการที่จะให้พวกเจ้าหันเหจากแนวทางอันเที่ยงตรงให้มาก" (อัน-นิสาอ์ : 27)
และมุสลิมบางคนที่หัวใจมีโรค เขาต้องการให้สตรีเป็นสินค้าแก่บรรดาผู้ที่จมปลักอยู่ในอารมณ์ใฝ่ต่ำ และในการล่อลวงของชัยฏอนมารร้าย เป็นสินค้าที่ถูกนำมาแสดงต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งพวกเขาจะเพลิดเพลินในความสวยงามจากเรือนร่างของเธอ หรือยังเลยเถิดไปสู่สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้น
และด้วยเหตุดังกล่าว พวกเขาจึงยุยงให้สตรีออกจากบ้าน เพื่อให้ไปร่วมทำงานปะปนกับผู้ชาย เป็นพยาบาลคอยปรนนิบัติรับใช้พวกผู้ชายในโรงพยาบาล เป็นพนักงานบริการแขกบนเครื่องบิน เป็นนักศึกษาหรือเป็นอาจารย์ในชั้นเรียนที่มีการปะปนระหว่างชายและหญิง เป็นนักแสดง นักร้อง หรือเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ในองค์กรต่างๆ โดยอวดโฉม ยั่วยวนด้วยกับน้ำเสียงและรูปร่างหน้าตา
สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้เอารูปหญิงสาวที่ยั่วยวน แต่งตัวโป๊เปลือยมาขึ้นปกเพื่อเป็นสื่อสำหรับการโฆษณาสินค้า นักธุรกิจและพ่อค้าบางคน ได้ยึดเอาภาพเหล่านี้เพื่อมากระตุ้นสินค้าให้มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดยที่เอารูปภาพต่างๆ มาวางโฆษณาไว้บนสินค้าและผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
และจากแนวทางที่ผิดพลาดเหล่านี้ ทำให้สตรีละทิ้งหน้าที่หลักภายในบ้านของเธอ ซึ่งเป็นเหตุให้สามีต้องไปเอาคนรับใช้ต่างศาสนิกหรือต่างชาติมาเลี้ยงดูบุตร (หมายถึงตามที่เป็นความนิยมของสังคมในประเทศอาหรับส่วนใหญ่ – บรรณาธิการ) และมาจัดระเบียบดูแลบ้านของพวกเขาแทน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความวุ่นวายเป็นอย่างมาก และทำให้เกิดความเลวร้ายหลายประการ
สี่ การทำงานนอกบ้านของผู้หญิง
อนุญาตให้ผู้หญิงทำงานนอกบ้านได้ หากปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้
1. เธอมีความจำเป็นต้องทำงานดังกล่าว หรือสังคมมีความจำเป็นต้องพึ่งเธอ เนื่องจากหาผู้ชายทำงานนั้นไม่ได้
2. งานนั้นจะต้องเป็นงานรอง หลังจากที่เธอได้ปฏิบัติงานหลักที่บ้านเรียบร้อยแล้ว
3. งานนั้นจะต้องอยู่ในแวดวงของสตรี เช่น การสอนผู้หญิง การรักษาหรือการปฐมพยาบาลผู้หญิงด้วยกัน โดยไม่ได้ปะปนกับผู้ชาย
4. และเช่นเดียวกัน ไม่มีข้อห้ามอันใดที่เธอจะออกไปศึกษาเล่าเรียน ทว่าเป็นความจำเป็นต่อสตรีที่จะต้องเรียนรู้เรื่องราวศาสนา และไม่มีข้อห้ามอันใดในการที่เธอจะไปสอนในเรื่องราวศาสนาซึ่งมีความจำเป็น โดยการเรียนการสอนนั้นต้องไม่ปะปนกับผู้ชาย และไม่เป็นไรที่เธอจะเข้าไปเรียนรู้ที่มัสยิดและสถานที่อื่นๆ โดยที่เธอแต่งกายมิดชิดและแยกจากผู้ชาย ดังเช่นกุลสตรีในยุคแรกของอิสลามได้ประพฤติเอาไว้ ซึ่งพวกเธอก็ทำงาน ร่ำเรียน และไปมัสญิดเช่นกัน
บทที่ 2 บัญญัติว่าด้วยการดูแลเรือนร่างของสตรี
หนึ่ง ดูแลตัวเองตามฟิฏเราะฮฺ
สตรีต้องดูแลตัวเองตามกมลสันดานที่เรียกว่า ฟิฏเราะฮฺ ที่เหมาะสมและเจาะจงเฉพาะกับเธอ อาทิเช่น การตัดและการดูแลเล็บ เพราะการตัดเล็บเป็นจริยวัตร (แบบอย่างสุนนะฮฺของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ตามมติเอกฉันท์ของบรรดาปวงปราชญ์ ดังที่มีปรากฏอยู่ในคำสอนของท่าน เพราะการตัดเล็บเป็นการทำความสะอาดและตกแต่งให้สวยงาม ถ้าปล่อยให้เล็บยาวจะทำให้เกิดความภาพลักษณ์ที่ไม่น่าดู เป็นเหมือนสัตว์เดรัจฉาน ทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรก น้ำไม่สามารถเข้าไปได้อย่างทั่วถึง สตรีบางคนไว้เล็บยาวเพราะเลียนแบบต่างศาสนิกและไม่เข้าใจในแบบอย่างของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ยังมีสุนนะฮฺอื่นๆ ให้สตรีปฏิบัติด้วย เช่น การขจัดขนรักแร้ ขนในที่ลับ ตามที่มีปรากฏในหะดีษของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลตนเองให้สวยงามอีกด้วย และทางที่ดีควรขจัดขนดังกล่าวทุกๆ สัปดาห์ หรือไม่ก็อย่าปล่อยให้มันล่วงเลยไปมากกว่าสี่สิบวัน
สอง ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับเส้นผมและขน
ก. สตรีต้องไว้ผม และไม่อนุญาตให้โกนผม ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็น
ท่านชัยค์มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อาล อัช-ชัยค์ มุฟตีแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่าไม่อนุญาตให้โกนผมของผู้หญิง เพราะมีหะดีษจากอะลี ซึ่งบันทึกโดยอิมามอัน-นะสาอีย์(5064) และจากอุษมาน ซึ่งบันทึกโดย อัล-บัซซาร และจาก อิกริมะฮฺ ซึ่งบันทึกโดยอิบนุ ญะรีรฺ พวกเขากล่าวว่า
نَهَى رسول الله أَنْ تَحْلِقَ الْمَرْأَةُ رَأْسَهَا
ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้ผู้หญิงโกนศีรษะของเธอ"
การห้ามใดที่มีปรากฏจากหะดีษของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น ให้ถือว่าเป็นข้อวินิจฉัยสั่งห้ามและไม่อนุญาตให้ทำ ตราบใดที่ยังไม่มีหลักฐานอื่นมาหักล้าง
มุลลา อะลี กอรี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-มิรกอต ชัรห์ อัล-มิชกาต ว่า “คำว่า “ห้ามไม่ให้ผู้หญิงโกนศีรษะของเธอ" เนื่องจากเส้นผมสำหรับผู้หญิงนั้นเทียบได้เหมือนกับเคราสำหรับผู้ชายในด้านบุคลิกและความสวยงาม..." (มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา อัช-ชัยค์ มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อาล อัช-ชัยค์ : 2/49)
ส่วนการตัดผมออกให้สั้นสามารถกระทำได้หากมีความจำเป็น แต่ไม่ใช่เป็นการประดับตกแต่ง เช่น ไม่สามารถที่จะดูแลรักษาได้ หรือยาวมากจนสร้างความยากลำบาก ดังนั้นการจะตัดออกบางส่วนถือว่าไม่เป็นไร ดังที่ภรรยาบางคนของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ปฏิบัติหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิต เนื่องจากพวกเธอไม่มีความจำเป็นที่จะต้องประดับประดาโดยการไว้ผมยาวอีกต่อไป
แต่ถ้าหากเป้าหมายของการตัดผมสั้นเพื่อเป็นการเลียนแบบผู้หญิงต่างศาสนิก หรือบรรดาผู้หญิงฟาสิกบกพร่องศีลธรรม หรือเพื่อเลียนแบบผู้ชาย ก็ย่อมเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) โดยไม่มีข้อสงสัยแต่ประการใด ด้วยเหตุผลของการห้ามไม่ให้เลียนแบบต่างศาสนิกโดยภาพรวม และห้ามไม่ให้ผู้หญิงเลียนแบบผู้ชาย และหากตั้งใจว่าทำเพื่อเป็นการประดับตกแต่ง ทัศนะเท่าที่เห็นมีน้ำหนักกว่าก็คือไม่เป็นที่อนุญาต
ท่านชัยค์มุหัมมัด อัล-อะมีน อัช-ชันกีฏีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวในหนังสือของท่านว่า “แท้จริงการตัดผมสั้นจนกระทั่งถึงโคนผมนั้น เป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายของพวกฝรั่ง ซึ่งค้านกับแบบอย่างของสตรีมุสลิมและสตรีชาวอาหรับยุคก่อนอิสลาม การกระทำดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เบี่ยงเบน ซึ่งเป็นปัญหาที่แพร่ระบาดในวงกว้างต่อศาสนา ภาพลักษณ์ จรรยามารยาท และพฤติกรรมอื่นๆ"
หลังจากนั้นท่านได้ชี้แจงเกี่ยวกับหะดีษที่ว่า
وَكَانَ أَزْوَاجُ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَأْخُذْنَ مِنْ رُءُوسِهِنَّ حَتَّى تَكُونَ كَالْوَفْرَةِ.
ความว่า “บรรดาภรรยาของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ตัดผมของพวกเธอออกจนกระทั่งถึงบริเวณสองติ่งหู" (บันทึกโดยมุสลิม : 726)
พวกนางตัดผมให้สั้นหลังจากที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เสียชีวิต เพราะว่าพวกนางได้ตกแต่งและดูแลตัวเองในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และส่วนหนึ่งจากการตกแต่งที่มีเสน่ห์สวยงามที่สุดของพวกนางก็คือเส้นผมของพวกนาง
แต่หลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว พวกนางมีบทบัญญัติเฉพาะซึ่งแตกต่างกับผู้หญิงทั่วไป นั่นคือพวกนางจะไม่สามารถแต่งงานได้อีกต่อไป พวกนางเปรียบเสมือนผู้หญิงที่มีอิดดะฮฺซึ่งถูกกักไว้จนกระทั่งเสียชีวิต เนื่องจากพวกนางเป็นภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَمَا كَانَ لَكُمۡ أَن تُؤۡذُواْ رَسُولَ ٱللَّهِ وَلَآ أَن تَنكِحُوٓاْ أَزۡوَٰجَهُۥ مِنۢ بَعۡدِهِۦٓ أَبَدًاۚ إِنَّ ذَٰلِكُمۡ كَانَ عِندَ ٱللَّهِ عَظِيمًا ٥٣ ﴾ [الأحزاب : ٥٣]
ความว่า “และไม่เป็นการบังควรแก่พวกเจ้าที่จะก่อความรำคาญแก่ศาสนทูตของอัลลอฮฺ และพวกเจ้าจะต้องไม่แต่งงานกับบรรดาภรรยาของท่าน ภายหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นอันขาด แท้จริง เรื่องนี้สำหรับอัลลอฮฺเป็นเรื่องที่ใหญ่หลวงนัก" (อัล-อะห์ซาบ : 53)
และการหมดหวังที่จะแต่งงานอีก อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการผ่อนปรนให้งดจากการประดับประดาตกแต่งในบางเรื่องได้ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาตให้ทำหากเป็นเพราะเหตุอื่นๆ นอกจากสาเหตุดังกล่าวเท่านั้น (อัฎวาอ์ อัล-บะยาน : 5 / 598-601)
ดังนั้น จำเป็นที่สตรีผู้ศรัทธาจะต้องรักษา เอาใจใส่ดูแลผมของพวกเธอ และถักเปีย และไม่อนุญาตให้ม้วนทำทรงไว้บนศีรษะ หรือมุมหนึ่งมุมใดของท้ายทอย
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวในหนังสือของท่านว่า “เสมือนกับพวกโสเภณีบางคนที่ตั้งใจถักเปียผมของนางเป็นส่วนเดียว และปล่อยไว้โชว์ให้เห็นระหว่างบ่าทั้งสอง" (มัจญ์มูอฺฟะตาวา : 22/14)
ท่านชัยค์มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อาล อัช-ชัยค์ กล่าวไว้ว่า “สำหรับสิ่งที่สตรีบางคนได้กระทำในยุคปัจจุบัน เช่น การแยกผมบนศีรษะไว้ด้านหนึ่ง และรวบไว้ที่ท้ายทอยด้านหลัง หรือมัดเกลียวไว้ข้างบน เหมือนกับที่พวกผู้หญิงฝรั่งทำ ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำ เนื่องจากเป็นการเลียนแบบสตรีต่างศาสนิก "
เนื่องจากมีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ –ในหะดีษบทหนี่งที่มีความยาว- กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«صِنْفَانِ مِنْ أَهْلِ النَّارِ لَمْ أَرَهُمَا : قَوْمٌ مَعَهُمْ سِيَاطٌ كَأَذْنَابِ الْبَقَرِ يَضْرِبُونَ بِهَا النَّاسَ وَنِسَاءٌ كَاسِيَاتٌ عَارِيَاتٌ مُمِيلاَتٌ مَائِلاَتٌ رُءُوسُهُنَّ كَأَسْنِمَةِ الْبُخْتِ الْمَائِلَةِ لاَ يَدْخُلْنَ الْجَنَّةَ وَلاَ يَجِدْنَ رِيحَهَا وَإِنَّ رِيحَهَا لَيُوجَدُ مِنْ مَسِيرَةِ كَذَا وَكَذَا»
ความว่า “ชาวนรกสองจำพวกที่ฉันยังไม่เคยเห็นพวกเขา พวกหนึ่งมีแส้คล้ายกับหางวัวคอยเฆี่ยนตี (ลงโทษ) มนุษย์ และอีกพวกหนึ่งคือสตรีที่สวมใส่เสื้อผ้าไม่มิดชิด เดินเอนไปเอนมา ศีรษะของพวกเธอเหมือนกับโหนกอูฐ พวกเธอจะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์ และจะไม่ได้ดม (สัมผัส) กลิ่นไอของมัน ทั้งๆ ที่กลิ่นไอของมันจะดม (สัมผัส) ได้ในระยะทางเท่านั้นเท่านี้" (บันทึกโดยมุสลิม 5547)
นักปราชญ์บางท่านได้ขยายความคำว่า “เอนไปเอนมา" คือ พวกเธอได้หวีผมในลักษณะเอน ซึ่งเป็นการหวีของหญิงโสเภณี และการหวีลักษณะเช่นนี่เป็นการกระทำของพวกผู้หญิงฝรั่ง และผู้หญิงมุสลิมที่ดำเนินตามแนวทางของพวกเธอ (มัจญ์มูอฺ ฟะตาวาของชัยค์มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม เล่มที่ 2/47 และอัล-อีฎอห์ วะ อัต-ตับยีน ของหะห์มูด อัต-ตุวัยญิรีย์ หน้าที่ 85)
ดังที่ห้ามไม่ให้สตรีโกนศีรษะหรือตัดผมออกโดยไม่มีความจำเป็นแล้ว ก็ยังมีบัญญัติห้ามไม่ให้เธอต่อผม หรือเอาผมอื่นมาเสริม ดังที่มีหลักฐานที่ปรากฏในตำราของอิมามอัล-บุคอรีย์ (5934) และมุสลิม (5530)
«لَعَن رسول اللَّهُ الْوَاصِلَةَ وَالْمُسْتَوْصِلَة»
ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สาปแช่งผู้หญิงที่ต่อผมให้ผู้อื่น และผู้หญิงที่ขอให้ผู้อื่นต่อผมให้"
อันเนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการปลอมแปลง นอกจากนี้การใช้ผมปลอมในปัจจุบันก็เข้าข่ายการต่อผมเช่นกัน
อัล-บุคอรีย์ มุสลิม และท่านอื่นๆ ได้รายงานว่า “เมื่อ มุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้มายังนครมะดีนะฮฺ ท่านได้เอาผมมากำหนึ่ง แล้วกล่าวตักเตือนว่า
مَا بَالُ نِسَائِكُمْ يَجْعَلْنَ فِي رُؤُوسِهِمْ مِثْلَ هَذَا ، سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، يَقُولُ : «مَا مِنِ امْرَأَةٍ تَجْعَلُ فِي رَأْسِهَا شَعْرًا مِنْ شَعْرِ غَيْرِهَا إِلا كَانَ زُورًا»
ความว่า "บรรดาสตรีของพวกท่านเป็นอะไรกัน ถึงได้เอาของพวกนี้มาใส่บนศีรษะของพวกนาง ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “ไม่มีสตรีคนใดเอาผมของผู้อื่นมาต่อกับผมของนาง นอกจากนั่นถือว่าเป็นการปลอมแปลง" (บันทึกโดยอัล- บุคอรีย์ : 3468 , 5932 และมุสลิม : 5543)
และคำว่า “ผมปลอม" คือ ผมเทียมที่ถูกผลิตขึ้นมา ซึ่งเหมือนกับผมจริง และการสวมใส่มันนั้นถือว่าเป็นการกระทำเชิงหลอกลวง
ข. ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมกำจัดขนคิ้ว
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม จะด้วยการโกน หรือการตัด หรือการใช้เครื่องมือ หรือการใช้น้ำยาขจัดทั้งหมดหรือบางส่วน เพราะนั่นเข้าข่ายการถอนที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ดุอาอ์สาปแช่งผู้หญิงที่ถอนขนคิ้ว และผู้หญิงที่ให้คนอื่นถอนขนคิ้วให้ (บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ : 5111) โดยเข้าใจว่าเป็นการเสริมสวย
และนี่คือการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ ซึ่งชัยฏอนมารร้ายได้สัญญาไว้ว่ามันจะสั่งให้มนุษย์กระทำการดังกล่าว ดังที่อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า
﴿وَلَأٓمُرَنَّهُمۡ فَلَيُغَيِّرُنَّ خَلۡقَ ٱللَّهِۚ ﴾ [النساء : ١١٩]
ความว่า “และแน่นอนยิ่ง ข้า (ชัยฎอน) จะใช้พวกเขา แล้วแน่นอนพวกเขาก็จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้าง" (อัน-นิสาอ์ : 119)
และในเศาะฮีหฺอัล-บุคอรีย์ มีรายงานจากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
«لَعَنَ اللَّهُ الْوَاشِمَاتِ وَالْمُسْتَوْشِمَاتِ وَالنَّامِصَاتِ وَالْمُتَنَمِّصَاتِ وَالْمُتَفَلِّجَاتِ لِلْحُسْنِ الْمُغَيِّرَاتِ خَلْقَ اللَّهِ»
ความว่า “อัลลอฮฺได้สาปแช่งผู้หญิงที่สัก ผู้หญิงที่ให้ผู้อื่นสักให้ ผู้หญิงที่ถอนขนคิ้ว ผู้หญิงที่ให้ผู้อื่นถอนขนคิ้วให้ ผู้หญิงที่ตกแต่งฟันเพื่อความสวยงาม ผู้ที่เปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5931และมุสลิม : 5538)
หลังจากนั้นท่านยังได้กล่าวว่า
وَمَا لِي لَا أَلْعَنُ مَنْ لَعَنَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ فِي كِتَابِ اللَّهِ.
“ฉันจะไม่สาปแช่งผู้ที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยสาปแช่งไว้ได้อย่างไร ทั้งๆ ที่มีนเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน?" ท่านหมายถึงคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَمَآ ءَاتَىٰكُمُ ٱلرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَمَا نَهَىٰكُمۡ عَنۡهُ فَٱنتَهُواْۚ ﴾ [الحشر: ٧]
ความว่า “และสิ่งใดที่เราะสูลได้นำมายังพวกเจ้า ก็จงยึดเอาไว้ และสิ่งใดที่ท่านได้ห้ามพวกเจ้าไว้ ก็จงละเว้นเสีย" (อัล-หัชรฺ : 7)
อิบนุ กะษีรฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีรฺของท่าน (2/359) ว่า “สตรีจำนวนมากในทุกวันนี้ได้รับการทดสอบด้วยโรคร้ายเหล่านี้ ซึ่งเป็นบาปใหญ่ชนิดหนึ่ง จนกระทั่งการขจัดขนคิ้วได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นรายวัน และไม่อนุญาตให้ภรรยาเชื่อฟังสามีถ้าเขาสั่งให้กระทำในเรื่องดังกล่าว เพราะเขากำลังสั่งให้ทำสิ่งที่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือมะอฺศิยะฮฺนั่นเอง"
ค. ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมผ่าแยกฟันโดยการถูด้วยตะไบเพื่อการเสริมสวย
แต่หากว่าในกรณีที่ฟันมีความผิดปกติ และมีความจำเป็นต้องขจัดสิ่งรบกวนให้หมดไป หรือเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น ก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นการรักษาเยียวยา และขจัดความรำคาญให้หมดไป และต้องให้แพทย์หญิงผู้มีความรู้เฉพาะทางเป็นผู้รักษา
ง. ไม่อนุญาตให้สตรีสักบนร่างกาย หรือให้ผู้อื่นสักให้
การสัก คือ การใช้เข็มที่มีน้ำหมึกทิ่มแทงตามมือหรือใบหน้า เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สาปแช่งผู้หญิงที่เป็นช่างสักและผู้หญิงที่ให้คนอื่นสักให้ การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นบาปใหญ่ เพราะว่าท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้สาปแช่งผู้ที่กระทำหรือผู้ที่ให้คนอื่นกระทำให้ และการสาปแช่งจะไม่เกิดขึ้น นอกจากในสิ่งที่เป็นบาปใหญ่เท่านั้น
จ. บทบัญญัติหรือข้อชี้ขาดเกี่ยวกับการย้อมสีด้วยใบเทียน การย้อมผม และการใช้เครื่องประดับที่เป็นทองคำ
1. การย้อมด้วยใบเทียน
อิมามอัน-นะวะวีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-มัจญ์มูอฺ (เล่ม1 หน้า 324) “การย้อมมือและเท้าด้วยใบเทียนสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำอันเนื่องจากมีหะดีษต่างๆ ดังเป็นที่รับรู้กัน..." ดังรายงานจากอบู ดาวูด (4164) และอัน- นะสาอีย์ (5095) ว่า “แท้จริงมีผู้หญิงคนหนึ่งได้ถามท่านหญิง อาอิชะฮฺ ถึงการย้อมเล็บด้วยใบเทียน เธอตอบว่า “ไม่มีปัญหาอะไร ทว่าฉันไม่ชอบมัน เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่รักของฉันก็รังเกียจกลิ่นของมัน"
และมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า “มีผู้หญิงคนหนึ่งได้ยื่นมือมาจากหลังม่านเพื่อส่งหนังสือให้แก่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วท่านก็ไม่รับ และกล่าวว่า “ฉันไม่ทราบว่าเป็นมือของผู้ชายหรือมือของผู้หญิง?" เธอกล่าวว่า “เป็นมือของผู้หญิง" แล้วท่านก็กล่าวว่า “หากเธอเป็นผู้หญิง แน่นอนเธอย่อมย้อมเล็บของเธอด้วยใบเทียน" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 4166 และอัน-นะสาอีย์ : 5089) แต่การย้อมเล็บจะต้องไม่ใช้วัตถุหรือสารที่ติดแข็งจนไม่สามารถทำความสะอาดได้
2. การย้อมผมของสตรี
หากกรณีเป็นผมหงอก สามารถย้อมได้ทุกสีที่ไม่ใช่สีดำ เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีคำสั่งห้ามมิให้ใช้สีดำในการย้อม
อัน-นะวะวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (ริยาฎ อัศ-ศอลิฮีน : 626) บทว่าด้วยเรื่องการห้ามผู้ชายและผู้หญิงไม่ให้ย้อมผมด้วยสีดำ และได้กล่าวไว้ในหนังสือมัจญ์มูอฺ (1/324) ว่า “ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการห้ามมิให้ย้อมด้วยสีดำ และนี่คือทัศนะของมัซฮับเรา.."
ส่วนการย้อมผมสีดำของสตรีเพื่อให้เปลี่ยนเป็นสีอื่นนั้น ฉัน(ผู้เขียน)มีความเห็นว่า กรณีนี้ไม่เป็นที่อนุญาต เพราะไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องกระทำอย่างนั้น เพราะสีดำของผมนั้นเป็นความสวยงามอยู่แล้ว ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติจนต้องไปเปลี่ยนแปลงมัน และการกระทำเช่นนั้นเป็นการเลียนแบบผู้หญิงต่างศาสนิก
3. อนุญาตให้สตรีใช้เครื่องประดับที่ทำจากทองคำและเงินตามประเพณีที่ปฏิบัติกัน
และนี่เป็นมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ แต่ไม่อนุญาตให้เธอนำเอาเครื่องประดับออกมาเผยให้เห็นแก่ผู้ชายที่สามารถแต่งงานกันได้ จำเป็นที่จะต้องปกปิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาออกจากบ้านและอยู่ในที่ที่อาจจะทำให้บุรุษหันมามองเธอ เพราะนั่นเป็นการยั่วยวน แท้จริงแล้วเธอถูกห้ามไม่ให้ผู้ชายได้ยินเสียงของกำไลหรือเครื่องประดับที่เธอใส่อยู่ที่เท้า ซึ่งมันอยู่ใต้เสื้อผ้า แล้วนับประสาอะไรกับการเปิดเผยเครื่องประดับที่อยู่นอกเสื้อผ้าอีกเล่า
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَلَا يَضۡرِبۡنَ بِأَرۡجُلِهِنَّ لِيُعۡلَمَ مَا يُخۡفِينَ مِن زِينَتِهِنَّۚ ﴾ [النور : ٣١]
ความว่า “และพวกเธออย่าได้กระทืบเท้าของพวกเธอ เพื่อให้รู้ถึงเครื่องประดับที่พวกเธอปกปิดไว้" (อัน-นูรฺ : 31)
บทที่ 3 บัญญัติว่าด้วยเลือดประจำเดือน เลือดเสีย และเลือดหลังคลอด
หนึ่ง เลือดประจำเดือน (หัยฎ์)
1. คำนิยามของเลือดประจำเดือน (หัยฎ์)
ตามหลักภาษา หมายถึง การไหล
ตามหลักบทบัญญัติ หมายถึง เลือดที่ออกมาจากมดลูกของผู้หญิง ตามวันเวลาซึ่งเป็นที่รับรู้กัน ไม่ได้เกิดมาจากสาเหตุการเป็นโรค หรือประสบอุบัติเหตุ แต่เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้แก่บรรดาสตรีเพศ เพื่อไว้หล่อเลี้ยงทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ แล้วจะเปลี่ยนเป็นนมเมื่อคลอดบุตร ดังนั้น เมื่อสตรีไม่ได้ตั้งครรภ์หรือไม่ได้ให้นมแก่บุตร เลือดนี้จะยังคงอยู่โดยไม่มีสิ่งใดมาเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันจะไหลออกมาในช่วงวันเวลาที่รับรู้ และรู้จักกันในนามประจำเดือนหรือรอบเดือน
2. อายุของผู้มีประจำเดือน
สตรีที่มีประจำเดือนโดยทั่วไปอายุน้อยสุดคือ 9 ปี จนไปถึงอายุ 50 ปี
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَٱلَّٰٓـِٔي يَئِسۡنَ مِنَ ٱلۡمَحِيضِ مِن نِّسَآئِكُمۡ إِنِ ٱرۡتَبۡتُمۡ فَعِدَّتُهُنَّ ثَلَٰثَةُ أَشۡهُرٖ وَٱلَّٰٓـِٔي لَمۡ يَحِضۡنَۚ ﴾ [الطلاق : ٤]
ความว่า “ส่วนบรรดาผู้หญิงในหมู่ภริยาของพวกเจ้าที่หมดหวังในการมีประจำเดือน หากพวกเจ้ายังสงสัย(ในเรื่องอิดดะฮฺ) ดังนั้น พึงรู้เถิดว่าอิดดะฮฺของพวกนางคือสามเดือน และบรรดาผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือนก็นับอิดดะฮฺแบบนั้นเช่นเดียวกัน" (อัฏ-เฏาะลาก : 4)
สตรีที่หมดหวังในการมีประจำเดือน หมายถึง ผู้หญิงที่มีอายุประมาณ 50 ปี และผู้ที่ยังไม่มีประจำเดือน หมายถึง ผู้หญิงที่อายุยังไม่ถึง 9 ปี
3. บทบัญญัติและข้อชี้ขาดเกี่ยวกับผู้ที่มีเลือดประจำเดือน
3.1 ไม่อนุญาตให้มีเพศสัมพันธ์ทางอวัยวะเพศกับภรรยาที่มีประจำเดือน เนื่องจากอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
﴿ وَيَسَۡٔلُونَكَ عَنِ ٱلۡمَحِيضِۖ قُلۡ هُوَ أَذٗى فَٱعۡتَزِلُواْ ٱلنِّسَآءَ فِي ٱلۡمَحِيضِ وَلَا تَقۡرَبُوهُنَّ حَتَّىٰ يَطۡهُرۡنَۖ فَإِذَا تَطَهَّرۡنَ فَأۡتُوهُنَّ مِنۡ حَيۡثُ أَمَرَكُمُ ٱللَّهُۚ إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلتَّوَّٰبِينَ وَيُحِبُّ ٱلۡمُتَطَهِّرِينَ ٢٢٢ ﴾ [البقرة: ٢٢٢]
ความว่า “และพวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับประจำเดือน จงกล่าวเถิดว่ามันเป็นสิ่งโสโครก ดังนั้น พวกเจ้าจงงดจากการมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาในขณะที่มีประจำเดือน และอย่าได้มีเพศสัมพันธ์กับพวกเธอจนกว่าพวกเธอจะสะอาดเสียก่อน ครั้นเมื่อพวกเธอได้ทำความสะอาดชำระร่างกายแล้ว ก็จงเข้าหาพวกเธอตามที่อัลลอฮฺได้ทรงใช้พวกเจ้า แท้จริง อัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว และทรงรักบรรดาผู้ที่ทำความสะอาดทั้งหลาย" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 222)
และข้อห้ามนี้จะดำเนินไปจนกระทั่งเลือดประจำเดือนหยุดไหล และเธออาบน้ำชำระร่างกายตามบทบัญญัติ เนื่องจากพระองค์อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า
﴿وَلَا تَقۡرَبُوهُنَّ حَتَّىٰ يَطۡهُرۡنَۖ فَإِذَا تَطَهَّرۡنَ فَأۡتُوهُنَّ مِنۡ حَيۡثُ أَمَرَكُمُ ٱللَّهُۚ ﴾ [البقرة: ٢٢٢]
ความหมาย “และอย่าได้มีเพศสัมพันธ์กับพวกเธอจนกว่าพวกเธอจะสะอาดเสียก่อน ครั้นเมื่อพวกเธอได้ทำความสะอาดชำระร่างกายแล้ว ก็จงเข้าหาพวกเธอตามที่อัลลอฮฺได้ทรงใช้พวกเจ้า" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 222)
และอนุญาตแก่สามีที่จะหาความสุขกับภรรยาที่มีประจำเดือนได้ แต่ต้องไม่ถึงขั้นการร่วมสังวาสทางอวัยวะเพศ เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«اصْنَعُوا كُلَّ شَيْءٍ إِلاَّ النِّكَاحَ»
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงทำทุกอย่างได้ ยกเว้นการร่วมประเวณี" (บันทึกโดยมุสลิม : 692)
3.2 ผู้หญิงที่มีประจำเดือน ไม่ต้องถือศีลอดและไม่ต้องละหมาด และหากปฏิบัติก็ถือว่าเป็นเรื่องต้องห้าม และใช้ไม่ได้ ดังหลักฐานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَلَيْسَ إِذَا حَاضَتْ لَمْ تُصَلِّ وَلَمْ تَصُمْ»
ความว่า “เมื่อสตรีมีประจำเดือน เธอไม่ละหมาดและไม่ถือศีลอดมิใช่หรือ?" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 304และมุสลิม : 759)
จากนั้น เมื่อสะอาดจากประจำเดือนแล้ว เธอจะต้องถือศีลอดชดใช้ ส่วนละหมาด ไม่ต้องชดใช้ ดังที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
«كُنَّا نَحِيضُ عَلَى عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ – فَكنا نُؤْمَرُ بِقَضَاءِ الصَّوْمِ وَلَا نُؤْمَرُ بِقَضَاءِ الصَّلَاةِ»
ความว่า “พวกเรามีประจำเดือนในสมัยของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม เราถูกสั่งให้ถือศีลอดชดใช้ และไม่ถูกสั่งให้ละหมาดชดใช้" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 321และมุสลิม : 761)
ส่วนความแตกต่างระหว่างการละหมาดและการถือศีลอดนั้น – อัลลอฮฺรู้ดียิ่ง - เพราะการละหมาดทำซ้ำวันละหลายครั้ง จึงไม่ต้องชดใช้ เพราะเกิดความลำบาก ซึ่งต่างกับการถือศีลอด
3.3 ห้ามไม่ให้สตรีที่มีประจำเดือนสัมผัสอัลกุรอานโดยที่ไม่มีสิ่งกั้น เนื่องจากอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
﴿ لَّا يَمَسُّهُۥٓ إِلَّا ٱلۡمُطَهَّرُونَ ٧٩ ﴾ [الواقعة: ٧٩]
ความว่า “และจะไม่สัมผัสอัลกุรอาน นอกจากบรรดาผู้ที่สะอาดเท่านั้น" (อัล-วากิอะฮฺ : 79)
และดังที่มีสาสน์จากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เขียนไปหาอัมร์ บิน หัซม ว่า
«لَا يَمَسَّ الْقُرْآنَ إِلَّا طَاهِرٌ»
“อย่าได้สัมผัสอัลกุรอาน นอกจากผู้ที่สะอาดเท่านั้น" (บันทึกโดยมาลิก : 468 , อัน-นะสาอีย์ และท่านอื่นๆ)
ซึ่งเปรียบเสมือนหะดีษมุตะวาติร (บันทึกและรายงานโดยมหาชน) เนื่องจากผู้คนจำนวนมากได้ยอมรับ
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “ทัศนะของบรรดา อิมามทั้งสี่เห็นพ้องกันว่า ไม่อนุญาตให้สัมผัสอัลกุรอานนอกจากผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์เท่านั้น"
ส่วนการอ่านอัลกุรอานของสตรีที่มีประจำเดือนโดยที่ไม่ได้สัมผัสนั้น เป็นประเด็นที่บรรดานักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน และทางที่ดี คือ เธอไม่ควรอ่านอัลกุรอานขณะที่มีประจำเดือน นอกจากในกรณีที่มีความจำเป็นเท่านั้น เช่น เกรงว่าจะลืมส่วนที่เคยท่องจำไปแล้ว (อัลลอฮฺเป็นผู้ที่รู้ดียิ่ง)
3.3 ห้ามสตรีที่มีประจำเดือนเดินเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ (เฏาะวาฟ) ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ขณะที่นางมีประจำเดือนว่า
«افْعَلِي كَمَا يَفْعَلُ الْحَاجُّ غَيْرَ أَنْ لَا تَطُوفِي بِالْبَيْتِ حَتَّى تَطْهُرِي»
ความว่า “จงปฏิบัติเยี่ยงผู้ที่ทำหัจญ์คนอื่นๆ เพียงแต่เธอจะต้องไม่เฏาะวาฟจนกว่าเธอจะสะอาด" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 305 และมุสลิม : 2911)
3.4 ห้ามสตรีที่มีประจำเดือนพำนักในมัสยิด ดังที่ท่าน เราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ว่า
«إِنِّي لَا أُحِلُّ اَلْمَسْجِدَ لِحَائِضٍ وَلَا لجُنُب»
ความว่า “แท้จริง ฉันไม่อนุญาตให้ผู้ที่มีประจำเดือนและผู้ที่มีญุนุบ (มีมูลเหตุที่ต้องอาบน้ำชำระร่างกาย)พำนักในมัสยิด" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 232)
และท่านยังกล่าวอีกว่า
«إِنِّ الْمَسْجِدَ لَا يَحِلُّ لِحَائِضٍ وَلَا جُنُب»
ความว่า “แท้จริงมัสยิดนั้นไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับผู้ที่มีประจำเดือนและผู้ที่มีญุนุบ" (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ : 645)
และอนุญาตให้ผู้ที่มีประจำเดือนเดินผ่านมัสยิดได้โดยไม่ได้หยุดพำนัก อันเนื่องจากมีหะดีษจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«نَاوِلِينِي الْخُمْرَةَ مِنْ الْمَسْجِدِ»، فقُلْتُ: إِنِّي حَائِضٌ. قَالَ : «إِنَّ حَيْضَتَكِ لَيْسَتْ بِيَدِكِ»
ความว่า “เธอจงเอาผ้าปูละหมาดจากมัสยิดมาให้ฉัน" แล้วฉันก็ตอบว่า ฉันมีประจำเดือน ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เลยกล่าวว่า “แท้จริงประจำเดือนของเธอไม่ได้อยู่ที่มือของเธอสักหน่อย" (บันทึกโดยมุสลิม : 678 , อบู ดาวูด : 261 , อัน-นะสาอีย์ : 328 , อิบนุ มาญะฮฺ : 632 และอัต-ติรมิซีย์ :134) (เจ้าของหนังสือมุนตะกอ อัล-อัคบาร มัจญ์ดุดดีน กล่าวว่า บันทึกโดยนักบันทึกทั้งเจ็ดยกเว้นอัล-บุคอรีย์ : 1/140)
และอนุญาตแก่ผู้มีประจำเดือน สามารถอ่านถ้อยคำรำลึกต่างๆ ที่ถูกบัญญัติไว้ได้ เช่น การกล่าวคำว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ อัลลอฮฺอักบัร สุบหานัลลอฮฺ ตลอดจนคำวิงวอนต่างๆ และสามารถอ่านถ้อยคำรำลึกในยามเช้า ยามเย็น ขณะเข้านอน และตื่นนอน" และอนุญาตให้อ่านตำราทางวิชาการ เช่น ตัฟซีรฺ หะดีษ และฟิกฮฺ
เกร็ดความรู้ ข้อชี้ขาดทางบทบัญญัติของการตกขาวและน้ำคาวปลา (ศุฟเราะฮฺ และกุดเราะฮฺ)
ศุฟเราะฮฺ คือ สิ่งที่มีลักษณะคล้ายกับน้ำหนองมีสีค่อนข้างเหลือง
กุดเราะฮฺ คือ สิ่งที่มีลักษณะคล้ายกับสีของน้ำขุ่นสกปรก
ดังนั้น เมื่อมีสิ่งใดจากทั้งสองนี้ออกมาจากผู้หญิง ในช่วงเวลาของประจำเดือน ก็ให้ถือว่าเป็นประจำเดือน ใช้บทบัญญัติและข้อชี้ขาดเดียวกับการมีประจำเดือน
และหากออกมาในเวลาที่ไม่มีประจำเดือน ก็ไม่นับว่าทั้งสองอย่างนั้นเป็นประจำเดือน และถือว่าตัวของเธอสะอาดอยู่ ดังที่มีหลักฐานจากอุมมุ อะฎียะฮฺ กล่าวว่า
«كُنَّا لا نَعُدُّ الْكُدْرَةَ وَالصُّفْرَةَ بَعْدَ الطُّهْرِ شَيْئًا»
ความว่า “เราไม่ถือว่าศุฟเราะฮฺและกุดเราะฮฺหลังจากที่สะอาดแล้ว (เลือดหยุดแล้ว) ว่าเป็นประจำเดือนแต่อย่างใด" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 307)
ในบันทึกของอัล-บุคอรีย์ไม่มีคำว่า “หลังจากที่สะอาดแล้ว"
และคำพูดของอุมมุอะฏียะฮฺนั้น มีสถานะเดียวกับคำพูดของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม -ตามทัศนะของนักวิชาการหะดีษ- เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้การรับรองหรือยอมรับแล้ว
และสิ่งที่สามารถเข้าใจได้จากหะดีษนี้ก็คือ ศุฟเราะฮฺและกุดเราะฮฺที่ออกมาในช่วงประจำเดือนก็เป็นประจำเดือน ซึ่งใช้บทบัญญัติและข้อชี้ขาดเดียวกับประจำเดือน
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
คำถาม รู้ได้อย่างไรว่าประจำเดือนหมดแล้ว?
คำตอบ รู้ได้โดยการหยุดไหลของเลือด ซึ่งจะมีเครื่องหมายใดจากสองเครื่องหมายนี้
หนึ่ง มีน้ำสีขาวออกมา (ก็อศเศาะฮฺ บัยฎออ์) ซึ่งมันจะออกมาหลังจากประจำเดือน คล้ายกับน้ำของปูนพลาสเตอร์ และบางทีก็อาจจะเป็นสีอื่น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้หญิงแต่ละคน
สอง อวัยวะเพศแห้ง พิสูจน์ได้โดยการใช้ผ้าหรือสำลีสอดเข้าไปในอวัยวะเพศ จากนั้นดึงออกมา แล้วพบว่ามันอยู่ในสภาพที่แห้ง ไม่มีสิ่งใดติดมาเลย ไม่ว่าจะเป็นเลือด ศุฟเราะฮฺ หรือกุดเราะฮฺ
4. สิ่งที่ต้องปฏิบัติหลังจากหมดประจำเดือน
สิ่งที่สตรีต้องปฏิบัติหลังจากที่ประจำเดือนหมด คือการอาบน้ำชำระให้ทั่วทุกส่วนของร่างกาย โดยตั้งเจตนาทำความสะอาด เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«فَإِذَا أَقْبَلَتْ حَيْضَتُكِ فَدَعِي الصَّلَاةَ وَإِذَا أَدْبَرَتْ فَاغْتسِلِي وصَلِّي»
ความว่า “เมื่อมีประจำเดือนเธอจงหยุดละหมาด และเมื่อประจำเดือนหมด เธอก็จงอาบน้ำชำระร่างกายแล้วจงละหมาด" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 331)
วิธีการอาบน้ำ
• ให้ตั้งเจตนา(เนียต) ยกหะดัษ หรือทำความสะอาด เพื่อการละหมาดและอื่นๆ
• จากนั้นให้กล่าวคำว่า "บิสมิลลาฮฺ"
• รดน้ำให้ทั่วทั้งร่างกาย และให้น้ำเข้าถึงโคนผม
• ในกรณีที่เป็นผมเปีย ไม่จำเป็นต้องคลายออก เพียงแต่ให้น้ำทั่วถึง
• หากใช้น้ำใบพุทรา สบู่หรือแชมพูทำความสะอาดพร้อมกับน้ำได้ก็จะเป็นการดี
• และควรใช้สำลีชุบเครื่องหอมมาสอดไว้ในช่องคลอดหลังจากการอาบน้ำ เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยสั่งใช้ให้อัสมาอ์ทำเช่นนั้น (บันทึกโดยมุสลิม)
ข้อควรระวัง!!
• หากเลือดประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตรหมดก่อนดวงอาทิตย์ตกดิน จำเป็นที่จะต้องละหมาดซุฮร์และอัศร์(ละหมาดรวม)ของวันนั้นด้วย
• หากเลือดหมดก่อนแสงอรุณขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องละหมาดมัฆริบและอิชาอ์ของคืนนั้น เพราะเวลาของละหมาดที่สอง (อัศร์ หรือ อิชาอ์) คือเวลาของละหมาดที่หนึ่ง (ซุฮร์ และ มัฆริบ) ด้วย ในกรณีมีอุปสรรคที่ได้รับการผ่อนปรน
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวในหนังสือของท่านว่า “เพราะเหตุนี้ปราชญ์ส่วนมาก -เช่น มาลิก อัช-ชาฟิอีย์ อะห์มัด - มีความเห็นว่าเมื่อประจำเดือนหมดในช่วงสุดท้ายของกลางวัน เธอจะต้องละหมาดทั้งซุฮร์และอัศร์ และเมื่อเลือดหมดในช่วงสุดท้ายของกลางคืน เธอก็จะต้องละหมาดทั้งมัฆริบและอิชาอ์ ดังที่มีรายงานจากอับดุรเราะห์มาน บิน เอาฟฺ , อบู ฮุร็อยเราะฮฺ และ อิบนุ อับบาส เพราะช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เป็นเวลาร่วมกันของละหมาดทั้งสองในกรณีที่มีอุปสรรค
ดังนั้น เมื่อเลือดหมดในช่วงสุดท้ายของกลางวัน เวลาของละหมาดซุฮร์ก็ยังเหลืออยู่ เธอจะต้องละหมาดซุฮร์ด้วยก่อนที่จะละหมาดอัศร์ และหากเลือดหยุดในช่วงสุดท้ายของกลางคืน เวลาของละหมาดมัฆริบก็เหลืออยู่ในยามที่มีอุปสรรค ดังนั้น เธอจะต้องละหมาดมัฆริบด้วยก่อนที่จะละหมาดอิชาอ์" (อัล-ฟะตาวา : 22/434)
ส่วนในกรณีที่เมื่อเข้าเวลาละหมาดแล้ว แต่เธอยังไม่ได้ละหมาด หลังจากนั้น เธอมีประจำเดือนหรือมีเลือดหลังคลอดบุตร ตามทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่า คือไม่จำเป็นต้องละหมาดชดใช้
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวในหนังสือมัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา (23/335) ในประเด็นนี้ว่า “สิ่งที่ปรากฏชัดเจนที่สุดในหลักฐาน คือ ทัศนะของอบู หะนีฟะฮฺ และมาลิก ที่เห็นว่าเธอไม่จำเป็นต้องชดใช้ เพราะการชดใช้นั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นก็ต่อเมื่อมีคำสั่งใช้ และตรงจุดนี้ไม่มีคำสั่งใดๆ ให้ละหมาดชดใช้ และเพราะการล่าช้าของเธอได้รับการอนุโลม ดังนั้น เธอจึงไม่ใช่ผู้ที่ละเลย ส่วนผู้ที่นอนหลับหรือผู้ลืม -แม้เขาไม่ใช่ผู้ที่ละเลย- แท้จริง ละหมาดของเขาไม่ใช่การชดใช้ แต่นั่นคือเวลาละหมาดของเขา เมื่อตื่นขึ้นมาหรือเมื่อนึกได้ก็ต้องละหมาดทันที"
สอง เลือดเสีย (อิสติหาเฎาะฮฺ)
1. บทบัญญัติหรือข้อชี้ขาดเกี่ยวกับเลือดเสีย
เลือดเสีย คือ เลือดที่ไหลออกมาโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ในลักษณะที่ออกบ่อยๆ จากเส้นเลือดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “อัล-อาซิล" (เป็นการเปรียบเปรยของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แปลว่า ก่อกวนหรือตำหนิ) และเลือดประเภทนี้มีความคลุมเครือ อันเนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับเลือดประจำเดือน
ดังนั้น เมื่อเลือดไหลออกมาตลอดเวลาหรือเกินเวลาปกติแล้ว จะถือว่าเลือดไหนเป็นเลือดประจำเดือนและเลือดไหนเป็นเลือดเสีย ซึ่งถ้ามีเลือดนี้ต้องไม่งดเว้นจากการถือศีลอดและต้องละหมาดตามปกติด้วย เพราะผู้ที่มีเลือดเสียนั้นมีหุก่มเหมือนกับผู้หญิงที่สะอาดจากรอบเดือน
ดังนั้น ผู้ที่มีเลือดเสีย จะมี 3 ลักษณะด้วยกัน
ลักษณะที่หนึ่ง สตรีที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอก่อนที่จะมีเลือดเสีย เช่น ประจำเดือนมา 5 วัน หรือ 8 วัน เป็นต้น ไม่ว่าจะมาตอนต้นเดือนหรือกลางเดือน และเธอก็รู้ดีถึงจำนวนวันเวลาของประจำเดือนปกติที่มาเป็นประจำ เธอจะงดละหมาดและละเว้นการถือศีลอดตามจำนวนวันและเวลาที่ประจำเดือนเคยมาเป็นปกติ เพราะถือว่าวันเวลาดังกล่าวคือประจำเดือนของเธอ หลังจากนั้นเธอก็จะต้องอาบน้ำชำระล้างร่างกาย แล้วละหมาด ส่วนเลือดที่ยังเหลืออยู่นั้นถือว่าเป็นเลือดเสีย เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวกับอุมมุ หะบีบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
«امْكُثِي قَدْرَ مَا كَانَتْ تَحْبِسُكِ حَيْضَتُكِ ثُمَّ اغْتَسِلِي وصَلِّي»
ความว่า “จงงดละหมาดตามระยะเวลาที่เธอมีประจำเดือน จากนั้นจงอาบน้ำชำระร่างกายและจงละหมาด" (บันทึกโดยมุสลิม : 757)
และท่านยังได้กล่าวแก่ฟาติมะฮฺ บินตุ อบี หุบัยช์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
«إِنَّمَا ذَلِكِ عِرْقٌ وَلَيْسَ بِحَيْضٍ ، فَإِذَا أَقْبَلَتْ حَيْضَتُكِ فَدَعِي الصَّلَاةَ»
ความว่า “แท้จริงแล้ว อิสติหาเฎาะฮฺนั้นเป็นเลือดจากเส้นเลือดเส้นหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เลือดประจำเดือนแต่ประการใด ดังนั้น (ยังไม่ต้องงดละหมาดถ้ามีเลือดนี้) จนเมื่อประจำเดือนมา เธอจึงงดการละหมาดได้" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 228 และมุสลิม : 751)
ลักษณะที่สอง สตรีที่มีประจำเดือนไม่แน่นอน แต่เลือดของเธอสามารถแยกแยะได้ว่าเป็นประจำเดือนหรือเลือดเสีย โดยเลือดประจำเดือนจะมีลักษณะเป็นสีดำ เหนียว หรือมีกลิ่น ส่วนเลือดอีกชนิดเป็นสีแดง ไม่เหนียว และไม่มีกลิ่น ในสภาพเช่นนี้ให้ถือว่าเลือดที่มีลักษณะเป็นประจำเดือน ให้ถือว่าเป็นเลือดประจำเดือน เธอก็จะต้องงดการละหมาดและถือศีลอด ส่วนเลือดที่ไม่มีลักษณะของเลือดประจำเดือน ก็ให้ถือว่าเป็นเลือดเสีย เธอจะต้องชำระร่างกาย หลังจากหมดเลือดที่มีลักษณะของประจำเดือน จะต้องละหมาดและถือศีลอด เพราะถือว่าเธอสะอาด ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฟาติมะฮฺ บินตุ อบี หุบัยช์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
«إذَا كَانَ الْحَيْض فَإِنَّهُ دَمٌ أَسْوَدُ يُعْرَفُ فَأَمْسِكِي عَنِ الصَّلَاةِ ، فَإِذَا كَانَ الْآخَرُ فَتَوَضَّئِي وَصَلِّي»
ความว่า “เลือดประจำเดือนนั้นมีสีดำเป็นที่รับรู้กัน ดังนั้น เธอจงงดการละหมาด หากว่ามันไม่ใช่สีดำ (ไม่ใช่ประจำเดือน) เธอก็จงเอาน้ำละหมาดและละหมาดตามปกติ" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 286, อัน-นะสาอีย์ : 215, อิบนุ หิบบาน : 1348 และอัล-หากิม : 620 เห็นว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)
ในหะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า แท้จริงผู้ที่มีเลือดเสียจะต้องพิจารณาลักษณะของเลือด แล้วแยกแยะระหว่างเลือดเสียกับประจำเดือน และเลือดอื่นๆ
ลักษณะที่สาม สตรีที่มีประจำเดือนไม่แน่นอน และไม่สามารถแยกแยะระหว่างเลือดประจำเดือนกับเลือดอื่นๆ ได้ ในกรณีนี้ก็ให้เธองดละหมาดและศีลอด ตามเวลามากสุดของประจำเดือนปกติ คือ 6 หรือ 7 วัน เพราะจำนวน 6 หรือ 7 วันนั้นนับว่ามากสุดแล้วสำหรับเลือดประจำเดือนของผู้หญิงส่วนใหญ่ ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่หัมนะฮฺ บินตุ ญะห์ชิน ว่า
«إنَّمَا هي رَكْضَةٌ من رَكَضَاتِ الشَّيْطَانِ فَتَحَيَّضِى سِتَّةَ أَيَّامٍ أَوْ سَبْعَةَ أَيَّامٍ ثُمَّ اغْتَسِلِي فإِذَا اسْتَنْقَأْتِ فَصَلِّي ثَلاَثًا وَعِشْرِينَ لَيْلَةً أَوْ أَرْبَعًا وَعِشْرِينَ لَيْلَةً وَأَيَّامَهَا وَصُومِى وصلي فَإِنَّ ذَلِكَ يُجْزِئُكِ وَكَذَلِكَ فَافْعَلِى كَمَا تَحِيضُ النِّسَاءُ»
“แท้จริง สิ่งนั้นเป็นการรบกวนของชัยฏอนมารร้าย จงนับประจำเดือน 6 หรือ 7 วัน จากนั้นจงอาบน้ำชำระร่างกาย ครั้นเมื่อสะอาดแล้ว ก็จงละหมาด 24 หรือ 23 วัน จงถือศีลอดและจงละหมาด แท้จริงนั่นถือว่าใช้ได้แล้วสำหรับเธอ และจงปฏิบัติเหมือนกับบรรดาผู้ที่มีประจำเดือนทั่วไป" (บันทึกโดยอะห์มัด : 27463 , อบู ดาวูด : 278 , อัน-นะสาอีย์ : 354 , อิบนุ มาญะฮฺ : 622 และอัต-ติรมิซีย์ : 128 กล่าวว่า เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)
สรุป สตรีที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอตามวันเวลาที่แน่นอน ก็ให้ถือปฏิบัติตามนั้น ส่วนสตรีที่สามารถแยกแยะลักษณะของเลือดประจำเดือนและเลือดอื่นได้ ก็ให้ยึดเอาลักษณะของเลือดเป็นหลัก สำหรับสตรีที่มีจำนวนวันของประจำเดือนไม่ชัดเจนและไม่สามารถแยกลักษณะเลือดระหว่างประจำเดือนกับเลือดอื่นได้ ก็ให้นับว่าประจำเดือนของเธอเป็น 6 หรือ 7 วัน และนี่เป็นการปฏิบัติตามหะดีษทั้งสามที่กล่าวถึงผู้มีเลือดเสีย
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “เครื่องหมายหรือสัญญาณที่ถูกกล่าวถึงมี 6 ประการด้วยกัน บางทีใช้เลือดประจำเดือน เพราะถือว่าเป็นเครื่องหมายที่ชัดเจนมีน้ำหนักที่สุด เพราะเดิมทีมันเป็นที่ของประจำเดือนไม่ใช่เลือดอื่น และบางทีใช้การแยกแยะ เพราะว่าเลือดสีดำ เหนียว และมีกลิ่นน่าจะเป็นเลือดประจำเดือนมากกว่าเลือดสีแดง และบางครั้งยึดถือเอาส่วนมากของเลือดประจำเดือน เพราะหลักการเดิมในทางฟิกฮฺก็คือต้องเอาสิ่งเล็กน้อยไปผนวกกับส่วนใหญ่ที่ครอบคลุมกว่า ทั้งสามนี้คือเครื่องหมายที่มีหลักฐานรับรองจากสุนนะฮฺและการอิอฺติบารฺ(ประเภทหนึ่งของการกิยาส) จากนั้น ท่านก็ได้กล่าวถึงเครื่องหมายอื่นๆ และได้กล่าวในตอนท้ายว่า แนวทางที่ถูกต้องที่สุด คือ การยึดถือเอาเครื่องหมายต่างๆ ตามที่มีปรากฏในแบบฉบับ (สุนนะฮฺ) และให้ยกเลิกสิ่งอื่นจากนั้น..."
2. สิ่งที่ผู้มีเลือดเสียต้องปฏิบัติ
2.1 จะต้องอาบน้ำชำระล้างร่างกาย เมื่อสิ้นสุดเวลาของการมีประจำเดือน ดังที่มีการแจกแจงมาก่อนหน้านี้
2.2 ต้องชำระล้างอวัยวะเพศ เพื่อขจัดสิ่งที่ออกมาทุกครั้งก่อนละหมาด และให้ใช้สำลีหรืออื่นๆ ซับที่ช่องคลอดเพื่อระงับไม่ให้เลือดไหลออกมา และไม่ให้ไหลย้อยในเวลาละหมาด จากนั้นให้อาบน้ำละหมาดทุกครั้ง เมื่อเข้าเวลาละหมาด ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงสตรีที่มีเลือดเสียคนหนึ่งว่า
«تَدَعُ الصَّلَاةَ أَيَّامَ أَقْرَائِهَا ، ثُمَّ تَغْتَسِلُ وَتَوَضَّأ عند كُلِّ صَلَاةٍ»
ความว่า “เธอจะงดการละหมาดในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน หลังจากนั้น ให้ชำระร่างกายและอาบน้ำละหมาดทุกครั้งก่อนที่จะละหมาด" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 297, อิบนุ มาญะฮฺ : 625 และอัต-ติรมีซีย์ : 126 และกล่าวว่า เป็นหะดีษหะสัน)
และท่านยังได้กล่าวอีกว่า
«أَنْعَتُ لَكِ الْكُرْسُفَ فَإِنَّهُ يُذْهِبُ الدَّمَ»
ความว่า “ฉันแนะนำให้เธอใช้สำลี ซึ่งมันจะทำให้เลือดหยุดได้" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 287 , อัต-ติรมิซีย์ : 128 และอิบนุ-มาญะฮฺ : 622)
และสามารถที่จะใช้ผ้าอนามัยตามที่มีอยู่ในยุคปัจจุบันนี้แทนได้
สาม เลือดหลังคลอดบุตร (นิฟาส)
นิยาม และระยะเวลาของเลือดหลังคลอด
เลือดหลังคลอดบุตร คือ เลือดที่ออกมาจากมดลูก เนื่องจากการคลอดบุตรและหลังจากการคลอด เป็นเลือดที่ยังตกค้าง หรือเหลืออยู่ในมดลูกตอนตั้งครรภ์ แล้วมันค่อยทยอยไหลออกมาเมื่อคลอด
ส่วนเลือดที่ไหลออกมาก่อนคลอด ซึ่งมีสัญญาณของการคลอด ก็ถือว่าเป็นเลือดจากการคลอดบุตร โดยที่บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามได้ระบุไว้ว่าประมาณสองถึงสามวันก่อนคลอด และโดยปกติเลือดดังกล่าวจะไหลออกมาพร้อมกับการคลอดบุตร
การคลอดที่ถูกนับหรือเป็นมาตรฐาน คือคลอดสิ่งที่ปรากฏเป็นรูปร่างของมนุษย์ อย่างน้อยสุดมีอายุ 81 วัน และโดยมากหรือปกติแล้วคือ 3 เดือน
ดังนั้นหากแท้งก่อนเวลาดังกล่าว และมีเลือดออกมา ก็ไม่ถือว่าเป็นเลือดจากการคลอด จะต้องละหมาดและถือศีลอดเพราะเป็นเลือดเสีย ดังนั้น ให้ใช้บทบัญญัติและข้อชี้ขาดเดียวกับผู้มีเลือดเสีย
และโดยปกติแล้ว เวลามากสุดของเลือดหลังคลอด คือ 40 วัน เริ่มนับจากเวลาคลอดหรือก่อนคลอด 2 หรือ 3 วัน –ดังที่นำเสนอมาก่อนหน้า- เนื่องจากหะดีษจากอุมมุ สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ที่ว่า
كَانَتْ النُّفَسَاءُ تَجْلِسُ عَلَى عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَرْبَعِينَ يَوْمًا
ความว่า ในสมัยของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สตรีที่มีเลือดจากการคลอดบุตร จะงดจากการละหมาดและการถือศีลอดเป็นระยะเวลา 40 วัน (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 258 และคนอื่นๆ)
และบรรดาปวงปราชญ์มีมติเป็นเอกฉันท์ในเรื่องนี้ ดังที่อัต-ติรมิซีย์ และนักวิชาการท่านอื่นๆ ได้รายงานไว้
และหากเลือดหยุดไหลก่อน 40 วัน เธอจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายและจะต้องละหมาด เนื่องจากไม่มีกำหนดระยะเวลาน้อยสุดของเลือดจากการคลอดบุตร เพราะเวลาน้อยสุดมิถูกระบุไว้
และเมื่อเลยเวลา 40 วันแล้ว ถ้าหากตรงกับระยะเวลาของเลือดประจำเดือน ก็ให้ถือว่าเป็นเลือดประจำเดือน และหากไม่ตรงกับช่วงเวลาของเลือดประจำเดือนแต่เลือดยังไม่หยุด ก็ให้ถือว่าเป็นเลือดเสีย และต้องปฏิบัติศาสนกิจตามปกติ
และในกรณีที่เลือดไหลเกิน 40 วัน แต่ไม่ไหลต่อเนื่องและไม่ตรงกับประจำเดือน กรณีนี้นักวิชาการมีทัศนะความเห็นแตกต่างกัน
3.2 บทบัญญัติเกี่ยวกับเลือดหลังคลอดบุตร
บทบัญญัติเกี่ยวกับเลือดหลังคลอด ก็เหมือนกับบทบัญญัติเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ห้ามมีเพศสัมพันธ์ เช่นเดียวกับภรรยาที่มีประจำเดือน และอนุโลมให้หยอกล้อ หาความสุขอย่างอื่นได้
2. ห้ามถือศีลอด ละหมาด หรือเวียนรอบบัยตุลลอฮฮุ เช่นเดียวกับผู้ที่มีประจำเดือน
3. ห้ามสัมผัสหรืออ่านอัลกุรอาน ตราบใดที่ไม่เกรงว่าจะลืม
4. ต้องชดใช้การถือศีลอดที่ขาดในช่วงมีเลือดหลังคลอด เช่นเดียวกับคนที่มีประจำเดือน
5. ต้องอาบน้ำชำระร่างกายเมื่อเลือดหยุด
และหลักฐานในเรื่องนี้คือ
(1) จากอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
كَانَتْ النُّفَسَاءُ تَجْلِسُ عَلَى عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَرْبَعِينَ يَوْمًا
ความว่า ในสมัยของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สตรีที่มีเลือดจากการคลอดบุตร จะงดจากการละหมาดและการถือศีลอดเป็นระยะเวลา 40 วัน (โดยนักบันทึกอัต-ติรมิซีย์ 258, อิบนุมาญะฮฺ 648, อบู ดาวูด 312)
ท่านมัจญ์ดุดดีน ปู่ของอิบนุตัยมียะฮฺ ได้กล่าวในหนังสือของท่าน (อัล-มุลตะกอ : 1/184) ความหมายของหะดีษบทนี้คือ “เธอถูกสั่งให้งดจาการละหมาดและศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ทั้งนี้เพื่อมิให้คำพูดของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นเท็จ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ปกติแล้วผู้หญิงในยุคหนึ่งๆ จะมีประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดเท่ากัน"
(2) รายงานจากอุมมุ สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
كَانَتِ الْمَرْأَةُ مِنْ نِسَاءِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تَقْعُدُ فِي النِّفَاسِ أَرْبَعِينَ لَيْلَةً لَا يَأْمُرُهَا النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِقَضَاءِ صَلَاةِ النِّفَاسِ
ความว่า ภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้พักในขณะมีเลือดหลังคลอด 40 วัน โดยท่านไม่ได้สั่งให้เธอชดใช้ละหมาด ที่ขาดไปในช่วงนั้น (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 312)
เกร็ดความรู้
หากเลือดหยุดก่อนครบ 40 วัน แล้วเธอได้อาบน้ำชำระล้างร่างกาย ละหมาด และถือศีลอด หลังจากนั้นมีเลือดไหลอีกครั้งหนึ่งก่อนครบ 40 วัน ที่ถูกต้องแล้วให้ถือว่าเป็นเลือดจากการคลอดบุตร โดยที่เธอจะต้องงดการถือศีลอดและงดละหมาด ส่วนการถือศีลอดในช่วงที่สะอาดระหว่างนั้นก็ใช้ได้ ไม่ต้องชดใช้ (โปรดดูมัจญ์มูอฺฟะตาวา ของชัยค์มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม เล่มที่ 2 หน้าที่ 102 , อัล- ฟะตาวา ของชัยค์อับดุลอะซีซ บินบาซ ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารอัด-ดะวะฮฺ เล่มที่ 1/44 , หาชิยะฮฺของอิบนุ กอสิม อะลา ชัรห์ อัซ-ซาด เล่มที่ 1/405, ริสาละฮฺ ฟี อัด-ดิมาอ์ อัฏ-เฏาะบิอียะฮฺ ลิ อัน- นิสาอ์ หน้า 55-56 และอัล-ฟะตาวา อัส-สะอฺดียะฮฺ หน้าที่ 137)
เกร็ดความรู้อื่นๆ
ชัยค์อับดุรเราะห์มาน อิบนุ อัส-สะอฺดีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “เป็นที่ประจักษ์ว่าเลือดจากการคลอดบุตรนั้นมีสาเหตุจากการคลอดบุตร ส่วนเลือดเสียนั้น คือเลือดที่ไม่ปกติ เพราะเจ็บป่วยและอื่นๆ และประจำเดือนคือเลือดปกติ" (อิรชาด อุลิล อับศอร วัล อัลบาบ หน้าที่ 25)
การรับประทานยา
อนุญาตให้รับประทานยาเพื่อระงับเลือดประจำเดือนได้ หากไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นเมื่อได้รับประทานแล้ว และประจำเดือนได้หยุด จงถือศีลอด ละหมาด และเฏาะวาฟรอบบัยตุลลอฮฺ และปฏิบัติสิ่งอื่นๆ ได้เหมือนกับผู้ที่มีความสะอาดทั่วไป
บทบัญญัติว่าด้วยการทำแท้ง
โอ้สตรีผู้ศรัทธาเอ๋ย เธอจะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้างขึ้นมาในครรภ์ของเธอ ดังนั้นเธออย่าได้ปกปิดสิ่งนั้น อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿وَلَا يَحِلُّ لَهُنَّ أَن يَكۡتُمۡنَ مَا خَلَقَ ٱللَّهُ فِيٓ أَرۡحَامِهِنَّ إِن كُنَّ يُؤۡمِنَّ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِۚ ﴾ [البقرة: ٢٢٨]
ความว่า “และไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับพวกเธอในการที่พวกเธอจะปกปิดสิ่งที่อัลลอฮฺได้สร้างขึ้นมาในมดลูกของพวกเธอ หากว่าพวกเธอนั้นเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสุดท้าย" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 228)
และเธออย่าได้ใช้เล่ห์กลในการทำแท้ง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการอันใดก็ตาม แท้จริงอัลลอฮฺได้ผ่อนปรนให้เธอละศีลอดในเดือนเราะมะฎอนได้ เมื่อการถือศีลอดเป็นความลำบากในขณะที่เธอตั้งครรภ์หรือการถือศีลอดทำให้เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ และแท้จริงการทำแท้งที่แพร่หลายในสมัยนี้นั้น เป็นสิ่งที่ต้องห้าม
และหากสิ่งที่อยู่ในครรภ์ถูกเป่าวิญญาณแล้ว และได้ตายไปด้วยสาเหตุของการทำแท้ง แท้จริงนั่นถือว่าเป็นการฆ่าชีวิตโดยไม่ชอบธรรม ซึ่งอัลลอฮฺทรงห้ามและจะติดตามด้วยความรับผิดชอบเรื่องสินไหม ตามอัตราที่ถูกกำหนด และ -ในทัศนะของผู้รู้บางคน- ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ (ค่าไถ่โทษ) คือ การปล่อยทาสหญิงที่ศรัทธา หากไม่สามารถก็ให้ถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน และผู้รู้บางคนได้เรียกการกระทำนี้ว่า “การฝังทั้งเป็นประเภทเล็ก"
ชัยค์มุหัมมัด อิบนุ อิบรอฮีม เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวในหนังสือมัจญ์มูอฺฟะตาวา เล่มที่ 11 หน้าที่ 105 ว่า “การหาช่องทางที่จะทำแท้งขณะที่ไม่แน่ใจว่าเด็กตายแล้วหรือยังนั้นไม่เป็นที่อนุญาต แต่ในกรณีที่มั่นใจว่าเด็กเสียชีวิตแล้วก็สามารถทำแท้งได้"
สภานักวิชาการระดับสูงของประเทศซาอุดิอาระเบียมีมติ เลขที่ 140 ลงวันที่ 20/6/1407 ดังต่อไปนี้
1. ไม่อนุญาตให้ทำแท้งไม่ว่าในระยะใด ยกเว้นจะมีข้อผ่อนผันทางบทบัญญัติ และอยู่ในขอบเขต(กรอบ) ที่จำกัดยิ่ง
2. ไม่อนุญาตให้ทำแท้งในช่วงแรก -คือระยะครรภ์ 40 วันแรก- หากการกระทำดังกล่าวเนื่องจากกลัวความยากลำบากในการเลี้ยงดูบุตร กลัวว่าไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าศึกษาเล่าเรียน หรือกลัวถึงอนาคตของพวกเขา หรือจำนวนลูกที่มีอยู่พอเพียงแล้ว
3. ไม่อนุญาตให้ทำแท้งเมื่อในครรภ์เป็นก้อนเลือด หรือก้อนเนื้อแล้ว นอกจากกรณีที่คณะแพทย์ซึ่งเชื่อถือได้ยืนยันว่าจะเป็นอันตรายต่อแม่ เช่นเกรงว่าจะเกิดอันตรายถึงชีวิตหากให้อยู่ในครรภ์ต่อไป ซึ่งในกรณีเช่นนี้อนุญาตให้ทำแท้งได้ ทั้งนี้หลังจากใช้เครื่องมือทุกชนิดเพื่อป้องกันอันตรายเหล่านั้นแล้ว
4. หลังจากระยะที่ 3 (เป็นก้อนเนื้อ) และหลังจากครบ 4 เดือนของการตั้งครรภ์ ไม่อนุญาตให้ทำแท้ง ยกเว้นจะมีคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเชื่อถือได้ยืนยันว่าการอุ้มท้องต่อไปจะเป็นเหตุให้มารดาเสียชีวิต ทั้งนี้หลังจากใช้เครื่องมือทุกชนิดเพื่อช่วยชีวิตของเด็กในครรภ์แล้ว และการที่อนุญาตให้ทำแท้งตามเงื่อนไขต่างๆ นั้น ก็ให้วางอยู่บนหลักการขจัดอันตรายที่ยิ่งใหญ่กว่าจากอันตรายทั้งสองด้าน (อันตรายต่อชีวิตของแม่และเด็ก) และเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าจากประโยชน์ทั้งสอง (เพื่อชีวิตแม่และเด็ก)
จากนั้นสภานักวิชาการระดับสูง ได้สั่งเสียให้มีความ ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และให้มีการไตร่ตรองพิจารณาในเรื่องนี้ อัลลอฮฺเป็นผู้ที่ประทานความสำเร็จ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่ท่านนบีมุหัมมัด บรรดาวงศ์วาน และบรรดาอัครสาวกของท่านด้วยเทอญ
ชัยค์มุหัมมัด อิบนุ อุษัยมีน กล่าวไว้ในหนังสือ ริสาละฮฺ ฟี อัด-ดิมาอ์ อัฏ-เฏาะบิอียะฮฺ ลิ อัน-นิสาอ์ หน้าที่ 60 ว่า “หากการทำแท้งโดยมีเจตนาที่จะทำลายเด็กที่อยู่ในครรภ์หลังจากถูกเป่าวิญญาณเข้าไปในเด็กแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งต้องห้าม โดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ เพราะเป็นการฆ่าชีวิตโดยอธรรม ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามอัลกุรอาน หะดีษ และมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์"
และอิมามอิบนุ อัล-เญาซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสืออะห์กาม อัน-นนิสาอ์ หน้าที่ 108-109 ว่า “เมื่อจุดประสงค์ของการแต่งงานคือการมีลูก และไม่ได้หมายความว่าน้ำ (อสุจิ) ทั้งหมดจะเป็นลูก ดังนั้นเมื่อเด็กก่อตัวขึ้นเป็นรูปร่างก็ถือว่าบรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนั้นการเจตนาทำแท้งจึงค้านกับเป้าหมายของการแต่งงาน เว้นแต่ว่าการทำแท้งได้เกิดขึ้นในตอนแรกของการตั้งครรภ์ ก่อนที่จะมีการเป่าวิญญาณเข้าไป ซึ่งเป็นความผิดที่ใหญ่หลวง เพราะกำลังก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ครบถ้วนของการเป็นมนุษย์ แต่อันนี้จะมีความผิดน้อยกว่ากรณีที่มีการเป่าวิญญาณเข้าไปแล้ว และการทำแท้งหลังจากการเป่าวิญญาณเสมือนกับการฆ่าชีวิตศรัทธาชน โดยที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَإِذَا ٱلۡمَوۡءُۥدَةُ سُئِلَتۡ ٨ بِأَيِّ ذَنۢبٖ قُتِلَتۡ ٩ ﴾ [التكوير: ٨، ٩]
ความว่า “และเมื่อทารกหญิงที่ถูกฝังทั้งเป็นถูกถาม ด้วยความผิดอันใดเขาจึงถูกฆ่า" (อัต-ตักวีร : 8-9)
โอ้สตรีผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺเถิด และอย่าได้กระทำความผิดนี้โดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์อันใดก็ตาม และอย่าได้หลงคำโฆษณาชวนเชื่อที่หลงผิด หรือการเลียนแบบที่จะนำไปสู่ความเสียหาย ซึ่งไม่เป็นที่พึงประสงค์ของสติปัญญาหรือศาสนาแต่อย่างใด
บทที่ 4 บัญญัติว่าด้วยอาภรณ์และหิญาบ
หนึ่ง คุณสมบัติของอาภรณ์สำหรับสตรีผู้ศรัทธา
1. จะต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกายจากการมองของผู้ชายที่แต่งงานกันได้ และไม่เปิดเผยแก่ผู้ชายที่แต่งงานกันไม่ได้ (ญาติสนิทที่เป็นมะห์ร็อม)นอกจากสิ่งที่เปิดเผยตามประเพณีปฏิบัติ เช่น ใบหน้า มือทั้งสอง และเท้าทั้งสอง
2. มีความหนา สามารถปกปิดสีของผิวหนังได้
3. ไม่รัดรูป จนทำให้เห็นสัดส่วนอย่างชัดเจน ดังในบันทึกของมุสลิม
«صِنْفَان مِنْ أَهْلِ النَّارِ لَمْ أَرَهُمَا: قَوْمٌ مَعَهُمْ سِيَاطٌ كَأَذْنَابِ الْبَقَرِ يَضْرِبُونَ بِهَا النَّاسَ. وَنِسَاءٌ كَاسِيَاتٌ عَارِيَاتٌ مُمِيلَاتٌ مَائِلَاتٌ، رُؤُوسُهُنَّ كَأَسْنِمَةِ الْبُخْتِ الْمَائِلَةِ. لَا يَدْخُلْنَ الْجَنَّةَ وَلَا يَجِدْنَ رِيحَهَا، وَإِنَّ رِيحَهَا لَيُوجَدُ مِنْ مَسِيرَةِ كَذَا وَكَذَا»
ความว่า “ชาวนรกสองจำพวกที่ฉันไม่เคยเห็น หนึ่งคือพวกเขามีแส้คล้ายกับหางวัวใช้เฆี่ยนตีผู้คน และอีกกลุ่มคือบรรดาผู้หญิงที่ใส่อาภรณ์ไม่มิดชิด ยั่วยวน ศีรษะของพวกนางคล้ายกับโหนกอูฐ พวกนางจะไม่ได้เข้าสวรรค์ และไม่ได้ดมกลิ่นของสวรรค์ ทั้งที่กลิ่นของมันจะสัมผัสได้ในระยะเท่านั้นเท่านี้" (บันทึกโดยมุสลิม : 5547)
อิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้อธิบายคำว่า “ปกปิดไม่มิดชิด" คือ การแต่งกายด้วยอาภรณ์ที่ไม่ปกปิดเรือนร่าง ดูเผินๆ คือสวมใส่แต่ในความเป็นจริงเหมือนกับเปลือยกาย ดังเช่นคนสวมใส่เสื้อผ้าที่บางจนเห็นผิวหนัง หรือรัดรูปจนเห็นสัดส่วน เช่น สะโพก แขน และอื่นๆ และแท้จริงแล้วอาภรณ์ของผู้หญิงคือสิ่งที่ปกปิด ไม่เปิดเผยเรือนร่างและสัดส่วน เพราะว่าอาภรณ์ของผู้หญิงหนาและกว้าง (ใหญ่)" (มัจญ์มูอฺฟะตาวา : 22/146)
4. ไม่เลียนแบบการแต่งกายของผู้ชาย เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สาปแช่งผู้หญิงที่ทำตัวเป็นผู้ชายและผู้ชายที่ทำตัวเป็นผู้หญิง และการเลียนแบบผู้ชายในการแต่งกายนั้น คือสวมใส่เสื้อผ้าที่เป็นชุดเฉพาะสำหรับผู้ชายตามจารีตประเพณี ทั้งในด้านชนิดและลักษณะของเสื้อผ้า
อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “ความแตกต่างระหว่างเสื้อผ้าของผู้ชายและผู้หญิงนั้น ให้กลับไปพิจารณาสิ่งที่เหมาะสมของแต่ละคน ซึ่งเหมาะสมกับคำสั่งที่ให้ผู้หญิงปกปิดและสวมใส่หิญาบ มิใช่การเผยโฉม ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีบัญญัติให้เธอใช้เสียงในการอะซาน การกล่าวคำตัลบียะฮฺในการทำหัจญ์และอุมเราะฮฺ ไม่ขึ้นไปบนภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺ ไม่ใส่ชุดอิหฺรอมเหมือนผู้ชาย เพราะผู้ชายต้องเปิดศีรษะ ต้องไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่ใช้กันตามปกติ ที่เย็บเป็นส่วนๆ ตามอวัยวะ เช่น เสื้อ กางเกง หมวก และรองเท้าหุ้มข้อ... ส่วนผู้หญิงไม่มีอาภรณ์ใดที่ถูกห้าม เพราะเธอถูกสั่งให้ปกปิด เพียงแต่ห้ามเธอใช้ผ้าคลุมหน้า ถุงมือ เพราะนั่นเป็นอาภรณ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาตามขนาดของอวัยวะ และเธอก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มัน ... แต่เธอปิดหน้ามิให้ผู้ชายมองด้วยผ้าอื่นแทน ... และเมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า อาภรณ์ผู้ชายและผู้หญิงต้องแตกต่างกัน อาภรณ์ผู้หญิงคือสิ่งที่มีเป้าหมายใช้ในการปกปิด แก่นแท้ในเรื่องนี้ย่อมประจักษ์และยังเป็นที่ประจักษ์อีกว่า หากสิ่งนั้นเป็นอาภรณ์ของผู้ชาย - โดยส่วนมาก- ก็ห้ามผู้หญิงสวมใส่ ... และถ้าหากอาภรณ์นั้นปกปิดไม่มิดชิดและยังคล้ายคลึงกับอาภรณ์ผู้ชาย ก็ยิ่งห้ามสวมใส่มากขึ้นไปอีก เพราะน้ำหนักของเหตุผลดังกล่าวทั้งสองด้าน วัลลอฮุอะอฺลัม" (มัจญ์มูอฺฟะตาวา : 22/ 148,149,155 )
5. ในอาภรณ์ของผู้หญิง จะต้องไม่มีเครื่องประดับที่ดึงดูดความสนใจ เมื่อเธอต้องออกจากบ้าน เพื่อเธอจะไม่อวดโฉมด้วยเครื่องประดับ
สอง นิยามของหิญาบ พร้อมหลักฐานและประโยชน์
หิญาบ คือ การปกปิดเรือนร่างจากผู้ชายที่สามารถแต่งงานกันได้ ดังหลักฐาน
﴿وَلَا يُبۡدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلَّا مَا ظَهَرَ مِنۡهَاۖ وَلۡيَضۡرِبۡنَ بِخُمُرِهِنَّ عَلَىٰ جُيُوبِهِنَّۖ وَلَا يُبۡدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلَّا لِبُعُولَتِهِنَّ أَوۡ ءَابَآئِهِنَّ أَوۡ ءَابَآءِ بُعُولَتِهِنَّ أَوۡ أَبۡنَآئِهِنَّ أَوۡ أَبۡنَآءِ بُعُولَتِهِنَّ أَوۡ إِخۡوَٰنِهِنَّ﴾ [النور : ٣١]
ความว่า “และพวกเธอจะไม่แสดงเครื่องประดับของพวกเธอนอกจากสิ่งที่เปิดเผย (อยู่ภายนอก) เท่านั้น และจงดึงผ้าคลุมศีรษะมาปิดหน้าอกเสื้อของพวกเธอ และอย่าแสดงเครื่องประดับนอกจากแก่สามี พ่อ พ่อของสามี ลูกของพวกเธอ ลูกของสามี หรือพี่น้องชายของเธอ" (อัน-นูรฺ : 31)
และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَإِذَا سَأَلۡتُمُوهُنَّ مَتَٰعٗا فَسَۡٔلُوهُنَّ مِن وَرَآءِ حِجَابٖۚ ﴾ [الأحزاب : ٥٣]
ความว่า “และเมื่อพวกท่านต้องการขอสิ่งใดจากพวกเธอ จงขอจากด้านหลังของสิ่งกำบัง" (อัล-อะห์ซาบ : 53)
“สิ่งกำบัง" คือ สิ่งที่ผู้หญิงใช้ปกปิดเรือนร่าง เช่น กำแพง ประตู หรืออาภรณ์ บทบัญญัตินี้ครอบคลุมผู้ศรัทธาทุกคน แม้ว่าโองการนี้ได้กล่าวถึงภรรยาของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นการเฉพาะก็ตาม เนื่องจากอัลลอฮฺได้บอกเหตุผลว่า
﴿ذَٰلِكُمۡ أَطۡهَرُ لِقُلُوبِكُمۡ وَقُلُوبِهِنَّۚ ﴾ [الأحزاب : ٥٣]
ความว่า “นั่นเป็นความบริสุทธิ์ยิ่งสำหรับจิตใจของพวกท่านและจิตใจของพวกเธอ" (อัล-อะห์ซาบ : 53)
และนี่คือเหตุผลที่ครอบคลุมทุกคน เมื่อเหตุผลครอบคลุมบทบัญญัติก็ย่อมครอบคลุมเช่นกัน
และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِيُّ قُل لِّأَزۡوَٰجِكَ وَبَنَاتِكَ وَنِسَآءِ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ يُدۡنِينَ عَلَيۡهِنَّ مِن جَلَٰبِيبِهِنَّۚ ﴾ [الأحزاب : ٥٩]
ความว่า “โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺเอ๋ย จงกล่าวแก่บรรดาภรรยาของเจ้า บรรดาลูกสาวของเจ้า และภรรยาของบรรดาผู้ศรัทธา ให้พวกเขาดึงเสื้อคลุมลงมาปกปิดเรือนร่างของพวกเขา" (อัล-อะห์ซาบ : 59)
อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า เสื้อคลุม (ญิลบาบ) คือผ้าผืนใหญ่ ซึ่งปิดศีรษะและทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งอิบนุ มัสอูด และท่านอื่นๆ เรียกมันว่า ริดาอ์ แต่คนทั่วๆ ไปจะเรียกมันว่า อิซาร ท่านอบู อุบัยดะฮฺได้กล่าวว่า แท้จริง ผู้หญิงจะดึงเสื้อคลุมลงมาทางศีรษะ แล้วไม่เปิดส่วนใดนอกจากตาเท่านั้น และนิกอบก็อยู่ในประเภทของเสื้อคลุม(มัจญ์มูอฺฟะตาวา : 22/110-111)
และส่วนหนึ่งจากหลักฐานที่บอกว่าจำเป็นต้องปิดใบหน้า มิให้ผู้ชายที่แต่งงานกันได้มอง คือหะดีษจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา
«كَانَ الرُّكْبَانُ يَمُرُّونَ بِنَا وَنَحْنُ مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُحْرِمَاتٌ فَإِذَا حَاذَوْا بِنَا سَدَلَتْ إِحْدَانَا جِلْبَابَهَا مِنْ رَأْسِهَا عَلَى وَجْهِهَا فَإِذَا جَاوَزُونَا كَشَفْنَاهُ»
ความว่า “ขบวนของผู้ชายได้ผ่านมาทางพวกเรา ขณะที่เราอยู่ในพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ (ซึ่งพวกเธอเปิดใบหน้า) พร้อมกับท่าน เราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อพวกเขาอยู่ตรงพวกเรา คนหนึ่งจากพวกเราได้ปล่อยเสื้อคลุมจากทางศรีษะมาปิดหน้า เมื่อพวกเขาผ่านไป เราก็ดึงออก" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 1833 และ อิบนุ มาญะฮฺ : 2935)
หลักฐานที่บ่งบองถึงความจำเป็นต้องปิดหน้านั้นมีมากมาย และฉันจะแนะนำให้เธอได้อ่านหนังสือของอิบนุ ตัยมียะฮฺ “การแต่งกายของสตรีในการละหมาด" และหนังสือของชัยค์ อับดุลอะซีซ บิน บาซ “การเผยโฉมและการสวมใส่หิญาบ" และของชัยค์หะมูด บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์ ที่ชื่อ “อัศ-ศอริม อัล-มัชฮูรฺ อะลา อัล-มัฟตูนีน บิ อัส-สุฟูร" และหนังสือของชัยค์มุหัมมัด อัล-อุษัยมีน “อัล-หิญาบ" ซึ่งมีเนื้อหาอย่างพอเพียง
พึงทราบเถิด โอ้สตรีผู้ศรัทธาเอ๋ย แท้จริงบรรดาผู้รู้ที่อนุโลมให้เปิดหน้านั้น ทั้งๆ ที่ทัศนะของพวกเขาขาดน้ำหนักแล้ว พวกเขายังได้วางเงื่อนไขว่า อนุโลมให้เปิดหน้าได้ เมื่อปราศจากสิ่งที่นำสู่การยั่วยวน และการยั่วยวนเป็นสิ่งที่เลี่ยงยาก โดยเฉพาะยุคนี้ ซึ่งผู้คนไม่ค่อยเคร่งครัดในศาสนา ขาดความละอาย และคนที่เรียกร้องสู่การยั่วยวนมีจำนวนมาก และผู้หญิงก็ชอบแต่งหน้ากันอย่างแพร่หลายซึ่งมักจะนำไปสู่ฟิตนะฮฺได้ ดังนั้นเธอจงหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นเถิด จงสวมใส่หิญาบที่ปกป้องรักษามิให้เกิดการยั่วยวน และไม่มีผู้รู้คนใดเลย -ในอดีตและปัจจุบัน- อนุโลมให้ผู้หญิงกระทำสิ่งที่ก่อให้เกิดการยั่วยวน
ผู้หญิงบางคนตีสองหน้า เมื่ออยู่ในสังคมที่สวมใส่หิญาบก็จะสวมใส่ด้วย และจะไม่สวมใส่หากอยู่ในอีกสังคมหนึ่ง บางคนจะสวมใส่เมื่ออยู่ในสถานที่ทั่วไป แต่เมื่อเข้าห้างร้าน โรงพยาบาล หรือร้านขายเครื่องประดับ หรือคุยกับช่างตัดเสื้อ ก็จะเปิดหน้า มือ เสมือนอยู่กับสามี หรือญาติที่แต่งงานกันไม่ได้
จงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงเราเห็นผู้หญิงบางคนที่เดินทางมายังประเทศของเรา พวกเขาจะไม่สวมใส่หิญาบ นอกจากเมื่อลงจากเครื่องบินเท่านั้น คล้ายกับว่าหิญาบเป็นเพียงวิถีปฏิบัติเท่านั้น ไม่ได้เป็นบทบัญญัติแต่ประการใด
โอ้สตรีผู้ศรัทธา แท้จริงหิญาบจะปกป้องเธอจากการมองที่ถูกอาบยาพิษ ซึ่งเป็นการมองของผู้ชายที่หัวใจเป็นโรคและคนชั่ว และจะตัดความใคร่อันเลวร้ายของพวกเขา ดังนั้นจงสวมใส่หิญาบเถิด และอย่าสนใจคำเรียกร้องที่ให้เปลื้องหิญาบ หรือไม่ให้ความสำคัญกับหิญาบ เพราะพวกเขาไม่หวังดีต่อเธอ ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَيُرِيدُ ٱلَّذِينَ يَتَّبِعُونَ ٱلشَّهَوَٰتِ أَن تَمِيلُواْ مَيۡلًا عَظِيمٗا ٢٧ ﴾ [النساء : ٢٧]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำต้องการให้พวกเจ้าหันเหออกห่างไปอย่างมากมายจากแนวทางความถูกต้อง" (อัน-นิสาอ์ : 27)
บทที่ 5 บัญญัติว่าด้วยการละหมาดของผู้หญิง
จงรักษาละหมาดตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ โดยให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและองค์ประกอบ อัลลอฮฺได้ตรัสแก่บรรดาภรรยาของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
﴿وَأَقِمۡنَ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتِينَ ٱلزَّكَوٰةَ وَأَطِعۡنَ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥٓۚ ﴾ [الأحزاب : ٣٣]
ความว่า “พวกเธอจงรักษาละหมาด จงจ่ายซะกาต จงเชื่อฟัง อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์" (อัล-อะห์ซาบ : 33)
และนี่เป็นคำสั่งแก่สตรีทุกคน เพราะการละหมาดเป็นหลักการข้อที่สองจากโครงสร้างของอิสลาม อีกทั้งยังเป็นเสาหลักของศาสนา การละทิ้งละหมาดเป็นพฤติกรรมกุฟรฺ/การปฏิเสธศรัทธาที่จะทำให้สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม เพราะไม่มีศาสนาและไม่มีอิสลามสำหรับคนที่ไม่ละหมาดไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง
การปล่อยให้เวลาละหมาดหมดไปโดยไม่มีอุปสรรคที่ได้รับการอนุโลมนั้นคือการละเลย อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿۞فَخَلَفَ مِنۢ بَعۡدِهِمۡ خَلۡفٌ أَضَاعُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَٱتَّبَعُواْ ٱلشَّهَوَٰتِۖ فَسَوۡفَ يَلۡقَوۡنَ غَيًّا ٥٩ إِلَّا مَن تَابَ وَءَامَنَ وَعَمِلَ صَٰلِحٗا فَأُوْلَٰٓئِكَ يَدۡخُلُونَ ٱلۡجَنَّةَ وَلَا يُظۡلَمُونَ شَيۡٔٗا ٦٠ ﴾ [مريم: ٥٩، ٦٠]
ความว่า “แล้วคนชั่วก็มาแทนที่พวกเขา ซึ่งพวกเขาละเลยการละหมาด และปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ แน่นอนพวกเขาจะพบกับความขาดทุนและการลงโทษในนรก นอกจากผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว ได้ศรัทธา และประกอบความดี พวกเขาก็จะได้เข้าสวรรค์ และพวกเขาจะมิถูกอธรรมแม้เพียงเล็กน้อย" (มัรยัม : 59-60)
อิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้นำเสนอคำอธิบายจากนักอธิบายจำนวนหนึ่ง-ในตำราตัฟสีรของท่านว่า-คำว่าละเลยละหมาด คือการปล่อยจนหมดเวลา โดยละหมาดหลังจากเลยเวลาไปแล้ว ส่วนคำว่า “ฆ็อยย์" ที่ถูกระบุในโองการดังกล่าวว่าพวกเขาจะได้พบ ก็คือความขาดทุน และเป็นนรกขุมหนึ่งซึ่งอยู่ในญะฮันนัม
บทบัญญัติและข้อชี้ขาดเฉพาะเกี่ยวกับการละหมาดของสตรีมีหลายประการ ดังนี้
1. ไม่มีการอะซานและอิกอมะฮฺ เนื่องจากการอะซานต้องใช้เสียงดัง ขณะเดียวกันไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเปล่งเสียงดัง การ อะซานและอิกอมะฮฺของผู้หญิงนั้นใช้ไม่ได้ อิบนุ กุดามะฮฺกล่าวว่า “ในประเด็นนี้ เราไม่พบว่าปวงปราชญ์มีทัศนะที่ขัดแย้งกันเลย" (อัล-มุฆนีย์ : 2/26)
2. ต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกายนอกจากใบหน้า ส่วนมือและเท้านั้นปวงปราชญ์มีทัศนะต่างกัน และทั้งหมดนี้เฉพาะในกรณีที่ไม่มีผู้ชายที่แต่งงานกันได้มองเห็น แต่หากมีผู้ชายที่แต่งงานกันได้เห็นอยู่ด้วย ก็จำเป็นต้องปิดทุกส่วน ดังที่ต้องปิดนอกละหมาด ดังนั้นในละหมาดก็ต้องปิดศีรษะ บ่า และทุกส่วนของร่างกาย จนกระทั่งหลังเท้าทั้งสองด้วย ดังรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا يَقْبَلُ اللَّهُ صَلَاة حَائِضِ إِلَّا بِخِمَارٍ»
ความว่า “อัลลอฮฺจะไม่ตอบรับการละหมาดของสตรีที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว นอกจากต้องมีผ้าคลุม" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 641, อัต-ติรมิซีย์ : 377 และอิบนุ มาญะฮฺ : 655)
คำว่า "ผ้าคลุม" คือ ผ้าที่คลุมศีรษะและต้นคอ
และมีรายงานจากอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
أَنَّهَا سَأَلَتْ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَتُصَلِّي الْمَرْأَةُ فِي دِرْعٍ وَخِمَارٍ لَيْسَ عَلَيْهَا إِزَارٌ قَالَ : «إِذَا كَانَ الدِّرْعُ سَابِغًا يُغَطِّي ظُهُورَ قَدَمَيْهَا»
ความว่า แท้จริงเธอได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า ผู้หญิงจะละหมาดโดยใส่เสื้อและผ้าคลุม โดยไม่ใส่ผ้านุ่งได้หรือไม่? ท่านเราะสูลตอบว่า “ได้ เมื่อเสื้อนั้นยาวพอที่จะปิดหลังเท้าของเธอ" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 640)
หะดีษทั้งสองบทนี้บ่งชี้ว่า เธอจะต้องคลุมศีรษะและบ่า ดังหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ และจะต้องปิดทุกส่วนของร่างกายดังหะดีษของอุมมุ สะละมะฮฺ
และอนุโลมให้เปิดใบหน้า เมื่อไม่มีผู้ชายที่แต่งงานกันได้มองเห็น เนื่องจากปวงปราชญ์มีมติเป็นเอกฉันท์ในเรื่องนี้
อิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า "หากผู้หญิงละหมาดคนเดียว เพียงพอด้วยผ้าคลุมศีรษะ และขณะที่เธออยู่ในบ้านนั้นสามารถเปิดศีรษะได้เมื่อไม่ได้อยู่ในละหมาด เพราะการแต่งกายในขณะละหมาดนั้นคือหน้าที่ต่ออัลลอฮฺ เนื่องจากไม่อนุญาตแก่คนใดที่จะเวียนรอบกะบะฮฺในสภาพที่เปลือย แม้จะอยู่คนเดียวในยามค่ำคืนก็ตาม และไม่อนุญาตแก่คนใดที่จะละหมาดในสภาพที่เปลือยแม้อยู่คนเดียวก็ตาม... ดังนั้นส่วนที่ต้องปกปิดในละหมาดไม่ได้เกี่ยวกับการปกปิดจากการมองของผู้คนเลย ไม่ว่าในความเหมือนหรือความต่าง (หมายถึง การปกปิดต่อหน้าผู้คนนั้น ต่างกับการปกปิดในละหมาด และขณะอยู่ในบ้าน)" (มัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา : 22/113-114)
อิบนุ กุดามะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ในการละหมาดของสตรีที่เป็นไท (มิใช่ทาส) จำเป็นต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกายของ หากเปิดเผยส่วนใดการละหมาดก็ใช้ไม่ได้ นอกจากจะเปิดเผยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และนี่เป็นทัศนะของมาลิก, อัล-เอาซาอีย์ และอัช-ชาฟิอีย์" (อัล-มุฆนีย์ : 2/328)
3. ผู้หญิงจะไม่กางมือออกกว้างขณะรูกูอฺ และสุญูด
อิบนุ กุดามะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “แท้จริงผู้หญิงจะเอามือแนบกับตัวของเธอในขณะรูกูอฺและสุญูด แทนการกางมือและแขน และจะนั่งแบบขาชิดกันหรือปล่อยเท้าทั้งสองไปทางด้านขวา แทนการนั่งบนเท้าซ้าย และใช้เท้าขวายันพื้น (อิฟติรอช) หรือแทนการนั่งบนตะโพกโดยเท้าซ้ายสอดใต้ขาขวา และใช้เท้าขวายันกับพื้น (ตะวัรรุก) เพราะจะเป็นการปกปิดที่ดียิ่งกว่าสำหรับผู้หญิง" (อัล-มุฆนีย์ : 2/258)
อิมาม อัน-นะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า "อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการละหมาด เพียงแต่ว่าผู้หญิงควรจะแนบอวัยวะต่างๆ กับตัว หรือขาอ่อนจะแนบชิดกับท้อง ในขณะสุญูด เพราะนั่นเป็นการปกปิดที่ดียิ่งกว่าสำหรับเธอ และฉันชอบที่จะให้ปฏิบัติเช่นนี้ในขณะรูกูอฺและในการละหมาดทั้งหมด" (อัล-มัจญ์มูอฺ : 3/455)
4. การละหมาดญะมาอะฮฺระหว่างผู้หญิงด้วยกันโดยผู้หญิงเป็นอิมามนั้น บรรดาผู้รู้มีทัศนะต่างกัน ระหว่างผู้ที่ห้ามและผู้ที่อนุญาต
• ส่วนมากเห็นว่าอนุญาตให้ทำได้ “เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งให้อุมมุ วะรอเกาะฮฺนำละหมาดแก่คนในครอบครัว" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 592)
• บางส่วนเห็นว่า ไม่ส่งเสริมให้กระทำ
• บางส่วนเห็นว่า ไม่ควรกระทำ (มักรูฮฺ)
• บางส่วนเห็นว่า อนุญาตให้กระทำในละหมาดภาคสมัครใจ (ละหมาดสุนัต) ไม่ใช่ละหมาดภาคบังคับ (ละหมาดฟัรฎู)
ทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด คือ ส่งเสริมหรือชอบให้ปฏิบัติ และเพื่อความรู้เพิ่มเติมในประเด็นนี้ โปรดดูหนังสืออัล-มุฆนีย์ (2/202) และอัล-มัจญ์มูอฺ (4/84-85) และพวกเธอสามารถที่จะอ่านเสียงดังได้ เมื่อไม่มีผู้ชายที่อนุญาตให้แต่งงานได้ยิน
5. อนุญาตให้ผู้หญิงออกไปละหมาดที่มัสญิดพร้อมกับบรรดาผู้ชาย แต่การละหมาดที่บ้านดียิ่งกว่าสำหรับพวกเธอ ตามที่มีหลักฐานดังนี้
«لَا تَمْنَعُوا إمَاءَ اللَّهِ مَسَاجِدَ اللَّهِ»
ความว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามมิให้บรรดาผู้หญิงออกไปละหมาดที่มัสญิดของอัลลอฮฺ" (บันทึกโดยมุสลิม : 989)
«لَا تَمْنَعُوا النِّسَاءَ أَنْ يَخْرُجْنَ إلَى الْمَسَاجِدَ وَبُيُوتُهُنَّ خَيْرٌ لَهُنَّ»
ความว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามมิให้ผู้หญิงออกไปละหมาดที่มัสญิด และบ้านของพวกเธอนั้นดียิ่งกว่าสำหรับพวกเธอ" (บันทึกโดย อะห์มัด : 5470 และอบู ดาวูด : 576)
ดังนั้น การละหมาดที่บ้านย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า อันเนื่องจากเป็นการปกปิดที่ดีกว่า
และในกรณีที่พวกเธอออกไปละหมาดที่มัสญิด ควรจะมีมารยาทดังนี้
5.1 ต้องสวมใส่อาภรณ์ที่มิดชิดและมีหิญาบ ดังหะดีษ
كَانَ النِّسَاءُ يُصَلِّينَ مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ يَنْصَرِفْنَ مُتَلَفِّعَاتٍ بِمُرُوطِهِنَّ مَا يُعْرَفْنَ مِن الْغَلَسِ
ความว่า “บรรดาผู้หญิงเคยละหมาด (ศุบห์) พร้อมกับท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากนั้นพวกเธอแยกย้ายกลับโดยที่มีผ้าคลุม ไม่มีใครรู้จักพวกเธออันเนื่องจากความมืด" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 867 และมุสลิม : 1457)
5.2 ไม่ใช้น้ำหอม เนื่องจากหะดีษของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
«لَا تَمْنَعُوا إمَاءَ اللَّهِ مَسَاجِدَ اللَّهِ ، وَلْيَخْرُجْنَ تَفِلَاتٍ»
ความว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามมิให้ผู้หญิงออกไปละหมาดที่มัสญิด และพวกเธอจงออกไปโดยไม่ใช้น้ำหอม" (บันทึกโดยอะห์มัด : 9625 และอบู ดาวูด : 565)
และมีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«أَيُّمَا امْرَأَةٍ أَصَابَتْ بَخُورًا فَلَا تَشْهَدْ مَعَنَا الْعِشَاءَ الْآخِرَةَ»
ความว่า “สตรีคนใดได้ใส่น้ำหอมแล้ว เขาอย่าได้ร่วมละหมาด อิชาอ์พร้อมกับเรา" (บันทึกโดยมุสลิม : 997, อบู ดาวูด : 4175 และอัน-นะสาอีย์ : 5143)
และรายงานจากท่านหญิงซัยนับ ภรรยาของอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«إِذَا شَهِدَتْ إِحْدَاكُنَّ الْمَسْجِدَ فَلَا تَمَسَّ طِيبًا»
ความว่า “เมื่อคนใดจากพวกเธอต้องการไปละหมาดที่มัสญิด เธออย่าใส่น้ำหอม" (บันทึกโดยมุสลิม : 996)
อัช-เชากานีย์ กล่าวว่า "หะดีษเหล่านี้บ่งชี้ว่า อนุญาตให้สตรีไปละหมาดที่มัสญิด เมื่อไม่มีสิ่งที่ก่อให้เกิดการยั่วยวน หรือสิ่งที่อยู่ในข่ายการยั่วยวน เช่นน้ำหอม... และหะดีษเหล่านี้บ่งชี้ว่า การอนุญาตให้ภรรยาไปละหมาดที่มัสญิดนั้น เมื่อในการออกไปของพวกเธอไม่มีสิ่งที่นำสู่การยั่วยวน เช่น น้ำหอม เครื่องประดับ หรืออาภรณ์ใดๆ" (นัยลุลเอาฏอรฺ : 3/140-141)
5.3 เธอจะไม่ออกไปมัสญิดในสภาพที่ประดับประดาด้วยเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
لَوْ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَأَى مِنْ النِّسَاءِ مَا رَأَيْنَا لَمَنَعَهُنَّ مِنْ الْمَسْجِدِ كَمَا مَنَعَتْ بَنُو إسْرَائِيلَ نِسَاءَهُمْ.
ความว่า “หากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เห็นจากบรรดาสตรี ซึ่งสิ่งที่พวกเราเห็น ท่านย่อมหักห้ามมิให้พวกเธอไปมัสญิด ดังที่ชาวอิสรออีลได้ห้ามภรรยาของพวกเขา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 869 และมุสลิม : 998)
อัช-เชากานีย์กล่าวว่า “คำว่าหากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้เห็นดังที่เราเห็น หมายความว่า เห็นเสื้อผ้าที่สวยๆ การใช้น้ำหอม เครื่องประดับ และการอวดโฉม และแท้จริงแล้วสมัยก่อนนั้น บรรดาผู้หญิงจะออกไปมัสญิดโดยการสวมใส่ผ้าคลุม และเสื้อผ้าที่เนื้อหยาบๆ"
อิบนุล เญาซีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า "สตรีควรระวังเป็นอย่างยิ่งในการออกไปมัสญิด แม้ว่าตัวเธอเองจะปลอดภัยจากการยั่วยวนของคนอื่น แต่คนอื่นอาจจะไม่ปลอดภัยจากการยั่วยวนของเธอ ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องออกไปก็ต้องได้รับอนุญาตจากสามีของเธอ ด้วยชุดที่ไม่ดึงดูดสายตา เดินตามทางที่ไม่ปะปน เลี่ยงตลาด และระวังมิให้ผู้คนได้ยินเสียงของเธอ และเดินริมทางไม่ใช่กลางถนน" (อะห์กาม อัน-นิสาอ์ : 39)
5.4 หากผู้หญิงคนเดียว ก็ให้ยืนหลังจากแถวของผู้ชาย ดังหะดีษจากอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
قُمْتُ أَنَا وَالْيَتِيمُ وَرَاءَهُ وَالْعَجُوزُ مِنْ وَرَائِنَا.
ความว่า “ฉันและเด็กกำพร้าได้ยืนหลังท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม และหญิงชรา (ย่าของฉัน)ได้ยืนหลังจากเรา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 380)
และยังมีรายงานจากอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
صَلَّيْتُ أَنَا وَالْيَتِيمُ فِي بَيْتِنَا خَلْفَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأُمِّي أُمُّ سُلَيْمٍ خَلْفَنَا.
ความว่า “ฉันและเด็กกำพร้าได้ละหมาดหลังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ที่บ้านของเรา และแม่ของฉัน (อุมมุ สุลัยม์) อยู่หลังจากเรา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 727, 874)
และจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«خَيْرُ صُفُوفِ الرِّجَالِ أَوَّلُهَا وَشَرُّهَا آخِرُهَا وَخَيْرُ صُفُوفِ النِّسَاءِ آخِرُهَا وَشَرُّهَا أَوَّلُهَا»
ความว่า “ผลบุญมากที่สุดจากแถวของผู้ชายคือแถวแรก และผลบุญน้อยที่สุดคือแถวหลังสุด และดีที่สุดจากแถวของผู้หญิงคือหลังสุด และผลบุญน้อยที่สุดคือแถวแรก" (บันทึกโดยมุสลิม : 984)
ดังนั้น หะดีษทั้งสองบทนี้บ่งชี้ว่า บรรดาสตรีจะยืนหลังจากแถวของผู้ชายและจะไม่ละหมาดกันแบบกระจัดกระจาย เมื่อพวกเขาละหมาดหลังผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรฎู (ภาคบังคับ) หรือละหมาดตะรอวีหฺก็ตาม
5.5 เมื่ออิมามเกิดความผิดพลาดขึ้นในละหมาด แท้จริงผู้หญิงจะเตือนอิมาม โดยการใช้หลังมือตีกับหลังมืออีกข้าง เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إذَا نَابَكُمْ شَيْءٌ فِي الصَّلَاةِ فَلْيُسَبِّحْ الرِّجَالُ وَلْيُصَفِّقْ النِّسَاءُ»
ความว่า “เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้นแก่พวกท่านในขณะละหมาด ดังนั้นผู้ชายจงกล่าวว่า สุบหานัลลอฮฺ (เพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือน) และผู้หญิงจงเตือนด้วยการตบมือ" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 719)
นี่คือการอนุญาตให้ผู้หญิงตบมือในขณะละหมาด เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น เช่น การเผลอของอิมาม ทั้งนี้เนื่องจากเสียงของผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งที่ยั่วยวนแก่ผู้ชาย ดังนั้นเธอถูกใช้ให้ตบมือแทนการเปล่งเสียง
5.6 เมื่ออิมามให้สลามเสร็จจากการละหมาด ให้ผู้หญิงรีบออกจากมัสญิด และผู้ชายยังคงนั่งอยู่ต่อ เพื่อมิให้ไปทันผู้หญิงที่แยกย้ายกลับไป เนื่องจากอุมมุ สะละมะฮฺ กล่าวว่า
إِنَّ النِّسَاءَ كُنَّ إِذَا سَلَّمْنَ مِنَ الْمَكْتُوبَةِ قُمْن وَثَبَتَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَنْ صَلَّى مِنَ الرِّجَالِ مَا شَاءَ اللَّهُ، فَإِذَا قَامَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَامَ الرِّجَالُ.
ความว่า “แท้จริงบรรดาสตรีในยุคของท่านเราะสูล เมื่อพวกเธอสลามจากการละหมาดฟัรฎูแล้ว พวกเธอจะลุกขึ้นเพื่อแยกย้ายกลับ และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาผู้ชายที่ละหมาดยังคงนั่งอยู่ต่อตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ (เพื่อมิให้ปะปนกับผู้หญิง) ครั้นเมื่อท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ลุกขึ้น บรรดาผู้ชายก็จะลุกขึ้น"
อัซ-ซุฮฺรีย์กล่าวว่า "เราเห็นว่า การกระทำเช่นนั้น เพื่อบรรดาผู้หญิงจะได้ออกไปก่อน" -อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง- (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 870)
อัช-เชากานีย์ กล่าวว่า “ในหะดีษบทนี้บ่งชี้ว่า แท้จริงอิมามควรจะเอาใจใส่ต่อสภาพของมะอ์มูมและควรป้องกันสิ่งที่อาจจะนำสู่การกระทำอันต้องห้าม เลี่ยงสถานที่อันเกิดความระแวง และอย่าให้มีการปะปนตามถนนหนทางระหว่างหญิงและชาย นอกเหนือจากการปะปนกันในบ้าน" (นัยลุลเอาฏอรฺ : 2/326)
อัน-นะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ในการละหมาดญะมาอะฮฺนั้นผู้หญิงจะแตกต่างจากผู้ชาย หลายประการ อาทิ
หนึ่ง ไม่เน้นย้ำให้ละหมาดญะมาอะฮฺเหมือนกับผู้ชาย
สอง อิมามที่เป็นผู้หญิงจะยืนระหว่างกลางของพวกเธอ
สาม ผู้หญิงคนเดียวจะยืนหลังผู้ชาย ไม่ใช่ด้านข้างซึ่งต่างกับผู้ชาย
สี่ เมื่อผู้หญิงละหมาดพร้อบกับผู้ชาย แถวหลังจะเป็นแถวที่ดีที่สุด (อัล-มัจญ์มูอฺ : 3/455)
และจากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นสรุปได้ว่า การปะปนระหว่างหญิงและชายเป็นสิ่งต้องห้าม
5.7 การออกไปละหมาดอีด มีรายงานจากอุมมุ อะฏียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
أَمَرَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نُخْرِجَهُنَّ فِي الْفِطْرِ وَالْأَضْحَى الْعَوَاتِقَ وَالْحُيَّضَ وَذَوَاتِ الْخُدُورِ، فَأَمَّا الْحُيَّضُ فَيَعْتَزِلْنَ الصَّلَاةَ وَيَشْهَدْنَ الْخَيْر وَدَعْوَةَ الْمُسْلِمِينَ.
ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สั่งให้เราพาผู้หญิงออกไปในวันอีดิลฟิฏร์และอีดิลอัฎหา ทั้งเด็กสาว ผู้ที่มีประจำเดือน และหญิงโสด ส่วนผู้มีประจำเดือนนั้นให้ออกห่างจากสถานที่ละหมาด และพวกเธอจะร่วมฟังคุฏบะฮฺ และการขอดุอาอ์ของบรรดาชาวมุสลิม" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 974, มุสลิม : 2051, อบู ดาวูด : 1136, อัน-นะสาอีย์ : 1558, อัต-ติรมิซีย์ : 539 และอิบนุ มาญะฮฺ : 1308)
อัช-เชากานีย์ กล่าวว่า “หะดีษบทนี้และรวมถึงหะดีษอื่นๆ ที่มีความหมายในทำนองนี้ บ่งชี้ว่า ส่งเสริมให้ผู้หญิงทุกคนออกไปยังสถานที่ละหมาดอีด ไม่มีการแยกระหว่างเด็กสาว แม่หม้าย คนชรา คนมีประจำเดือน ตราบใดที่ไม่ได้อยู่ในอิดดะฮฺ (เวลารอคอยสำหรับผู้หญิงที่สามีตายหรือหย่าร้าง) และในการออกไปไม่มีการยั่วยวนหรือมีอุปสรรคที่ได้รับการอนุโลม..." (นัยลุลเอาฏอรฺ : 3/306)
อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “แท้จริงท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกแก่บรรดาสตรีว่า การละหมาดที่บ้านนั้น ประเสริฐยิ่งกว่าการร่วมละหมาดวันศุกร์และละหมาดญะมาอะฮฺนอกจากละหมาดอีด เพราะท่านได้สั่งให้พวกเธอออกไป -อัลลอฮฺรู้ดียิ่ง- เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้
หนึ่ง วันอีดมี 2 ครั้งในรอบปี จึงเป็นสิ่งที่รับได้ ซึ่งต่างกับละหมาดวันศุกร์และญะมาอะฮฺ (มีอยู่ตลอด)
สอง วันอีดไม่มีสิ่งใดมาทดแทน ต่างกับวันศุกร์และละหมาดญะมาอะฮฺ เพราะเธอละหมาดซุฮร์ที่บ้านได้
สาม การออกไปละหมาดอีด เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ซึ่งคล้ายกับกับการประกอบพิธีหัจญ์ในบางด้าน และโดยเหตุนี้เองวันอีดิลอัฎหา จึงอยู่ในช่วงฤดูกาลหัจญ์ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับคนทำหัจญ์ (มัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา : 6/459-459)
บรรดาผู้รู้ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ได้ตั้งเงื่อนไขว่า การออกไปละหมาดอีดของเหล่าสตรีนั้นจะต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่น
อัน-นะวะวีย์ กล่าวว่า "อัช-ชาฟิอีย์และบรรดาสหายของท่านกล่าวว่า ส่งเสริมแก่บรรดาสตรีที่ไม่มีลักษณะที่โดดเด่นออกไปละหมาดอีด ส่วนผู้ที่มีลักษณะที่โดดเด่นนั้นไม่ควรออกไป และหากพวกเธอต้องการจะออกไปก็ควรสวมเสื้อผ้าเก่าๆ และไม่สวมเสื้อผ้าที่ทำให้โดดเด่น ควรซักและทำความสะอาดด้วยน้ำและไม่ควรใช้น้ำหอม ทั้งหมดนี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้หญิงสูงวัย ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาของผู้ชาย ส่วนเด็กสาว และคนสวยๆ และผู้ที่ยังเป็นที่หมายปองนั้นไม่ควรออกไป เนื่องจากเกรงว่าพวกเธอจะได้รับอันตราย หรือเกิดการยั่วยวน
หากมีคนแย้งว่าเรื่องนี้ขัดแย้งกับหะดีษของอุมมุ อะฏียะฮฺซึ่งได้นำเสนอก่อนนี้แล้ว เราขอตอบว่า มีรายงานในบันทึกของอัล-บุคอรีย์: 869 และมุสลิม: 998 จากหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
لَوْ أَدْرَكَ رَسُولُ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - مَا أَحْدَثَ النِّسَاءُ ، لَمَنَعَهُنَّ الْمَسَاجِدَ كَمَا مُنِعَت نِسَاءُ بَنِي إِسْرَائِيلَ.
ความว่า “หากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เห็นสิ่งที่เหล่าสตรีอุตริขึ้นมา (จากการแต่งกายและการอวดโฉม) แน่นอนท่านต้องห้ามมิให้พวกเธอไปมัสญิด ดังที่เหล่าสตรีของวงศ์วานของอิสรออีลเคยถูกห้าม"
เนื่องจากอันตราย และประตูแห่งความชั่วในยุคนี้มีมากมาย ซึ่งต่างจากยุคแรกๆ มากนัก – วัลลอฮุอะอฺลัม" (อัล- มัจญ์มูอฺ : 5/13)
ฉัน(ผู้เขียน)ขอกล่าวเสริมว่า ในยุคของเรานี้มียำแย่มากยิ่งกว่าอีกหลายเท่าเลยทีเดียว
อิบนุล เญาซีย์ ได้กล่าวในหนังสือของท่านว่า "ฉันเคยแจกแจงแล้วว่า แท้จริงการออกไปละหมาดของสตรีนั้นเป็นสิ่งที่อนุมัติ แต่เมื่อเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือการยั่วยวน การยับยั้งมิให้พวกเธอออกไปนั้นเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่า เนื่องจากบรรดาสตรีในยุคแรกของอิสลามต่างกับสภาพของบรรดาสตรีในยุคนี้ และบรรดาบุรุษก็เช่นเดียวกัน" (อะห์กาม อัน-นิสาอ์ : 39) หมายถึงในยุคแรกๆ นั้น จะมีความเคร่งครัดมากกว่า
จากที่กล่าวมานั้น เธอได้รู้ว่า การออกไปละหมาดอีดเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ โดยต้องอยู่ในกรอบ และมีเจตนาเพื่อภักดีต่ออัลลอฮฺ และมีส่วนร่วมในการวิงวอน การแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของอิสลาม มิใช่เพื่อโชว์เครื่องประดับ และยั่วยวน ดังนั้น จงพึงสังวรเถิด
บทที่ 6 บัญญัติว่าด้วยการจัดการศพของผู้หญิง
พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดความตายแก่ทุกชีวิต และพระองค์จะคงอยู่ตลอดกาลแต่เพียงพระองค์เดียว อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
﴿ وَيَبۡقَىٰ وَجۡهُ رَبِّكَ ذُو ٱلۡجَلَٰلِ وَٱلۡإِكۡرَامِ ٢٧ ﴾ [الرحمن: ٢٧]
ความว่า “และพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้าของเจ้า ผู้เป็นเจ้าของการยกย่องและการให้เกียรติ จะคงอยู่ไปตลอดกาล" (อัร- เราะห์มาน : 27)
พระองค์ทรงวางบทบัญญัติเกี่ยวกับศพลูกหลานของอาดัมเป็นการเฉพาะ ซึ่งผู้ที่มีชีวิตจะต้องดำเนินตาม ในบทนี้ เราจะนำเสนอบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการศพผู้หญิงเป็นการเฉพาะ ดังนี้
1. สตรีจะต้องอาบน้ำศพให้กับสตรี
ไม่อนุญาตให้ผู้ชายเป็นผู้อาบน้ำให้นอกจากสามีของนางเท่านั้น เพราะเขามีสิทธิ์ในการอาบน้ำให้แก่ภรรยาของเขา และผู้ชายจะทำหน้าที่ในการอาบน้ำศพผู้ชาย และไม่อนุญาตให้สตรีเป็นผู้อาบให้นอกจากผู้เป็นภรรยาเท่านั้น เพราะเธอมีสิทธิ์ในการอาบน้ำให้แก่ศพของเขา เนื่องจากท่านอะลีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้อาบน้ำให้แก่ภรรยาของท่าน –ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา- ซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และอัสมาอ์ บินติ อุมัยส์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้อาบน้ำให้สามีของเธอคือท่านอบู บักรฺ อัศ-ศิดดีก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ
2. ส่งเสริมให้ห่อศพสตรีด้วยผ้าสีขาวจำนวน 5 ชิ้น
ประกอบด้วย ผ้านุ่งหนึ่งผืน ผ้าคลุมศีรษะ เสื้อ และผ้าหุ้มห่อ 2 ผืน ซึ่งอยู่ชั้นนอกสุด เนื่องจากมีรายงานจากลัยลา อัษ- ษะกอฟียะฮฺ กล่าวว่า
كُنْتُ فِيمَنْ غَسَّلَ أُمَّ كُلْثُومٍ بِنْتَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عِنْدَ وَفَاتِهَا، وَكَانَ أَوَّلُ مَا أَعْطَانَا رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْحِقَاءَ، ثُمَّ الدِّرْعَ، ثُمَّ الْخِمَارَ، ثُمَّ الْمِلْحَفَةَ، ثُمَّ أُدْرِجَتْ بَعْدُ فِي الثَّوْبِ الْآخِرِ.
ความว่า “ฉันเป็นคนหนึ่งจากผู้ที่อาบน้ำให้แก่อุมมุ กุลษูม ลูกสาวของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตอนที่นางเสียชีวิตและสิ่งแรกที่ท่านเราะสูลได้ให้แก่เรานั้นคือ ผ้านุ่ง เสื้อ ผ้าคลุมศรีษะ หลังจากนั้นเป็นผ้าหุ้มห่อ หลังจากนั้นนางได้ถูกหุ้มห่อทับด้วยผ้าอีกผืนหนึ่ง" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 3157)
อัช-เชากานีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ (นัยลุลเอาฏอรฺ : 4/42) "หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่าแท้จริงสิ่งที่ถูกบัญญัติในการห่อศพผู้หญิงนั้น คือ ผ้านุ่ง เสื้อ ผ้าคลุมศีรษะ ผ้าหุ้มห่ออีกสองผืน"
3. การจัดผมของศพผู้หญิง
ให้รวบหรือถักผมเป็นสามเปีย แล้วเอาไว้ด้านหลังของเธอ เนื่องจากมีหะดีษจากอุมมุ อะฏียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ในการอาบน้ำศพลูกสาวของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
فضَفَّرْنَا شَعْرَهَا ثَلَاثَةَ قُرُونٍ وَأَلْقَيْنَاهُ خَلْفهَا.
ความว่า “แล้วเราได้ถักผมของเธอออกไปเป็นสามเปีย แล้วเราได้เอามันไปไว้ทางด้านหลังของนาง" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1262 และมุสลิม : 2168)
4. บทบัญญัติเกี่ยวกับการติดตามไปส่งศพสตรี
มีรายงานจากอุมมุ อาฏียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
نُهِينَا عَنْ اتِّبَاعِ الْجَنَائِزِ وَلَمْ يُعْزَمْ عَلَيْنَا.
ความว่า “เราถูกห้ามมิให้ติดตามไปส่งศพ และเราไม่ได้ถูกห้ามโดยเด็ดขาด" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 313 และมุสลิม : 2164)
สิ่งที่เห็นได้จากการห้ามนั้น คือไม่อนุญาตให้กระทำ และคำกล่าวของเธอที่ว่า “และเรามิได้ถูกห้ามโดยเด็ดขาด" นั้น ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (มัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา 24/355) ว่า “บางทีความหมายที่เธอหมายถึงก็คือ ไม่ได้ห้ามอย่างจริงจังหรือเน้นย้ำ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าการห้ามดังกล่าวเป็นโมฆะ และบางทีอาจจะเป็นความคาดเดาของเธอเองว่านี่เป็นการห้ามที่ไม่ถึงขั้นหะรอม ในขณะที่ใจความของหลักฐานนั้นต้องดูที่คำพูดของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้อยู่ที่การคาดเดาของคนใดคนหนึ่งอื่นไปจากท่าน"
5. ห้ามสตรีมิให้ไปเยี่ยมหลุมฝังศพ
มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَعَنَ زَوَّارَاتِ الْقُبُورِ.
ความว่า “แท้จริงท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สาปแช่งบรรดาผู้หญิงที่ไปเยี่ยมหลุมฝังศพอยู่บ่อยครั้ง" (บันทึกโดยอะห์มัด : 2030 และอัต-ติรมีซีย์ : 230 และกล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวไว้ในมัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา เล่มที่ 24/355-356 ว่า “และเป็นที่ทราบกันดีว่า ถ้าเรื่องนี้ถูกเปิดกว้างแก่ผู้หญิงแล้วย่อมเป็นเหตุนำไปสู่การขาดความขันติ การรำพึงรำพัน และการร้องห่มร้องไห้ เนื่องจากนางอ่อนแอ มีความอดทนน้อย อันจะเป็นสาเหตุให้ผู้ตายเดือดร้อนเพราะการคร่ำครวญโหยหวนของเธอ และเป็นสาเหตุของการยั่วยวนแก่ผู้ชาย ด้วยน้ำเสียงและรูปร่างของเธอ ดังที่มีรายงานในหะดีษหนึ่งว่า
«فَإِنَّكُنَّ تَفْتِنَّ الْحَيَّ وَتُؤْذِينَ الْمَيِّتَ»
ความว่า “แท้จริงพวกเธอย่อมจะทำให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่ต้องปั่นป่วน (ยั่วยวน) และก่อความเดือดร้อนแก่คนตาย"
เมื่อการไปเยี่ยมหลุมฝังศพของบรรดาสตรีอาจจะเป็นที่มาและสาเหตุของเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องห้ามในตัวของพวกเธอและแก่ผู้ชาย –ขณะที่เหตุผลทางบทบัญญัติตรงนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว- ดังนั้น จงไม่สามารถกำหนดกรอบและปริมาณสิ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุ และไม่สามารถแยกแยะแต่ละประเภทได้ กรณีแบบนี้มีทฤษฎีทางบทบัญญัติกำหนดไว้คือ เมื่อเหตุผลแห่งบทบัญญัติเป็นสิ่งซ่อนเร้นหรือไม่เป็นที่แพร่หลาย ก็ให้ข้อชี้ขาดผูกพันกับแหล่งที่มาและสาเหตุ ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งต้องห้ามเพื่อเป็นการปิดช่องทาง เช่นเดียวกับการห้ามมองเครื่องประดับของสตรีที่อยู่ภายในเนื่องจากเกิดการยั่วยวน และเช่นเดียวกับที่ห้ามการอยู่กับผู้หญิงโดยลำพังและการมองผู้หญิง และในการที่สตรีเยี่ยมหลุมฝังศพนั้น ไม่มีผลดีมากพอที่จะเอามาเทียบกับผลเสีย เพราะในการเยี่ยมนั้นไม่มีความดีใดนอกจากการวิงวอนของเธอให้แก่ผู้ตายเท่านั้น และนั่นเป็นสิ่งที่เธอสามารถทำได้ภายในบ้านของเธอเอง(โดยไม่ต้องไปที่สุสาน)"
6. ห้ามไม่ให้มีการร้องรำพันคร่ำครวญ
คือการรำพึงรำพันเสียงดัง ฉีกเสื้อผ้า ตบตีแก้ม โกนผม การย้อมสี และขีดข่วนบนใบหน้า อันเนื่องจากความท้อแท้เพราะสูญเสียผู้ตาย การคร่ำครวญขอให้เกิดความหายนะ และอื่นๆ จากสิ่งที่บ่งบอกถึงความท้อแท้ในลิขิตของอัลลอฮฺ ไม่มีความอดทน เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องห้ามและเป็นบาปใหญ่ เนื่องจากหะดีษที่ว่า
«لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَطَمَ الْخُدُودَ وَشَقَّ الْجُيُوبَ وَدَعَا بِدَعْوَى الْجَاهِلِيَّة»
ความว่า “ไม่ใช่แนวทางของเรา ผู้ที่ตบตีใบหน้า ฉีกเสื้อผ้า และคร่ำครวญเยี่ยงพฤติกรรมสมัยญาฮิลียะฮฺ"(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1294 และมุสลิม : 281)
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم بَرِيءٌ مِنْ الصَّالِقَةِ وَالْحَالِقَةِ وَالشَّاقَّةِ .
ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงที่ส่งเสียงดัง ผู้หญิงที่โกนผม ผู้หญิงที่ฉีกเสื้อผ้า" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1296 และมุสลิม : 283) กล่าวคือ ผู้หญิงที่กระทำการเหล่านี้ในเวลาที่ตัวเองประสบเคราะห์กรรม
และยังมีหะดีษอีกว่า
لَعَنَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ النَّائِحَةَ ، وَالْمُسْتَمِعَةَ.
ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สาปแช่งหญิงที่ร่ำไห้คร่ำครวญ และผู้รับฟังเสียงร้องนั้นด้วย" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 3128) กล่าวคือผู้ที่มีเจตนารับฟังและพอใจเสียงรำพันคร่ำครวญนั้น
โอ้พี่น้องผู้ศรัทธา จำเป็นที่เธอต้องหลีกเลี่ยงการกระทำเช่นนี้ เมื่อประสบกับการทดสอบ จำเป็นที่เธอต้องอดทน และหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ เพื่อให้บททดสอบของเธอลบล้างความผิดต่างๆ และเพิ่มพูนความดีให้แก่เธอ
อัลลอฮฺได้ตรัสไว้
﴿ وَلَنَبۡلُوَنَّكُم بِشَيۡءٖ مِّنَ ٱلۡخَوۡفِ وَٱلۡجُوعِ وَنَقۡصٖ مِّنَ ٱلۡأَمۡوَٰلِ وَٱلۡأَنفُسِ وَٱلثَّمَرَٰتِۗ وَبَشِّرِ ٱلصَّٰبِرِينَ ١٥٥ ٱلَّذِينَ إِذَآ أَصَٰبَتۡهُم مُّصِيبَةٞ قَالُوٓاْ إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّآ إِلَيۡهِ رَٰجِعُونَ ١٥٦ أُوْلَٰٓئِكَ عَلَيۡهِمۡ صَلَوَٰتٞ مِّن رَّبِّهِمۡ وَرَحۡمَةٞۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُهۡتَدُونَ ١٥٧ ﴾ [البقرة: ١٥٥، ١٥٧]
ความว่า “และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยส่วนหนึ่ง(สิ่งเล็กน้อย)จากความกลัว ความหิวโหย ความเสียหายในทรัพย์สิน ชีวิต และผลผลิต และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด บรรดาผู้ที่เมื่อมีบททดสอบได้มาประสบกับพวกเขา พวกเขาก็กล่าวว่าแท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแท้จริงเราจะต้องกลับไปหาพระองค์ ชนเหล่านี้แหละ จะได้รับพรและความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา และชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่ได้รับทางนำ" (อัล- บะเกาะเราะฮฺ : 155-157)
อนุญาตให้ร้องไห้ได้ โดยที่ต้องไม่มีการรำพันคร่ำครวญ และปราศจากการกระทำที่ต้องห้าม ไม่โมโหโกรธเคืองต่อการกำหนดของอัลลอฮฺ เพราะว่าลำพังการร้องไห้นั้นถือว่าเป็นความเมตตาแก่ผู้ตายและความอ่อนโยนของหัวใจ และมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยับยั้งได้ ดังนั้นการร้องให้จึงเป็นสิ่งที่อนุมัติ และบางครั้งอาจจะเป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำเสียอีกด้วย
ขออัลลอฮฺทรงเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ
บทที่ 7 บัญญัติว่าด้วยการถือศีลอดของผู้หญิง
การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน และเป็นรุก่นหรือองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของศาสนาอิสลาม
อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ ١٨٣ ﴾ [البقرة: ١٨٣]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้า เหมือนกับที่ได้ถูกกำหนดแก่พวกที่มาก่อนหน้าพวกเจ้า หวังว่าพวกเจ้าจะยำเกรง" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 183)
คำว่า “ถูกกำหนด" หมายถึง ถูกบัญญัติ ดังนั้นเมื่อเด็กสาวได้บรรลุศาสนภาวะแล้ว โดยมีเครื่องหมายหนึ่งจากเครื่องหมายในการบรรลุศาสนภาวะให้เห็น เช่นเริ่มมีประจำเดือน เมื่อนั้นการถือศีลอดก็เป็นวาญิบ(จำเป็น)สำหรับเธอ เด็กสาวบางคนอาจจะมีประจำเดือน เมื่ออายุ 9 ปี ซึ่งเธออาจจะยังไม่รู้ว่าจำเป็นต้องถือศีลอด เธอเลยไม่ถือโดยที่เข้าใจว่าเธอนั้นยังเล็กอยู่ และผู้ปกครองก็ไม่ได้สั่งเธอให้ทำการถือศีลอด สิ่งนี้ถือว่าเป็นความบกพร่องอย่างยิ่ง เพราะละทิ้งองค์ประกอบหลักอีกประการหนึ่งของอิสลาม เด็กสาวคนใดที่มีรอบเดือนเกิดขึ้น จะต้องศีลอดชดเชยตามจำนวนวันที่ขาด ตั้งแต่ช่วงแรกของการมีประจำเดือน ถึงแม้ว่าผ่านไปนานแล้วก็ตาม เพราะว่าการถือศีลอดนั้น ยังอยู่ในความรับผิดชอบของเธอ
การถือศีลอดจำเป็นแก่ผู้ใด?
เมื่อเดือนเราะมะฎอนได้มาถึงจำเป็นต่อมุสลิมทุกคนทั้งชายและหญิง ผู้ซึ่งบรรลุศาสนภาวะ มีสุขภาพดี และไม่ได้เดินทาง (อยู่ประจำถิ่น) จะต้องถือศีลอดในเดือนดังกล่าว และบุคคลใดป่วย หรือเดินทางในช่วงเดือนเราะมะฎอน เขาจะได้รับก็ได้รับอนุญาตให้ละศีลอด และชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดไป อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า
﴿فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ ٱلشَّهۡرَ فَلۡيَصُمۡهُۖ وَمَن كَانَ مَرِيضًا أَوۡ عَلَىٰ سَفَرٖ فَعِدَّةٞ مِّنۡ أَيَّامٍ أُخَرَۗ ﴾ [البقرة: ١٨٥]
ความว่า “ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอด และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง -แล้วเขาละศีลอด- ก็ให้เขาได้ถือชดใช้ในวันอื่นแทน" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ :185)
ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่มีชีวิตในเดือนเราะมะฎอนในขณะที่เขาเป็นผู้แก่ชรามาก ไม่สามารถถือศีลอดได้ หรือผู้ป่วยเรื้อรังซึ่งไม่มีความหวังที่จะหายจากโรคนั้น ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม แท้จริงให้เขาละศีลอดและให้จ่ายอาหารแก่ผู้ขัดสนจำนวนหนึ่งลิตรต่อหนึ่งวันจากอาหารหลักของท้องถิ่น
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَعَلَى ٱلَّذِينَ يُطِيقُونَهُۥ فِدۡيَةٞ طَعَامُ مِسۡكِينٖۖ ﴾ [البقرة: ١٨٤]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่ถือศีลอดได้ด้วยความยากลำบาก ก็ให้มีการจ่ายสิ่งชดเชย คือจ่ายอาหารแก่ผู้ขัดสน" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 184)
อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “บทบัญญัตินี้สำหรับคนชรา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 4505) ส่วนคนป่วยที่ไม่มีหวังจะหายก็ใช้บัญญัติเดียวกับคนชราได้ ไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ เนื่องจากขาดความสามารถ คำว่า “การถือศีลอดด้วยความลำบาก" คือ การถือศีลอดได้ด้วยความทุกข์ทรมาน
ข้อผ่อนปรนต่างๆ ในการถือศีลอดของผู้หญิง
สำหรับสตรีนั้นมีข้อผ่อนปรนหลายประการ ให้ละศีลอดได้และชดใช้ในวันอื่นๆ ตามจำนวนวันที่ขาดไป
1. เลือดประจำเดือน และเลือดหลังคลอดบุตร
ห้ามสตรีที่มีประจำเดือนและเลือดหลังคลอดทำการถือศีลอด และจำเป็นที่จะต้องถือชดเชยในวันอื่น เนื่องจากหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
كُنَّا نُؤْمَرُ بِقَضَاءِ الصِّيَامِ وَلَا نُؤْمَرُ بِقَضَاءِ الصَّلَاةِ
ความว่า “เราถูกสั่งให้ชดเชยการถือศีลอด และไม่ถูกใช้ให้ชดเชยการละหมาด" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 321 , มุสลิม : 759 , อบู ดาวูด : 262 , อัต-ติรมิซีย์ : 130 และอัน-นะสาอีย์ : 2317)
และทั้งนี้ เนื่องจากมีสตรีผู้หนึ่งได้ถามเธอว่า ทำไมผู้มีประจำเดือนต้องถือศีลอดชดเชย และไม่ต้องละหมาดชดเชย? เธอก็ได้อธิบายว่า “แท้จริงเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งจากเรื่องราวที่ต้องยึดตามตัวบท"
เหตุผลที่ไม่ต้องถือศีลอด ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวไว้ในมัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา เล่มที่ 25/251 “เลือดที่ออกมาเพราะการมีประจำเดือนนั้น คือการออกมาของเลือด และผู้ที่มีประจำเดือนสามารถที่จะถือศีลอดในเวลาที่ไม่มีเลือดได้ ดังนั้นการถือศีลอดเวลาที่ไม่มีเลือดนั้นเป็นการถือศีลอดที่สมดุล ซึ่งเลือดเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง และการถือศีลอดในขณะที่มีประจำเดือน ทำให้เกิดความบกพร่องและอ่อนแอต่อร่างกายของเธอ และการถือศีลอดไม่สมดุล ดังนั้นเธอจึงถูกสั่งใช้ให้ถือศีลอดในเวลาที่ไม่มีประจำเดือน"
2. การตั้งครรภ์และการให้นม
คือการตั้งครรภ์และการให้นมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสตรีต่อทารกในครรภ์ หรือทั้งต่อตัวของแม่และเด็กเอง เธอก็สามารถละศีลอดได้ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์หรือช่วงให้นม
หากเธอละศีลอดเพราะเกรงว่าอันตรายจะเกิดกับเด็ก เธอจะต้องถือศีลอดชดเชยวันที่ได้ละศีลอด และให้จ่ายอาหารแก่ผู้ขัดสนหนึ่งคนต่อจำนวนหนึ่งวันที่ได้ละเว้นการถือศีลอด
หากเธอละศีลอดเพราะเกรงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเธอเอง ก็ให้ถือศีลอดชดเชยอย่างเดียวไม่ต้องจ่ายอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่ให้นม เข้าข่ายในคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَعَلَى ٱلَّذِينَ يُطِيقُونَهُۥ فِدۡيَةٞ طَعَامُ مِسۡكِينٖۖ ﴾ [البقرة: ١٨٤]
ความว่า “และสำหรับผู้ที่ถือศีลอดได้ด้วยความยากลำบาก ให้จ่ายสิ่งชดเชยคืออาหารแก่ผู้ขัดสน" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 184)
อิบนุ กะษีรฺ กล่าวไว้ในตัฟซีรฺของท่าน เล่มที่ 1/379 ว่า “และผู้ที่เข้าข่ายในความหมายนี้ คือผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร เมื่อเขาทั้งสองกลัวจะเป็นอันตรายต่อตัวเอง หรือเป็นอันตรายต่อลูก"
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน เล่มที่ 25/318 “หากว่าเธอกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ก็อนุญาตให้ละศีลอด และจะต้องชดเชยตามจำนวนวันที่ขาดไป และจะต้องจ่ายอาหารแก่ผู้ขัดสนหนึ่งคนจำนวนหนึ่งลิตรต่อหนึ่งวันที่ละศีลอด"
สิ่งที่จำเป็นต้องรู้
1. ผู้ที่มีเลือดเสีย (อัล-มุสตะหาเฏาะฮฺ) –คือผู้ที่มีเลือดมาโดยที่ไม่ใช่ประจำเดือนดังที่กล่าวก่อนนี้แล้ว- จำเป็นแก่เธอที่จะต้องถือศีลอด และไม่อนุญาตให้ละทิ้งการถือศีลอดอันเนื่องจากมีเลือดเสีย
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน เล่มที่ 25/251 หลังจากที่กล่าวถึงการละศีลอดของผู้มีประจำเดือน “ซึ่งแตกต่างกับเลือดเสีย เพราะว่าเลือดเสียนั้นไม่สามารถควบคุมเวลาได้ โดยเธอถูกใช้ให้ถือศีลอดในเวลานั้นและไม่สามารถจะระวังมันได้ เช่น การอาเจียนออกมา การมีเลือดออกมาตามแผล และฝีต่างๆ การฝัน และในทำนองนั้น ในบรรดาสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ มันจึงไม่มีผลกับการถือศีลอดเหมือนกับเลือดประจำเดือน"
2. จำเป็นต่อผู้มีประจำเดือน ผู้ที่ตั้งครรภ์ และผู้ที่ให้นม เมื่อพวกเธอละทิ้งการถือศีลอด จะต้องถือศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่ได้ละศีลอด ในระหว่างเดือนเราะมะฎอนนี้กับเดือน เราะมะฎอนที่จะมาถึง และการรีบชดใช้เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด และเมื่อเหลือไม่กี่วันที่เดือนเราะมะฎอนใหม่จะมาถึงนอกจากเท่ากับวันที่ได้ละศีลอด ก็จำเป็นที่จะต้องถือศีลอดชดใช้ เพื่อมิให้เดือนเราะมะฎอนใหม่มาถึงโดยที่ยังมิได้ชดเชยของก่อน ถ้าหากเข้า เราะมะฎอนใหม่และยังมิได้ชดเชย โดยที่ไม่มีอุปสรรคที่ได้รับการอนุโลมแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องถือศีลอดชดเชย พร้อมจ่ายอาหารแก่ผู้ขัดสนหนึ่งคนต่อหนึ่งวัน หากการล่าช้าเกิดจากอุปสรรคก็จะต้องถือศีลอดชดใช้อย่างเดียว (ไม่ต้องจ่ายอาหาร) ผู้ที่จำเป็นต้องถือศีลอดชดเชย ด้วยสาเหตุของการละทิ้งศีลอดอันเนื่องจากการเจ็บป่วย หรือการเดินทางนั้น ก็ใช้บทบัญญัติและข้อชี้ขาดเดียวกับผู้มีประจำเดือน ดังที่แจกแจงมาก่อนแล้ว
3. ไม่อนุญาตให้สตรีถือศีลอดภาคสมัครใจ (ตะเฎาวุอฺ) เมื่อสามีของเธออยู่บ้าน ไม่ได้เดินทาง นอกจากด้วยการอนุญาตของสามีเท่านั้น ดังหะดีษที่อิมามอัล-บุคอรีย์และมุสลิม และท่านอื่นๆ ได้รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะละฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا يَحِلُّ لِلْمَرْأَةِ أَنْ تَصُومَ وَزَوْجُهَا شَاهِدٌ إِلَّا بِإِذْنِهِ»
ความว่า “ไม่อนุญาตให้ภรรยาถือศีลอดในขณะที่สามีของนางอยู่บ้าน ไม่ได้เดินทาง นอกจากด้วยการอนุญาตของเขาเท่านั้น" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5192 และมุสลิม :2367)
และในบางสายรายงานของอะห์มัดและอบู ดาวูดที่ว่า “นอกจากเดือนเราะมะฎอน" ถ้าสามีได้อนุญาตให้ถือศีลอดภาคสมัครใจ หรือสามีไม่ได้อยู่กับเธอ หรือเธอไม่มีสามี ก็ส่งเสริมให้เธอถือศีลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ส่งเสริมให้ถือ เช่น วันจันทร์ วันพฤหัสบดี สามวันของทุกๆ เดือน หกวันของเดือนเชาวาล สิบวันของเดือนซุลหิจญะฮฺ วันอะเราะฟะฮฺ วันอาชูรออ์ หนึ่งวันก่อนและหลังจากวันอาชูรออ์ เพียงแต่ไม่สมควรสำหรับเธอที่จะถือศีลอดสมัครใจ (สุนัต) ในขณะที่ยังติดค้างศีลอดเดือนเราะมะฎอน เธอจะต้องถือศีลอดชดเชยเสียก่อน วัลลอฮุอะอฺลัม
4. เมื่อสตรีสะอาดจากประจำเดือนในช่วงกลางวันของเดือนเราะมะฎอน เธอจะต้องงดการรับประทานในช่วงเวลาส่วนที่เหลือของวันนั้น และเธอยังต้องถือศีลอดชดของวันนั้นด้วย พร้อมๆ กับวันอื่นๆ ที่ได้ละเว้นการถือศีลอดเพราะมีประจำเดือน และการงดอาหารในส่วนที่เหลือของวันที่เธอสะอาดนั้นเป็นวาญิบ/จำเป็น ทั้งนี้เพราะเป็นการให้เกียรติเดือนเราะมะฎอน
บทที่ 8 บัญญัติว่าด้วยการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺของผู้หญิง
การประกอบพิธีหัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺในทุกๆ ปีนั้น เป็นข้อบังคับในภาพรวม(ฟัรฎูกิฟายะฮฺ)สำหรับประชาชาติมุสลิมทั้งหมด ส่วนที่เป็นวาญิบ(ฟัรฎูอัยนฺ)สำหรับมุสลิมทุกคนนั้นคือหนึ่งครั้งตลอดชีวิต สำหรับผู้ที่มีเงื่อนไขในการทำหัจญ์ครบถ้วน นอกเหนือจากนั้นก็เป็นหัจญ์ภาคสมัครใจ (ตะเฏาวุอฺ)
การประกอบพิธีหัจญ์นั้นเป็นโครงสร้างหลักของศาสนาอิสลาม และเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมของบรรดาสตรีในภารกิจการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ (ญิฮาด) เนื่องจากหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า
يَا رَسُولَ اللَّهِ هَلْ عَلَى النِّسَاءِ جِهَادٌ ؟ قال: «نَعَمْ ، عَلَيْهِنَّ جِهَادٌ لا قِتَالَ فِيهِ ، الْحَجُّ وَالْعُمْرَةُ»
ความว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ สตรีต้องทำการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺใช่ไหม (ญิฮาด)? ท่านกล่าวว่า ใช่ จำเป็นแก่พวกเธอที่จะต้องทำการญิฮาด แต่เป็นการญิฮาดที่ไม่มีการฆ่าฟัน คือการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ" (บันทึกโดยอะห์มัด : 25198 และอิบนุ มาญะฮฺ : 2901 ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)
และในรายงานของอัล-บุคอรีย์ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
يَا رَسُولَ اللَّهِ نرَى الْجِهَادَ أَفْضَلَ الْعَمَلِ أَفَلَا نُجَاهِدُ قَالَ : «لَكِنَّ أَفْضَلَ الْجِهَادِ حَجٌّ مَبْرُورٌ»
ความว่า “โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ เรารู้ว่าการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺเป็นงานที่ประเสริฐยิ่ง จะไม่ให้เราออกไปญิฮาดด้วยหรือ? ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า แต่การญิฮาดที่ดียิ่ง(สำหรับพวกเธอ)คือการทำหัจญ์ที่สมบูรณ์" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1520)
บทบัญญัติในการประกอบพิธีหัจญ์ที่เกี่ยวกับสตรีเป็นการเฉพาะ มีหลายประการได้แก่
1. มะห์ร็อม
เงื่อนไขที่จำเป็นในการประกอบพิธีหัจญ์ซึ่งครอบคลุมทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีหลายประการ คือ เป็นมุสลิม มีสติสัมปชัญญะ เป็นไท (มิใช่ทาส) บรรลุศาสนภาวะ มีความสามารถในค่าใช้จ่าย
ส่วนเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงเป็นการเฉพาะ คือต้องมีมะห์ร็อมเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์พร้อมกับเธอ คือสามี หรือผู้ชายที่ถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกับเธอแบบถาวรเนื่องจากเป็นเครือญาติ เช่น พ่อ ลูกชาย พี่ชาย หรือน้องชาย หรือด้วยสาเหตุอื่น เช่น พี่น้องชายจากการดื่มนมร่วมแม่นมกับเธอ หรือสามีของแม่(พ่อเลี้ยง) หรือลูกชายของสามี (ลูกเลี้ยง) หลักฐานในเรื่องนี้มีหะดีษจากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า แท้จริงเขาได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวคำปาฐกถาว่า
«لَا يَخْلُوَنَّ رَجُلٌ بِامْرَأَةٍ إِلَّاَ مَعَهَا ذُو مَحْرَمٍ، وَلَا تُسَافِرُ المَرْأَةُ إِلَّا مَعَ ذِي مَحْرَمٍ فَقَامَ رَجُلٌ، فَقَالَ: يَا رَسُولَ اَللَّهِ، إِنَّ امْرَأَتِي خَرَجَتْ حَاجَّةً، وَإِنِّي اكْتُتِبْتُ فِي غَزْوَةِ كَذَا وَكَذَا، قَالَ: انْطَلِقْ، فَحُجَّ مَعَ امْرَأَتِكَ»
ความว่า “ชายคนหนึ่งจะไม่อยู่ตามลำพังกับผู้หญิง นอกจากจะมีผู้ที่เป็นมะห์ร็อมของเธออยู่ด้วยเท่านั้น และผู้หญิงจะไม่เดินทาง นอกจากจะมีผู้ที่เป็นมะห์ร็อมไปพร้อมกับเธอด้วย" ชายคนหนึ่งได้ยืนขึ้น แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ แท้จริงภรรยาของฉันต้องการออกไปประกอบพิธีหัจญ์ และแท้จริงฉันนี้ได้ถูกลงชื่อให้ร่วมสงครามที่นั่นที่นี่ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ท่านจงออกไป แล้วจงประกอบพิธีหัจญ์พร้อมกับภรรยาของท่าน" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3006 และมุสลิม : 3259)
และมีรายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่าน เราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا تُسَافِرْ الْمَرْأَةُ ثَلَاثًا إِلَّا مَعَ ذِي مَحْرَمٍ»
ความว่า “สตรีจะไม่เดินทางระยะเวลาสามวัน นอกจากจะต้องมีมะห์ร็อมเดินทางพร้อมกับเธอเท่านั้น" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1087 และมุสลิม : 3245)
หะดีษในทำนองนี้มีอีกมากมาย ซึ่งห้ามไม่ให้สตรีเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์และอื่นๆ โดยที่ไม่มีมะห์ร็อมไปด้วย เนื่องจากสตรีนั้นอ่อนแอ อาจจะมีสาเหตุไม่คาดคิด หรือความลำบากในการเดินทางมาประสบกับเธอ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่มีใครที่จะเผชิญได้นอกจากผู้ชาย และผู้หญิงนั้นก็เป็นที่ปรารถนาของคนชั่วทั้งหลาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีมะห์ร็อมคอยปกป้องรักษาเธอ ให้รอดพ้นจากการก่อความเดือดร้อนของคนเหล่านั้น
เงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นมะห์ร็อมในการประกอบพิธีหัจญ์
- มีสติสัมปชัญญะ
- บรรลุศาสนภาวะ
- เป็นมุสลิม
หากเธอหาบุคคลที่เป็นมะห์ร็อมไม่ได้ ก็จำเป็นต้องหาคนมาทำหัจญ์แทนให้กับเธอ
2. ได้รับอนุญาตจากสามี
หากการประกอบพิธีหัจญ์ภาคสมัครใจ จะต้องได้รับอนุญาตจากสามี เพราะสิทธิของสามีที่เธอต้องปฏิบัติจะขาดหายไป เจ้าของตำราอัล-มุฆนีย์ได้กล่าวว่า “สามีมีสิทธิยับยั้งมิให้เธอไปประกอบพิธีหัจญ์ภาคสมัครใจได้ อิบนุล มุนซิรฺ กล่าวว่า “ปวงปราชญ์ทุกคนที่ฉันได้จดจำมาจากพวกเขา มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า สามีมีสิทธิยับยั้งมิให้เธอออกไปประกอบพิธีหัจญ์ภาคสมัครใจได้ เนื่องจากหน้าที่ต่อสามีนั้นเป็นภาคบังคับ (วาญิบ) ดังนั้น เธอจะเอาสิ่งที่ไม่ใช่เป็นภาคบังคับมาทำให้สิ่งที่เป็นภาคบังคับต้องขาดหายไปมิได้ ก็เช่นเดียวกับทาสที่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เป็นนาย" (อัล-มุฆนีย์ : 3/240)
3. การทำหัจญ์และอุมเราะฮฺแทนผู้ชาย
สตรีสามารถทำหัจญ์และอุมเราะฮฺแทนผู้ชายได้ ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวไว้ในตำราของท่านว่า “อนุญาตให้ผู้หญิงทำหัจญ์แทนผู้หญิงได้โดยมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ ไม่ว่าจะเป็นลูกสาวของเธอหรือไม่ก็ตามแต่ และเช่นเดียวกันอนุญาตให้ผู้หญิงทำหัจญ์แทนผู้ชายได้ ตามทัศนะของอิมามทั้งสี่และผู้รู้ส่วนมาก ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งให้หญิงเผ่าค็อซอัมคนหนึ่งทำหัจญ์แทนบิดาของเธอ เมื่อตอนที่เธอได้กล่าวว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ แท้จริงบทบัญญัติที่ให้ปวงบ่าวของอัลลอฮฺประกอบพิธีหัจญ์ได้มาถึงบิดาของฉัน ขณะที่เขามีอายุมากแล้ว" ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็เลยสั่งให้เธอทำหัจญ์แทนบิดาของเธอ ทั้งที่การทำหัจญ์ของผู้ชายนั้นสมบูรณ์ยิ่งกว่าการทำหัจญ์ของผู้หญิง (มัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา : 26/13)
4. เลือดประจำเดือนและเลือดหลังการคลอด
เมื่อสตรีเกิดมีประจำเดือนหรือเลือดหลังการคลอด ในขณะที่เธออยู่ในพิธีหัจญ์ก็ให้ดำเนินต่อไป ถ้าหากสิ่งนั้นได้เกิดขึ้นตอนที่จะเข้าพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ ก็ให้เธอเข้าพิธี (อิห์รอม) เหมือนกับสตรีคนอื่นๆ เนื่องจากการเข้าพิธีนั้นไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีความสะอาด
อิบนุ กุดามะฮฺ ได้กล่าวไว้ในตำราของท่าน (อัล-มุฆนีย์ : 3/ 293-294) “สรุปจากที่ได้กล่าวมานั้น แท้จริงการอาบน้ำชำระล้างร่างกายสำหรับผู้หญิงขณะเข้าพิธีนั้น เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ชาย เพราะเป็นพิธีกรรมชนิดหนึ่ง และสำหรับผู้ที่มีประจำเดือนและเลือดหลังคลอด ก็เน้นย้ำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจาก ญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
حَتَّى أَتَيْنَا ذا الْحُلَيْفَةِ فَوَلَدَتْ أَسْمَاءُ بِنْتُ عُمَيْسٍ مُحَمَّدَ بْنَ أَبِي بَكْر فَأَرْسَلَتْ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَيْفَ أَصْنَعُ ؟ ، قَالَ : «اغْتَسِلِي وَاسْتَثْفِرِي بِثَوْبٍ وَأَحْرِمِي»
ความว่า จนกระทั่งพวกเราได้มาถึงซุลหุลัยฟะฮฺ แล้วอัสมาอ์ บินตุ อุมัยสฺ ได้คลอดบุตรชื่อมุหัมมัด อิบนุ อบี บักรฺ แล้วเธอได้ส่งคนไปถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า ฉันจะทำอย่างไร? ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตอบว่า เธอจงอาบน้ำชำระร่างกายและใช้ผ้าซับเลือดไว้ และจงเข้าพิธีหัจญ์" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1650 และมุสลิม : 2941/2900)
และมีรายงานจากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«الْحَائِضُ وَالنُّفَسَاءُ إِذَا أَتَتَا عَلَى الْوَقْتِ تغتسلان و تُحْرِمَانِ وَتَقْضِيَانِ الْمَنَاسِكَ كُلَّهَا غَيْرَ الطَّوَافِ بِالْبَيْتِ»
ความว่า “สตรีที่มีประจำเดือน และสตรีที่มีเลือดหลังคลอด เมื่อทั้งสองมาถึงมีกอต (เขตกำหนดเพื่อการเข้าพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ) ก็จะอาบน้ำชำระร่างกายและเข้าพิธี และปฏิบัติภารกิจหัจญ์และ อุมเราะฮฺทุกประการนอกจากการเฏาะวาฟเท่านั้น" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 1744 )
และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งใช้ให้ท่านหญิงอาอิชะฮฺอาบน้ำชำระล้างร่างกายเข้าพิธีหัจญ์ในขณะที่เธอมีประจำเดือน (บันทึกโดยมุสลิม : 2929 )
เหตุผลของการอาบน้ำชำระล้างร่างกายสำหรับผู้มีประจำเดือน และเลือดหลังคลอดนั้นคือการทำความสะอาด และขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่นในขณะที่มีการรวมตัวกัน และทำให้นะญิส (มูลเหตุที่ต้องอาบน้ำชำระร่างกาย) เบาบางลง
หากเกิดมีประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอด ในขณะที่อยู่ในพิธีแล้ว ก็จะไม่มีผลกระทบอันใดและให้อยู่ในพิธีต่อไป และยังต้องหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามต่างๆ ของหัจญ์และอุมเราะฮฺ และจะต้องไม่เฏาะวาฟจนกว่าเลือดจะหยุดและได้อาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน
หากวันอะเราะฟะฮฺมาถึงในขณะที่เธอยังไม่สะอาด และยังอยู่ในพิธีอุมเราะฮฺอีก ก็ให้เธอเข้าพิธีหัจญ์โดยควบรวมกับอุมเราะฮฺที่เดียวเลย ซึ่งกรณีนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นการทำหัจญ์แบบกิรอนแทน (หัจญ์และอุมเราะฮฺในคราวเดียวกัน) หลักฐานในเรื่องดังกล่าวคือ
حَاضَت أن عَائِشَة رَضِيَ اللّهُ عَنْهَا حاضت وكَانَتْ أَهَلّتْ بِعُمْرَةٍ فَدَخَلَ عَلَيْهَا النّبِيّ صَلّى اللّهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ وَهِيَ تَبْكِي، قَالَ: «مَا يُبْكِيكِ لَعَلّكِ نَفِسْتِ؟» قَالَتْ نَعَمْ قَالَ: «هَذَا شَيْءٌ قَدْ كَتَبَهُ اللّهُ عَلَى بَنَاتِ آدَمَ، افْعَلِي مَا يَفْعَلُ الْحَاجّ، غَيْرَ أَنْ لَا تَطُوفِي بِالْبَيْتِ»
ความว่า “แท้จริงท่านหญิงอาอิชะฮฺได้มีประจำเดือน ขณะที่เธอได้อยู่ในพิธีอุมเราะฮฺ แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เข้ามาหาเธอ โดยที่เธอกำลังร้องไห้ ท่านเราะสูลถามว่า อะไรทำให้เธอร้องไห้ มีประจำเดือนหรือ? เธอตอบว่า ใช่ค่ะ ท่านเราะสูล กล่าวว่า นี่เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺได้ลิขิตแก่ลูกสาวของอาดัม จงปฏิบัติภารกิจเยี่ยงกับผู้ทำหัจญ์ทุกอย่าง เพียงแต่เธออย่าเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 305 และมุสลิม : 2911)
และในรายงานของญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม
ثُمَّ دَخَلَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى عَائِشَةَ ، فَوَجَدَهَا تَبْكِي فَقَالَ : «وَمَا شَأْنُكِ ؟» فَقَالَتْ : شَأْنِي أَنِّي قَدْ حِضْتُ وَقَدْ حَلَّ النَّاسُ وَلَمْ أُحْلِلْ وَلَمْ أَطُفْ بِالْبَيْتِ وَالنَّاسُ يَذْهَبُونَ إِلَى الحج الآن، فقال: «إِنَّ هَذَا أَمْرٌ كَتَبَهُ اللَّهُ عَلَى بَنَاتِ آدَمَ فَاغْتَسِلِي ثُمَّ أَهِلِّي بِالْحَجِّ»، فَفَعَلَتْ وَوَقَفَتِ الْمَوَاقِفَ حَتَّى إِذَا طَهُرَتْ طَافَتْ بِالْبَيْتِ وَبِالصَّفَا وَالْمَرْوَةِ ثُمَّ قَالَ : «قَدْ حَلَلْتِ مِنْ حَجِّكِ وَعُمْرَتِكِ جَمِيعًا»
ความว่า หลังจากนั้นท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็เข้ามาหาท่านหญิงอาอิชะฮฺ แล้วพบว่าเธอกำลังร้องไห้ ท่านเราะสูลจึงถามว่า “เป็นอะไรหรือ?" แล้วเธอก็ตอบว่า ฉันมีประจำเดือน ในขณะที่ผู้คนได้ปลดเปลื้องจากการทำอุมเราะฮฺแล้ว แต่ฉันยังมิได้ปลดเปลื้อง และยังมิได้เวียนรอบบัยตุลลอฮฺเลย และขณะนี้ผู้คนต่างเข้าสู่พิธีหัจญ์กันแล้ว ท่านเราะสูลกล่าวว่า “แท้จริงนี่เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺได้ลิขิตแก่ลูกสาวของอาดัม ดังนั้นจงอาบน้ำ แล้วเข้าสู่พิธีหัจญ์เสีย" แล้วเธอก็ได้กระทำ และได้ไปตามจุดต่างๆ ของภารกิจหัจญ์ จนกระทั่งเมื่อเธอสะอาดแล้ว เธอได้เวียนรอบบัยตุลลอฮฺ ภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺ จากนั้นท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวแก่เธอว่า “แท้จริงเธอได้ปลดเปลื้องทั้งจากหัจญ์และอุมเราะฮฺด้วยแล้ว" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 305 และมุสลิม : 2929)
อิบนุล ก็อยยิม ปราชญ์อาวุโสกล่าวไว้ในหนังสือ (ตะฮฺซีบุสสุนัน : 2/303) “หะดีษต่างๆ ซึ่งเป็นที่เชื่อถือได้ บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ประกอบพิธีอุมเราะฮฺก่อน จากนั้นเมื่อเธอมีประจำเดือน ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็สั่งให้เธอเข้าสู่พิธีหัจญ์ จึงกลายเป็นหัจญ์แบบกิรอน (หัจญ์พร้อมกับ อุมเราะฮฺ) และโดยเหตุนี้ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่เธอว่า การเฏาะวาฟเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ และการสะแอเวียนระหว่างภูเขาเศาะฟากับมัรวะฮฺ เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺของเธอ"
5. สิ่งที่สตรีจะต้องปฏิบัติขณะเข้าพิธีหัจญ์
สตรีจะปฏิบัติเยี่ยงผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ และการทำความสะอาด โดยการขจัดขน ผม เล็บ และกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เพื่อที่จะไม่ต้องทำสิ่งเหล่านั้นอีกในขณะที่เข้าพิธีแล้ว เพราะเป็นที่ต้องห้าม แต่ถ้าหากเธอไม่มีขน เล็บ และกลิ่นที่ต้องขจัด ก็ไม่จำเป็นต้องทำ เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เงื่อนไขของการ อิห์รอมเข้าพิธีแต่อย่างใด และไม่เป็นไรถ้าหากเธอจะใช้เครื่องหอมต่างๆ ตามร่างกาย ซึ่งสิ่งที่ไม่มีกลิ่นฟุ้งกระจาย เนื่องจากหะดีษ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา
كُنَّا نَخْرُجُ مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَنُضَمِّدُ جِبَاهَنَا بِالمِسْكِ عِنْدَ الْإِحْرَامِ ، فَإِذَا عَرِقَتْ إحْدَانَا سَالَ عَلَى وَجْهِهَا فَيَرَاها النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَلَا يَنْهَاهَا.
ความว่า “พวกเราได้ออกไปพร้อมกับท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม แล้วเราได้พันหน้าผากของเราด้วยผ้าที่มีน้ำหอม เมื่อจะเข้าพิธีอิห์รอม และเมื่อคนหนึ่งจากพวกเรามีเหงื่อไหลออกมา เหงื่อก็ไหลลงมาที่ใบหน้าของเธอ แล้วท่านก็เห็นและไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 1830)
อิมาม อัช-เชากานีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ (นัยลุลเอาฏอรฺ : 5 /12) “การนิ่งเฉยของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นบ่งบอกถึงการอนุญาต เพราะว่าท่านจะไม่นิ่งเฉยต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง"
6. ชุดที่สวมใส่ในพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ
เมื่อสตรีต้องการจะเข้าพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ เธอจะต้องถอดบุรกุอฺและนิกอบออก -หากเธอสวมใส่อยู่ก่อน- บุรกุอฺและ นิกอบ คือ สิ่งที่ใช้นำมาปิดหน้า ซึ่งมีสองรูตรงที่ตา ซึ่งสตรีจะมองผ่านรูทั้งสองนั้น และบุรกุอฺนั้นจะมิดชิดกว่านิกอบ เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«ولا تَنْتَقِبِ الْمَرْأَةُ»
ความว่า “สตรีที่อยู่ในพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺนั้นจะไม่สวมใส่นิกอบ" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1838)
เธอจะไม่สวมถุงมือทั้งสองข้าง แต่เธอจะปกปิดใบหน้าด้วยสิ่งอื่นที่ไม่ใช่นิกอบและบุรกุอฺได้ โดยนำเอาผ้าคลุมศีรษะหรือเสื้อผ้ามาปิดหน้าขณะที่ผู้ชายซึ่งมิใช่มะห์ร็อมมองมา และเช่นเดียวกันเธอจะปิดมือทั้งสองจากการมองของผู้ชายโดยไม่ใช้ถุงมือ แต่โดยการเอาเสื้อผ้ามาคลุม เนื่องจากใบหน้าและมือทั้งสองเป็นสิ่งที่ต้องปกปิดมิให้เพศชายมอง ทั้งในขณะอยู่ในพิธีหัจญ์และอื่นๆ
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “สตรีนั้นเป็นสิ่งพึงสงวน (เอาเราะฮฺ) ด้วยเหตุนี้จึงอนุโลมให้เธอสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดตัวของเธอ และใช้สิ่งของที่แบกถือเป็นร่มเงา แต่ทว่าท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามมิให้เธอสวมใส่นิกอบ หรือถุงมือ (กุฟฟาซ) และหากสตรีได้นำเอาสิ่งใดมาปกปิดใบหน้าโดยไม่สัมผัสกับใบหน้า ก็เป็นที่อนุญาตโดยมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ และหากปกปิดด้วยเป็นสิ่งสัมผัสกับใบหน้า ตามทัศนะที่ถูกต้องแล้ว ถือว่าเป็นที่อนุญาตเช่นเดียวกัน สตรีนั้นไม่ได้ถูกสั่งให้เอาผ้าคลุมหน้าแยกออกห่างไม่ให้ติดแนบกับใบหน้า ไม่ว่าด้วยไม้ ด้วยมือ หรือด้วยสิ่งอื่นๆ เพราะว่าท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้แบ่งแยกระหว่างใบหน้าและมือของเธอ และทั้งสองก็เหมือนกับร่างกายของผู้ชาย มิใช่เหมือนกับศีรษะ และบรรดาภรรยาของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะปล่อยผ้าคลุมศีรษะลงมาปิดที่ใบหน้า โดยไม่มีการคำนึงถึงเรื่องการให้ติดแนบหรือให้ห่างจากใบหน้า และไม่มีผู้รู้คนใดเลยรายงานจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ท่านได้กล่าวว่า การเข้าพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺของผู้หญิงคือการเปิดใบหน้าของเธอ แต่เป็นคำพูดของบางคนจากยุคสะลัฟเท่านั้น"
อิบนุล ก็อยยิม ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (ตะฮฺซีบุสสุนัน : 2/350) “ไม่มีรายงานจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เลยว่า สตรีต้องเปิดใบหน้าขณะเข้าพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ เพียงแต่ท่านห้ามมิให้สวมใส่นิกอบ... และเป็นที่ยืนยันว่า แท้จริงอัสมาอ์ได้ปิดใบหน้าของเธอ ขณะอยู่ในพิธี และท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
كَانَ الرُّكْبَانُ يَمُرُّونَ بِناَ وَنَحْنُ مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُحْرِمَات فَإِذَا حَاذَوْا بِنَا سَدَلَتْ إِحْدَانَا جِلْبَابَهَا مِنْ رَأْسِهَا عَلَى وَجْهِهَا فَإِذَا جَاوَزُونَا كَشَفْنَاهُ
ความว่า “ขบวนผู้ชายได้เดินผ่านมาทางพวกเรา ในขณะที่เราอยู่พร้อมกับท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยทุกคนอยู่ในพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ เมื่อพวกเขาเข้ามาใกล้ คนหนึ่งจากพวกเราก็ปล่อยเสื้อคลุมของเธอมาปิดหน้า โดยลงมาทางศีรษะ ครั้นเมื่อพวกเขาได้ผ่านไป เราก็จะเปิดมันออก (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 1833)
พึงทราบเถิด โอ้สตรีผู้ศรัทธาเอ๋ย เธอถูกห้ามไม่ให้ปกปิดใบหน้าและมือทั้งสอง ด้วยสิ่งที่มีการตัดเย็บเป็นชุดเฉพาะ เช่น นิกอบและถุงมือ และแท้จริงแล้วเธอจะต้องปิดใบหน้าและมือทั้งสอง เพื่อมิให้ชายที่ไม่ได้เป็นมะห์ร็อมเห็น โดยใช้ผ้าคลุมศีรษะ เสื้อผ้า และอื่นๆ และแท้จริงไม่มีหลักฐานใดที่สั่งให้วางสิ่งของเพื่อกั้นมิให้ผ้าคลุมสัมผัสกับใบหน้า ไม่ว่าด้วยไม้ และอื่นๆ
7. อาภรณ์ที่อนุโลมให้สวมใส่
อนุญาตให้สตรีที่อยู่ในพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ สวมใส่อาภรณ์ของผู้หญิง ซึ่งไม่มีการประดับประดา ไม่เลียนแบบอาภรณ์ผู้ชาย ไม่รัดรูปจนทำให้เห็นทรวดทรงของอวัยวะต่างๆ ไม่บางจนทำให้มองทะลุด้านใน และไม่สั้นจนไม่สามารถปิดมือและเท้าได้ แต่จะต้องเป็นอาภรณ์ที่หลวม หนา และกว้าง
อิบนุล มุนซิรฺ ได้กล่าวใน (อัล-มุฆนีย์ : 3/328) ว่า “และปวงปราชญ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าแท้จริงสำหรับสตรีที่ทำหัจญ์และอุมเราะฮฺนั้น เธอมีสิทธิที่จะสวมใส่เสื้อผ้า กางเกง ผ้าคลุมศีรษะ และรองเท้าหุ้มส้น" และไม่มีการเจาะจงให้สวมใส่เสื้อผ้าสีใดเป็นการเฉพาะ เช่น สีเขียวเป็นต้น แท้จริงเธอสามารถสวมใส่สีที่ปรารถนาได้ จากสีที่อนุโลมเฉพาะสำหรับผู้หญิง เช่น แดง เขียว หรือดำ และอนุโลมให้เปลี่ยนอาภรณ์ได้ตามความประสงค์
8. การกล่าวตัลบียะฮฺ
หลังจากเข้าพิธีแล้ว ส่งเสริมให้กล่าวคำตัลบียะฮฺด้วยเสียงที่ตัวเองได้ยิน อิบนุ อับดิลบัรฺ กล่าวไว้ว่า “ปวงปราชญ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าแท้จริงแบบอย่างสำหรับสตรีในการกล่าวคำตัลบียะฮฺ คือจะไม่ส่งเสียงดัง และให้เธอออกเสียงเท่าที่เธอได้ยิน ไม่ส่งเสริมให้กล่าวเสียงดัง เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดความเสียหาย และความเดือดร้อนแก่เธอ และด้วยเหตุนี้เองการอาซานและการอิกอมะฮฺจึงไม่มีแบบอย่างให้ปฏิบัติสำหรับสตรี ส่วนแนวปฏิบัติสำหรับสตรีในการเตือนอิมามในขณะละหมาดนั้นคือการตบมือ ไม่ใช่การกล่าวซุบหานัลลอฮฺ" (อัล-มุฆนีย์ : 2/330-331)
9. หลักปฏิบัติในการเฏาะวาฟเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ
ในการเฏาะวาฟเวียนรอบบัยตุลลอฮฺนั้น สตรีจะต้องมีการปกปิดอย่างมิดชิด ลดเสียง ลดสายตา และไม่ไปเบียดเสียดกับผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ที่มุมหินดำหรือมุมยะมะนีย์ การพยายามเวียนรอบบัยตุลลอฮฺบริเวณส่วนไกลสุดของลาน โดยไม่เบียดเสียดกับผู้ชายนั้นย่อมประเสริฐกว่าการเวียนในส่วนที่ใกล้สุดกับกะอฺบะฮฺพร้อมกับมีการเบียดเสียด เพราะการเบียดเสียดกับผู้ชายเป็นสิ่งที่ต้องห้าม เนื่องจากความปั่นป่วนจะเกิดขึ้น
ส่วนการอยู่ใกล้กับกะอฺบะฮฺและการจูบหินดำนั้น เป็นการกระทำที่ส่งเสริม ในกรณีที่มีความสะดวกเท่านั้น และเธอจะต้องไม่กระทำสิ่งที่ต้องห้ามเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ศาสนาส่งเสริม แต่ในสภาพที่มีการเบียดเสียดนั้น การจูบหินดำก็ไม่เป็นที่ส่งเสริมแก่เธอ เมื่อมาถึงแนวเขตของหินดำ ก็ให้เธอชี้ไปยังหินดำ
อิมาม อัน-นะวะวีย์ กล่าวไว้ ในหนังสือ (อัล-มัจญ์มูอฺ : 8/37) ว่า “บรรดาสหายของเรา (ปราชญ์ในสายอัช-ชาฟิอีย์) ได้กล่าวว่า “ไม่ส่งเสริมให้สตรีจูบและสัมผัสหินดำนอกจากในตอนที่ลานเวียนว่างเท่านั้น จะเป็นเวลากลางคืนหรือเวลาอื่นๆ เพราะจะเกิดอันตรายแก่พวกเธอเอง และเป็นอันตรายต่อคนอื่นด้วยๆ"
และอิบนุ กุดามะฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (อัล-มุฆนีย์ : 3/ 37) ว่า “ส่งเสริมให้สตรีทำการเวียนรอบบัยตุลลอฮฺในเวลาค่ำคืน เพราะเป็นการปกปิดที่ดียิ่งสำหรับเธอ และการแก่งแย่งจะน้อยกว่า เธอสามารถเข้าไปใกล้บัยตุลลอฮฺ และสามารถสัมผัสหินดำได้"
10. เดินเฏาะวาฟและสะแอโดยไม่ต้องวิ่ง
อิบนุ กุดามะฮฺ กล่าวว่า "การเฏาะวาฟและสะแอ (เดินเวียน) ของสตรีนั้นคือการเดินอย่างเดียวไม่ต้องวิ่ง อิบนุล มุนซิรฺ กล่าวว่า “ปวงปราชญ์มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่มีการวิ่งเหยาะๆ สำหรับสตรีในการเฏาะวาฟและสะแอ และไม่จำเป็นที่พวกเธอจะต้องสวมใส่ผ้าอิห์รอมพาดเฉียง (อิฎฏิบาอฺ) เนื่องจากหลักการเดิมของการวิ่งเหยาะๆ และการใส่ผ้าอิห์รอมพาดเฉียงนั้น เป็นการแสดงออกถึงความเข้มแข็ง และการแสดงออกเช่นนั้นมิได้มีเป้าหมายไปยังสตรี แต่เป้าหมายสำหรับสตรีคือการปกปิด และในการวิ่งเหยาะๆ และใส่ผ้าอิห์รอมพาดเฉียงอาจจะเป็นเหตุนำไปสู่การเผยเอาเราะฮฺ" (อัล-มุฆนีย์ : 3/394)
11. พิธีกรรมหัจญ์ที่ผู้มีประจำเดือนปฏิบัติได้และห้ามปฏิบัติ
สตรีที่มีประจำเดือนให้ปฏิบัติพิธีกรรมหัจญ์ได้ทุกประการ ได้แก่การเจตนาเข้าพิธี/อิห์รอม การไปวุกูฟ ณ อะเราะฟะฮฺ การค้างแรม ณ มุซดะลิฟะฮฺ การขว้างเสาหิน ยกเว้นการเฏาะวาฟเวียนรอบบัยตุลลอฮฺจนกว่าจะสะอาด เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านหญิงอาอิชะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ขณะที่เธอมีประจำเดือนว่า
«افْعَلِي مَا يَفْعَلُ الْحَاجُّ غَيْرَ أَنْ لَا تَطُوفِي بِالْبَيْتِ حَتَّى تَطْهُرِي»
ความว่า “จงปฏิบัติเยี่ยงคนทำหัจญ์ เพียงแต่เธอจะต้องไม่เวียนรอบบัยตุลลอฮฺจนกว่าเธอจะสะอาด"(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 305,5548 และมุสลิม : 2929)
และในสายรายงานของมุสลิม กล่าวว่า
«فَاقْضِي مَا يَقْضِي الْحَاجُّ غَيْرَ أَنْ لَا تَطُوفِي بِالْبَيْتِ حَتَّى تَغْتَسِلِي»
ความว่า “จงปฏิบัติเยี่ยงผู้ประกอบพิธีหัจญ์ เพียงแต่เธอจะต้องไม่เวียนรอบบัยตุลลอฮฺจนกว่าจะได้อาบน้ำชำระล้างร่างกาย" (บันทึกโดยมุสลิม : 2910)
อิมาม อัช-เชากานีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (นัยลุลเอาฏอรฺ : 5/49) ว่า “หะดีษบทนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ห้ามมิให้สตรีที่มีประจำเดือนทำการเฏาะวาฟเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ จนกว่าเลือดของเธอจะหยุดและได้อาบน้ำชำระล้างร่างกายแล้ว และการห้ามได้บ่งบอกถึงความเป็นโมฆะที่หมายถึงการใช้ไม่ได้ ดังนั้น การเวียนรอบบัยตุลลอฮฺของสตรีที่มีประจำเดือนนั้น เป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นคำกล่าวของบรรดาผู้รู้ส่วนมาก"
สตรีที่มีประจำเดือนจะยังไม่มีการสะแอระหว่างเศาะฟาและมัรวะฮฺ เนื่องจากการสะแอนั้นต้องทำหลังจากการเฏาะวาฟเท่านั้น (เฏาะวาฟกุดูมหรือเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ ทั้งสองเป็น เฏาะวาฟภาคบังคับ) เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยสะแอนอกจากหลังการเฏาะวาฟเท่านั้น
อิมาม อัน-นะวะวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (อัล-มัจญ์มูอฺ 8/82) ว่า “ประเด็นปัญหา หากเขาสะแอก่อนที่จะเฏาะวาฟ การ สะแอของเขาจะใช้ไม่ได้ตามทัศนะของเรา และเป็นทัศนะของผู้รู้ส่วนมาก และเราเคยนำเสนอจาก อัล-มาวัรดียฺว่า เขาได้รายงานมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นทัศนะของ อิมาม มาลิก, อบู หะนีฟะฮฺ และอะห์มัด
อิบนุล มุนซิรฺ ได้เล่าจากอะฏออ์และบางคนจากนักวิชาการหะดีษว่า “การสะแอก่อนเฏาะวาฟนั้นใช้ได้" บรรดาสหายของเรา (ของอัน-นะวะวีย์) ได้เล่าจากอะฏออ์และดาวูด หลักฐานของเราคือ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำการสะแอหลังจากเฏาะวาฟ และกล่าวว่า
«لِتَأْخُذُوا مَنَاسِكَكُمْ»
ความว่า “จงยึดแบบอย่างของฉันในการทำหัจญ์ของพวกท่าน" (บันทึกโดยมุสลิม : 1324)
ส่วนหะดีษของอุสามะฮฺ อิบนุ ชะรีก กล่าวว่า
قَالَ خَرَجْتُ مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَاجًّا فَكَانَ النَّاسُ يَأْتُونَهُ ، فَمِنْ قَائِلٍ : يَا رَسُولَ اللَّهِ سَعَيْتُ قَبْلَ أَنْ أَطُوفَ ، أَوْ أَخَّرْتُ شَيْئًا ، أَوْ قَدَّمْتُ شَيْئًا ؟ فَكَانَ يَقُولُ لَهُمْ : لا حَرَجَ ، لا حَرَجَ ، إِلّا عَلَى رَجُلٍ اقْتَرَضَ عِرْضَ رَجُلٍ مُسْلِمٍ وَهُوَ ظَالِمٌ ، فَذلك الَّذِي حَرَّجَ وَهَلَكَ.
ความว่า “ฉันได้ออกไปทำหัจญ์พร้อมกับท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ แล้วผู้คนทั้งหลายก็มาหาท่าน บางคนกล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ฉันสะแอก่อนเฏาะวาฟ หรือทำสิ่งนั้นก่อน ทำสิ่งนี้หลัง แล้วท่านก็ตอบว่า “ไม่เป็นบาปแต่อย่างใดนอกจากผู้ที่ทำลายชื่อเสียงของมุสลิม โดยที่เขาเป็นผู้อธรรม นั่นแหละคือผู้ที่หายนะและมีบาป" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 1695) ด้วยสายสืบที่ถูกต้อง ผู้รายงานหะดีษทุกคนเป็นผู้รายงานของ อัล-บุคอรีย์และมุสลิม นอกจากอุสามะฮฺ อิบนุ ชะรีก เขาคือเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
และหะดีษบทนี้มีความเป็นไปได้ตามการอธิบายของอัล-ค็อฏฏอบีย์ และท่านอื่นๆ ว่า "การสะแอก่อนเฏาะวาฟนั้น คือการสะแอหลังจากเฏาะวาฟกุดูม (เฏาะวาฟเมื่อมาถึง ซึ่งเป็นเฏาะวาฟอุมเราะฮ หรือเฏาะวาฟของหัจญ์กิรอน หรืออิฟรอด) ไม่ใช่เฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ (เฏาะวาฟหัจญ์) – จบการอ้างคำพูดของ อัน-นะวะวีย์
ชัยค์มุหัมมัด อัล-อะมีน อัช-ชันกีฏีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (อัฎวาอ์ อัล-บะยาน : 5/252) “พึงทราบเถิดว่า แท้จริงทัศนะของนักวิชาการส่วนมากคือการสะแอจะใช้ไม่ได้ นอกจากหลังการเฏาะวาฟเท่านั้น ถ้าหากว่าเขาสะแอก่อนเฏาะวาฟ แน่นอนการสะแอของเขาก็ใช้ไม่ได้ ตามทัศนะของนักวิชาการส่วนมาก ซึ่งได้แก่ อิมามทั้งสี่ท่าน อัล-มาวัรดียฺ และท่านอื่นๆ ได้รายงานมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ในเรื่องดังกล่าว" หลังจากนั้น ชัยค์อัช-ชันกีฏีย์ได้อ้างคำพูดของอัน-นะวะวีย์ ดังที่กล่าวก่อนนี้ และชัยค์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับหะดีษของ อิบนุ ชะรีก โดยอธิบายคำที่ว่า สะแอก่อน เฏาะวาฟนั้นคือสะแอก่อนเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ (เฏาะวาฟหัจญ์) ซึ่งเป็นรุก่นหลักสำคัญของหัจญ์ และก็ไม่ได้ขัดแย้งว่าเขาสะแอหลังเฏาะวาฟกุดูม ซึ่งมิใช่รุก่นของหัจญ์"
อิบนุ กุดามะฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (อัล-มุฆนีย์ : 5/240) “การสะแอนั้นอยู่หลังการเฏาะวาฟ การสะแอจะใช้ไม่ได้นอกจากจะต้องเฏาะวาฟก่อน ดังนั้นหากเขาทำการสะแอก่อน ก็ใช้ไม่ได้ นี่คือทัศนะของมาลิก อัช-ชาฟิอีย์ และสหายของอบูหะนีฟะฮฺ ส่วนอัล-อะฏออ์ กล่าวว่าใช้ได้ และมีรายงานจากอะห์มัดว่า ถือว่าใช้ได้หากเขาลืม และใช้ไม่ได้หากเขาตั้งใจ เนื่องจากเมื่อท่าน เราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับการกระทำก่อนและหลัง ในขณะที่ขาดความรู้และลืม ท่านก็กล่าวว่า “ไม่เป็นบาปแต่ประการใด"
และต้องให้น้ำหนักกับทัศนะที่หนึ่ง เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สะแอหลังจากเฏาะวาฟ และได้กล่าวว่า “จงยึดแบบอย่างของฉันในการทำหัจญ์ของพวกท่าน"
จากที่กล่าวมาเป็นที่รับรู้ได้ว่า แท้จริงหะดีษที่ถูกอ้างเป็นหลักฐานว่าการสะแอก่อนการเฏาะวาฟใช้ได้นั้น ในหะดีษไม่มีสิ่งใดที่เป็นหลักฐาน เนื่องจากมีความเป็นไปได้หนึ่งจากสองประการนี้
หนึ่ง อาจจะเกี่ยวกับผู้ที่สะแอก่อนเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ และเขาได้สะแอเพื่อเฏาะวาฟกุดูมมาแล้ว ดังนั้นการสะแอของเขาจึงอยู่หลังจากเฏาะวาฟนั่นเอง
สอง หรือมีความเป็นไปได้ว่าหะดีษจำกัดเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่รู้หรือลืมโดยมิได้ตั้งใจ และที่ฉันได้อธิบายยาวในปัญหานี้ เพราะในปัจจุบันได้มีผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนาว่า อนุญาตให้สะแอก่อน เฏาะวาฟได้ อัลลอฮุลมุสตะอาน
คำเตือน หากสตรีได้เฏาะวาฟเสร็จแล้ว จากนั้นเธอก็มีประจำเดือน ในสภาพเช่นนี้เธอจะทำการสะแอได้ เนื่องจากการ สะแอนั้นไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีความสะอาด
อิบนุ กุดามะฮฺ กล่าวใน (อัล-มุฆนีย์ : 5/246) ว่า นักวิชาการส่วนมากมีความเห็นว่า ความสะอาดไม่ใช่เงื่อนไขของการสะแอ และส่วนหนึ่งจากผู้รู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ คือ อะฏออ์, มาลิก, อัช-ชาฟีอีย์ , อบู เษารฺ และสหายของอบู หะนีฟะฮฺ
อบู ดาวูดได้กล่าวว่า “ฉันได้ยินอะห์มัด บิน หันบัล กล่าวว่า “เมื่อสตรีได้เฏาะวาฟแล้ว หลังจากนั้นเธอมีประจำเดือน ก็ให้เธอสะแอ จากนั้นเธอก็ออกเดินทางกลับภูมิลำเนา"
และมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ และอุมมุ สะละมะฮฺ ทั้งสองได้กล่าวว่า
«إذَا طَافَتِ الْمَرْأَةُ بِالْبَيْتِ ثُمَّ صَلَّتْ رَكْعَتَيْنِ ثُمَّ حَاضَتْ فَلْتَطُفْ بَيْنَ الصَّفَا وَالْمَرْوَةِ»
ความหมาย “เมื่อสตรีได้เฏาะวาฟและละหมาดสองร็อกอะฮฺแล้ว (สุนนะฮฺหลังเฏาะวาฟ) จากนั้นเธอมีประจำเดือน เธอก็จงสะแอระหว่างเศาะฟาและมัรวะฮฺต่อไปได้" (บันทึกโดยอัล-อัษร็อม ถ่ายทอดโดยอิบนุ อบี ชัยบะฮฺ : 14396)
12. อนุโลมให้สตรีออกจากมุซดะลิฟะฮฺก่อน
อนุญาตให้สตรีและคนอ่อนแอออกจากมุซดะลิฟะฮฺก่อนคนทั่วไป หลังจากที่ดวงจันทร์ได้หายไปจากขอบฟ้าแล้ว และอนุญาตให้ขว้างเสาหินต้นแรกเมื่อได้ไปถึงมีนา อันเนื่องจากเกรงว่าเธอจะได้รับความเดือดร้อนจากความแออัด
อิบนุ กุดามะฮฺ ได้กล่าวไว้ใน (อัล-มุฆนีย์ : 5/286) ว่า “ไม่เป็นไรในการที่จะให้คนอ่อนแอและกลุ่มสตรีได้ออกจาก มุซดะลิฟะฮฺก่อน" และส่วนหนึ่งจากผู้ที่ให้คนในครอบครัวที่อ่อนแอได้ออกก่อน ได้แก่ อับดุรเราะห์มาน บิน เอาฟฺ และท่านหญิง อาอิชะฮฺ และผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ คือ อะฏออ์, อัษ-เษารีย์, อัช-ชาฟิอีย์, อบู เษารฺ และสหายของอบู หะนีฟะฮฺ และเราไม่ทราบว่ามีผู้ใดมีความเห็นขัดแย้ง เพราะว่าในการให้ออกก่อนนั้นเป็นการผ่อนปรนแก่พวกเขา และป้องกันความลำบากที่เกิดจากการแออัด และเป็นการตามแบบอย่างของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม"
อิมาม อัช-เชากานีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (นัยลุลเอาฏอรฺ : 5/70) ว่า หลักฐานต่างๆ ได้บ่งชี้ว่า เวลาของการขว้างเสาหินนั้นคือหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการผ่อนปรนแก่เขา และสำหรับผู้ที่ได้รับการผ่อนปรน เช่น บรรดาสตรีและผู้ที่อ่อนแอก็อนุโลมให้ขว้างก่อนหน้านั้นได้"
อิมาม อัน-นะวะวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (อัล-มัจญ์มูอฺ : 8/125) ว่า “อัช-ชาฟิอีย์ และบรรดาสหายของเรา กล่าวว่า แบบอย่างของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือให้นำบรรดาสตรีและผู้ที่อ่อนแอออกจากมุซดะลิฟะฮสู่มีนาก่อน หลังจากที่เลยเที่ยงคืนไปแล้ว เพื่อให้พวกเขาจะได้ขว้างเสาหินต้นแรกก่อนที่จะมีการแออัดของผู้คน" - หลังจากนั้นเขา (อัน-นะวะวีย์) ได้ยกหลักฐานจากหะดีษมาอ้างอิง
13. การตัดผมของสตรี
สตรีจะตัดผมของเธอในการประกอบพิธีหัจญ์และ อุมเราะฮฺโดยตัดส่วนปลายของเส้นผมปริมาณข้อนิ้วมือส่วนบน และไม่อนุญาตให้โกนศีรษะ
อิบนุ กุดามะฮฺ กล่าวใน (อัล-มุฆนีย์ : 5/310) ว่า “และสิ่งที่ถูกบัญญัติแก่สตรีนั้นคือการตัดผม ไม่ใช่การโกน ซึ่งไม่มีความขัดแย้งอันใดในเรื่องดังกล่าว อิบนุล มุนซิร กล่าวว่า “ปวงปราชญ์มีมติเป็นเอกฉันท์ในเรื่องนี้ เนื่องจากการโกนศีรษะสำหรับสตรีนั้นเป็นการทำให้เสียโฉม" มีหะดีษจาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَيْسَ عَلَى النِّسَاءِ حَلْقٌ إِنَّمَا عَلَى النِّسَاءِ التَّقْصِير»
ความว่า “ไม่มีการโกนศีรษะสำหรับบรรดาสตรี แท้จริงสำหรับพวกเธอคือมีการตัดเท่านั้น" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 1984)
และจากอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
نَهَى رسُولُ اللهِ - صلى الله عليه وسلم - أنْ تَحْلِقَ المَرْأةُ رَأسَهَا
ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามมิให้สตรีโกนศีรษะของเธอ" (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 914)
อิมาม อะห์มัด กล่าวว่า “ให้เธอตัดออกจากทุกเปีย ปริมาณหนึ่งข้อนิ้วมือส่วนบน" ซึ่งเป็นทัศนะของอิบนุ อุมัรฺ, อัช-ชาฟิอีย์, อิสหาก และอบู เษารฺ
และอบู ดาวูด กล่าวว่า “ฉันได้ยินอิมามอะห์มัดถูกถามเกี่ยวกับสตรีว่าเธอจะตัดผมทั่วศีรษะใช่หรือไม่? ท่านตอบว่า ใช่ โดยที่เธอรวบผมของเธอไปยังท้ายทอย แล้วตัดปลายผมประมาณหนึ่งข้อนิ้วมือ"
อิมาม อัน-นะวะวีย์ ได้กล่าวใน (อัล-มัจญ์มูอฺ : 8/150,154) ว่า “ปวงปราชญ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า สตรีมิถูกสั่งใช้ให้โกนศีรษะ แต่หน้าที่ของเธอนั้นคือการตัดผมบนศีรษะของเธอ...เพราะการโกนเป็นสิ่งที่ถูกอุตริในศาสนาสำหรับพวกเธอ และทำให้เสียโฉม"
14. การเปลื้องอิห์รอมของสตรีที่มีประจำเดือน
เมื่อสตรีที่มีประจำเดือนได้ขว้างเสาหินต้นแรก(ญัมเราะฮฺ อะเกาะบะฮฺ) และได้ตัดผมของเธอแล้ว เธอก็สามารถปลดเปลื้อง(ตะหัลลุล)จากพิธีหัจญ์ได้ และสิ่งที่เคยต้องห้ามปฏิบัติเกี่ยวกับการทำหัจญ์ก็จะกลายเป็นที่อนุญาต เพียงแต่เธอยังไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับสามี ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้มีเพศสัมพันธ์ จนกว่าเธอจะได้เฏาะวาฟอิฟาเฏาะฮฺเสียก่อน ถ้าหากมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างนั้น ก็จำเป็นที่เธอจะต้องจ่ายค่าชดเชย คือการเชือดแพะหรือแกะหนึ่งตัวที่มักกะฮฺโดยแจกจ่ายให้แก่ผู้ขัดสนในเขตมักกะฮฺ เพราะว่าการกระทำดังกล่าวได้เกิดขึ้นหลังจากการปลดเปลื้องครั้งที่หนึ่งแล้ว
15. มีประจำเดือนหลังจากเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ
เมื่อสตรีมีประจำเดือนหลังจากเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺแล้ว เธอสามารถเดินทางเมื่อไหร่ก็ได้ตามความประสงค์ และเธอไม่ต้องเฏาะวาฟอำลา(วะดาอฺ)อีกต่อไป เนื่องจากหะดีษของท่านหญิง อาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
أَنَّ صَفِيَّةَ بِنْتَ حُيَيٍّ زَوْجَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَاضَتْ فَذَكَرْتُ ذَلِكَ لِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ: «أَحَابِسَتُنَا هِيَ ؟»، قلت إِنَّهَا قَدْ أَفَاضَتْ قَالَ : «فَلَا إِذَنْ»
ความว่า เศาะฟียะฮฺ บินตุ หุยัย ได้มีประจำเดือนหลังจากเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺแล้ว ฉันจึงบอกเรื่องดังกล่าวแก่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วท่านเราะสูลก็กล่าวว่า “เธอจะมาขัดขวางเรามิให้กลับมะดีนะฮฺหรือ?" ฉัน(อาอิชะฮ)กล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลอฮฺ แท้จริงเธอได้เข้าสู่มักกะฮฺและเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีประจำเดือนหลังจากเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นก็ให้เธอเดินทางได้" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1733 และมุสลิม : 3209)
และจากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
أُمِرَ النَّاسُ أَنْ يَكُونَ آخِرُ عَهْدِهِمْ بِالْبَيْتِ ، إلَّا أَنَّهُ خُفِّفَ عَنْ الْمَرْأَةِ الْحَائِضِ
ความว่า “ผู้คนทั้งหลายถูกใช้ให้ทำภารกิจสุดท้ายพวกของเขาด้วยการเฏาะวาฟบัยตุลลอฮฺ เพียงแต่ถูกผ่อนปรนให้แก่สตรีที่มีประจำเดือน" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ :1755 และมุสลิม : 3207)
และมีรายงานจากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เช่นเดียวกัน กล่าวว่า
رَخَّصَ لِلْحَائِضِ أَنْ تَصْدُرَ قَبْلَ أَنْ تَطُوفَ إِذَا كَانَتْ قَدْ طَافَتْ فِي الْإِفَاضَةِ
ความว่า “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ผ่อนปรนแก่สตรีที่มีประจำเดือนให้ออกเดินทางก่อนที่จะเฏาะวาฟอำลา เมื่อเธอได้เฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺแล้ว" (บันทึกโดยอะห์มัด : 3505)
อิมาม อัน-นะวะวีย์ได้กล่าวใน (อัล-มัจญ์มูอฺ : 8/281) อิบนุล มุนซิร กล่าวว่า “และบรรดาผู้รู้ทั่วไปก็ได้กล่าวเช่นนี้ ส่วนหนึ่งจากพวกเขาได้แก่ มาลิก, อะห์มัด, อิสหาก, อบู เษารฺ, อบู หะนีฟะฮฺ และท่านอื่นๆ"
อิบนุ กุดามะฮ (อัล-มุฆนีย์ : 3/65) กล่าวว่า “นี่คือทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์อิสลามส่วนมากจากเมืองต่างๆ และกล่าวว่า...บทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ที่มีเลือดหลังคลอด ก็เหมือนกับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้ที่มีประจำเดือน เพราะบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับเลือดหลังคลอด คือบทบัญญัติของเลือดประจำเดือนในสิ่งที่บังคับ และสิ่งที่ไม่ต้องทำ"
16. การเยือนมัสญิดนะบะวีย์
ส่งเสริมให้สตรีไปเยือนมัสญิดนะบะวีย์ ณ นครมะดีนะฮฺเพื่อละหมาดและทำการเคารพภักดีต่างๆ (ไปพร้อมกับมะห์ร็อม) แต่ไม่อนุญาตให้เยี่ยมสุสานของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เนื่องจากเธอถูกห้ามจากการเยี่ยมสุสาน
ชัยค์มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อาล อัช-ชัยค์ ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนาแห่งประเทศซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า “ความถูกต้องในประเด็นนี้คือห้ามมิให้สตรีเยี่ยมสุสานของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม เนื่องจากเหตุผลสองประการ
หนึ่ง ความครอบคลุมของหลักฐานที่ห้าม และเมื่อมีหลักฐานที่ครอบคลุมแล้ว ก็ไม่อนุญาตแก่คนใดมาหาข้อยกเว้น นอกจากจะมีหลักฐานอื่นมารองรับ อีกประการหนึ่งก็คือ เหตุผลที่ห้ามเยี่ยมสุสานก็ยังคงมีอยู่" (ดู มัจญ์มูอฺฟะตาวา : 3 /239)
ชัยค์ อับดุลอะซีซ บิน บาซ กล่าวไว้ในหนังสือการทำหัจญ์ของท่าน เมื่อกล่าวถึงการเยี่ยมสุสาน สำหรับคนที่เยี่ยมมัสญิดนะบะวีย์ว่า “การเยี่ยมสุสานถูกบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ชายเท่านั้น ส่วนสตรีไม่มีบทบัญญัติให้เยี่ยมสุสานเลย ดังที่มียืนยันจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านสาปแช่งบรรดาสตรีที่เยี่ยมสุสาน และผู้สร้างมัสญิดและประดับไฟบนสุสาน ส่วนการมุ่งไปยังมะดีนะฮเพื่อละหมาดในมัสญิดของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเพื่อทำการภักดีอื่นๆ นั้น ถูกบัญญัติให้แก่ทุกคน" (อัต-ตะห์กีก วัล-อีฎอหฺ : หน้า 19)
บทที่ 9 บัญญัติว่าด้วยการเป็นสามีภรรยา และการสิ้นสภาพ
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَمِنۡ ءَايَٰتِهِۦٓ أَنۡ خَلَقَ لَكُم مِّنۡ أَنفُسِكُمۡ أَزۡوَٰجٗا لِّتَسۡكُنُوٓاْ إِلَيۡهَا وَجَعَلَ بَيۡنَكُم مَّوَدَّةٗ وَرَحۡمَةًۚ إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَأٓيَٰتٖ لِّقَوۡمٖ يَتَفَكَّرُونَ ٢١ ﴾ [الروم: ٢١]
ความว่า “และส่วนหนึ่งจากสัญญาณต่างๆ แห่งอานุภาพของพระองค์ คือพระองค์ได้ทรงสร้างคู่ครองแก่พวกเจ้า ซึ่งมาจากพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขกับพวกเธอ และพระองค์ได้ทรงทำให้มีขึ้นระหว่างหมู่พวกเจ้า ซึ่งความรักและความเมตตา แท้จริงในสิ่งดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นสัญญาณต่างๆ สำหรับกลุ่มชนที่ใคร่ครวญ" (อัร-รูม : 21)
﴿ وَأَنكِحُواْ ٱلۡأَيَٰمَىٰ مِنكُمۡ وَٱلصَّٰلِحِينَ مِنۡ عِبَادِكُمۡ وَإِمَآئِكُمۡۚ إِن يَكُونُواْ فُقَرَآءَ يُغۡنِهِمُ ٱللَّهُ مِن فَضۡلِهِۦۗ وَٱللَّهُ وَٰسِعٌ عَلِيمٞ ٣٢ ﴾ [النور : ٣٢]
ความว่า “และจงสมรสให้แก่ผู้เป็นโสดจากหมู่พวกเจ้า และบรรดาคนดีจากทาสชายและทาสหญิงของพวกเจ้า หากพวกเขายากจน อัลลอฮฺจะทำให้พวกเขามั่งมี ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮฺ ทรงเป็นผู้กว้างใหญ่ไพศาล ทรงรอบรู้เสมอ" (อัน-นูรฺ : 32)
อิมาม อิบนุ กะษีรฺ กล่าวว่า “นี่คือคำสั่งให้จัดการสมรส แท้จริง ผู้รู้กลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า การสมรสนั้นเป็นภาคบังคับแก่ผู้ที่มีความสามารถ โดยยึดหลักฐานจากหะดีษที่ว่า
«يَا مَعْشَرَ الشَّبَابِ مَنْ اسْتَطَاعَ مِنْكُمْ الْبَاءَةَ فَلْيَتَزَوَّجْ فَإِنَّهُ أَغَضُّ لِلْبَصَر وَأَحْصَنُ لِلْفَرْجِ وَمَنْ لَم يَسْتَطِعْ فَعَلَيْهِ بِالصَّوْمِ فَإِنَّهُ لَهُ وِجَاءٌ»
ความว่า “โอ้บรรดาคนหนุ่มทั้งหลาย ผู้ใดจากหมู่พวกเจ้าถึงวัยที่สามารถมีเพศสัมพันธ์และค่าใช้จ่ายในการสมรส เขาจงทำการสมรส เพราะการสมรสนั้นทำให้ลดสายตาจากการมองสิ่งต้องห้าม และรักษาอวัยวะเพศให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่า และผู้ใดไม่มีความสามารถ เขาจงถือศีลอด เพราะการถือศีลอดนั้นเป็นสิ่งป้องกันสำหรับเขา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5065 และมุสลิม : 3384 จากอิบนุ มัสอูด)
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวถึงการสมรสว่าเป็นสาเหตุของความมั่งมี โดยยึดหลักฐานที่ว่า
﴿إِن يَكُونُواْ فُقَرَآءَ يُغۡنِهِمُ ٱللَّهُ مِن فَضۡلِهِۦۗ﴾ [النور : ٣٢]
ความว่า “หากพวกเขายากจน อัลลอฮฺจะทำให้พวกเขามั่งมี ด้วยความโปรดปรานของพระองค์" (อัน-นูรฺ : 32)
และมีรายงานจาก อบู บักรฺ อัศ-ศิดดีก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังอัลลอฮฺในการสมรสตามที่พระองค์ทรงสั่งใช้ แล้วพระองค์จะให้ความมั่งมีที่พระองค์สัญญาไว้แก่พวกท่านได้ลุล่วง อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿إِن يَكُونُواْ فُقَرَآءَ يُغۡنِهِمُ ٱللَّهُ مِن فَضۡلِهِۦۗ﴾ [النور : ٣٢]
ความว่า “หากพวกเขายากจน อัลลอฮฺจะทำให้พวกเขามั่งมี ด้วยความโปรดปรานของพระองค์" (อัน-นูรฺ : 32)
และมีรายงานจากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงแสวงหาความมั่งมีในการแต่งงานเถิด อัลลอฮฺตรัสว่า หากว่าพวกเขายากจน อัลลอฮฺจะทำให้พวกเขามั่งมี ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงกว้างใหญ่ไพศาล ทรงรอบรู้เสมอ" (รายงานโดยอิบนุ-ญะรีร) และในทำนองเดียวกันนี้ อัล-บะฆอวีย์ก็ได้รายงานจากอุมัรฺ (อิบนุ กะษีรฺ : 5/94 -95)
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “อัลลอฮฺได้อนุมัติการสมรสแก่บรรดาผู้ศรัทธา การหย่าร้าง และการสมรสกับสตรีที่ถูกหย่า หลังจากที่เธอได้สมรสกับชายอื่น ในขณะที่ชาวคริสต์ห้ามการแต่งงานกับคนที่เคยสมรสกับชายอื่น และผู้ใดที่พวกเขาอนุญาตให้สมรสแล้ว พวกเขาก็จะไม่อนุญาตให้ทำการหย่าร้าง ในขณะที่ชาวยิวอนุญาตให้มีการหย่าร้าง แต่เมื่อสตรีที่ถูกหย่าได้ไปสมรสกับคนอื่น เธอก็เป็นที่ต้องห้ามสำหรับสามีเดิม ในทัศนะของพวกเขา ในขณะที่ชาวคริสต์นั้นไม่มีการหย่าร้าง ณ ที่พวกเขา และชาวยิวนั้นไม่มีการคืนดีกัน หลังจากที่เธอได้ไปสมรสกับคนอื่น ในขณะที่อัลลอฮฺได้อนุมัติแก่บรรดาผู้ศรัทธาซึ่งสิ่งนี้และสิ่งนั้น" (มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา : 32/90)
อิบนุล ก็อยยิม กล่าวแจกแจงถึงประโยชน์ของการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งจากวัตถุประสงค์ของการสมรสว่า แท้จริงการมีเพศสัมพันธ์นั้นถูกกำหนดขึ้นเพราะเหตุผล 3 ประการ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก
หนึ่ง รักษาไว้ซึ่งการสืบเชื้อสาย และการคงอยู่ของมนุษย์ไปจนกระทั่งครบจำนวนที่อัลลอฮฺทรงกำหนดไว้
สอง นำเอาน้ำออกจากร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายหากกักเก็บไว้
สาม ขจัดกำหนัดและอารมณ์ใคร่ทางเพศ การได้ลิ้มรสความสุข และมีความสำราญกับความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
การสมรสมีประโยชน์มากมาย ที่สำคัญที่สุดได้แก่ :
- ป้องกันจากการผิดประเวณี และยับยั้งจากการมองสิ่งที่ต้องห้าม
- ทำให้ได้มาซึ่งเชื้อสาย และรักษาไว้ซึ่งวงศ์ตระกูล
- ทำให้เกิดความสุขระหว่างสามีภรรยา และมีความสงบทางอารมณ์
- ความร่วมมือระหว่างสามีภรรยาในการสร้างครอบครัวที่ดี ซึ่งครอบครัวที่ดีนั้นเปรียบเสมือนกับอิฐก้อนหนึ่งของสังคม
- สามีทำหน้าที่ดูแลและปกป้องภรรยา และภรรยาปฏิบัติงานภายในบ้าน และปฏิบัติหน้าที่ของเธอในการใช้ชีวิต ซึ่งต่างคำกล่าวอ้างของบรรดาศัตรูว่าเธอมีส่วนร่วมกับสามีในการทำงานนอกบ้าน พวกเขาจึงนำเธอออกไปนอกบ้านของเธอ ถอดถอนเธอออกจากหน้าที่ที่เหมาะสม และมอบหมายงานคนอื่นให้กับเธอ และมอบงานของเธอให้แก่คนอื่น ระบบครอบครัวจึงขาดเสถียรภาพ และเกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างสามีภรรยา ซึ่งบ่อยครั้งนำสู่การหย่าร้าง หรืออยู่ร่วมกันด้วยความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน (อัล-ฮัดย์ อัน-นะบะวีย์ : 3/149)
ชัยค์ มุหัมมัด อัล-อะมีน อัช-ชันกีฏีย์ กล่าวไว้ในตำราอธิบายความหมายอัลกุรอาน (อัฎวาอ์ อัล-บะยาน : 3 /422) “พึงทราบเถิด –ขออัลลอฮฺโปรดชี้นำฉันและท่าน เพื่อสิ่งที่พระองค์รักและพอพระฤทัย- แท้จริงปรัชญาที่ค้านกับอิสลาม ซึ่งมีความผิดพลาดและล้มเหลว ขัดแย้งกับความรู้สึก สติปัญญา ค้านกับโองการของอัลลอฮฺที่มาจากฟากฟ้า และค้านกับบัญญัติของผู้ทรงสร้าง โดยพยายามอ้างว่าต้องการให้มีความเสมอภาคระหว่างสตรีกับผู้ชาย ในทุกบทบัญญัติและในเวทีต่างๆ นั้น ล้วนแล้วทำให้เกิดความเสื่อมเสีย และทำให้เกิดความบกพร่องในระบบสังคมมนุษย์ ซึ่งทุกคนสามารถรับรู้ได้ นอกจากคนที่อัลลอฮฺให้สติปัญญาของเขามืดบอด ทั้งนี้เนื่องจากอัลลอฮฺให้ผู้หญิงมีลักษณะพิเศษ ซึ่งเหมาะสมที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมมนุษย์ –ความเหมาะสมที่ไม่มีใครทำแทนได้ เช่น การตั้งครรภ์ การคลอด การให้นม การเลี้ยงดูลูก การดูแลบ้าน การทำงานภายในบ้านอันประกอบไปด้วยการปรุงอาหาร การนวดแป้ง การปัดกวาดบ้าน และอื่นๆ และงานเหล่านี้ที่เธอปฏิบัติเพื่อสังคมมนุษย์ภายในบ้านนั้น มีความมิดชิด และปกป้องแก่เธอ มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง รักษาเกียรติ และคุณค่าต่างๆ ของการเป็นมนุษย์ ซึ่งการปฏิบัติงานของเธอนั้นไม่น้อยกว่าการหารายได้ของผู้ชายเลย
ดังนั้น คำกล่าวอ้างของบรรดาผู้ปฏิเสธที่โง่เขลาและพวกพ้องว่า แท้จริงสตรีนั้นมีสิทธิ์ในการทำงานนอกบ้านเหมือนกับผู้ชาย ทั้งที่ในเวลาตั้งครรภ์ให้นมลูกและอยู่ไฟ เธอไม่สามารถที่จะทำงานใดซึ่งมีความยากลำบากได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัด เมื่อเธอและสามีได้ออกทำงานนอกบ้าน งานบ้านทั้งหมดก็บกพร่องไม่ว่าจะเป็นการดูแลลูกๆ ที่ยังเล็ก การให้นมแก่ลูกที่อยู่ในวัยให้นม และการจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มแก่สามีเมื่อกลับมาจากทำงาน ถ้าหากว่าเขาได้ว่าจ้างคนหนึ่งคนใดมาทำหน้าที่แทนเธอ คนนั้นก็ย่อมอยู่เฉยๆ ภายในบ้านร้าง ซึ่งสตรีไม่ยอมอยู่กับบ้าน สุดท้ายก็ลงรอยเดิมคือการออกนอกบ้าน และการปล่อยปละละเลยของสตรี ทำให้เกิดการสูญเสียเกียรติและศาสนา"
โอ้สตรีผู้ศรัทธา เธอจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิดและอย่าหลงการโฆษณาชวนเชื่อนี้ เพราะสภาพของบรรดาสตรีที่โดนหลอกนั้น คือหลักฐานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมเสียและความล้มเหลวได้ดีที่สุด ในขณะที่ประสบการณ์เป็นหลักฐานที่ดียิ่ง
ดังนั้น จงรีบแต่งงานเถิดโอ้พี่น้องผู้ศรัทธา ตราบใดที่เธอยังเป็นหญิงสาว เป็นที่ปรารถนาของผู้คน อย่าได้ประวิงเวลาเนื่องจากการศึกษาต่อหรือทำงาน เพราะแท้จริงการแต่งงานที่ลงตัว จะมีความผาสุกและสบาย ซึ่งทดแทนการเรียนและการงานได้ การเรียนและตำแหน่งหน้าที่ไม่สามารถทดแทนการแต่งงานได้ แม้จะสูงสักปานใดก็ตาม
จงปฏิบัติหน้าที่ภายในบ้านของเธอ และจงดูแลลูกๆ เพราะนี่คืองานหลักของเธอ ซึ่งส่งผลในการใช้ชีวิตของเธอ อย่าได้แสวงหาสิ่งอื่นมาแลกเปลี่ยน เพราะไม่มีสิ่งใดเทียบได้ เธออย่าปล่อยให้โอกาสการแต่งงานกับคนดีๆ หลุดลอยไป เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِذَا جاءَكُمْ مَنْ تَرْضَوْنَ دِينَهُ وَخُلُقَهُ فَانْكِحُوهُ، إِلَّا تَفْعَلُوا تَكُنْ فِتْنَةٌ فِي الأَرْضِ، وَفَسَادٌ»
ความว่า “เมื่อมีคนที่พวกท่านพอใจในศาสนาของเขา และมารยาทของเขาได้เข้ามาสู่ขอยังพวกท่าน ก็จงจัดการแต่งงานให้กับเขา หากพวกท่านไม่กระทำแล้ว ก็จะมีความยุ่งเหยิงและความเสียหายบนแผ่นดิน" (บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ : 1085 โดยมีหะดีษอื่นๆ มาสนับสนุนในความถูกต้อง)
สภาพของสตรีที่จะแต่งงานด้วย
มี 3 สภาพด้วยกัน บางครั้งเป็นสาวพรหมจรรย์ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ หรือสาวพรหมจรรย์ที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว หรือเป็นสตรีที่เคยผ่านการแต่งงานมาแล้ว และแต่ละประเภทจะมีบทบัญญัติเฉพาะ
1. สาวพรหมจรรย์ซึ่งยังไม่บรรลุศาสนภาวะ
ผู้รู้ไม่มีการขัดแย้งกันว่า พ่อของเธอมีสิทธิ์ที่จัดการสมรสโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเธอ เนื่องจากสถานะของเธอยังให้การอนุญาตไม่ได้ (เพราะเป็นผู้เยาว์) เพราะอบูบักรฺได้จัดการแต่งงานท่านหญิงอาอิชะฮฺให้แก่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่เธอมีอายุ 6 ขวบ และให้เธอได้อยู่ร่วมห้องหอกับท่านในขณะที่เธอมีอายุ 9 ขวบ" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3896 และมุสลิม : 3464)
อิมาม อัช-เชากานีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ (นัยลุลเอาฏอรฺ : 6/128-129) ในหะดีษข้างต้นเป็นหลักฐานว่าอนุญาตให้พ่อแต่งงานลูกสาวก่อนที่จะบรรลุศาสนภาวะได้ และอัช-เชากานีย์ยังกล่าวอีกว่า ในหะดีษข้างต้นบ่งบอกชี้ว่า อนุญาตให้แต่งงานเด็กผู้หญิงที่ยังเยาว์วัยให้แก่ชายที่มีอายุมากได้ ซึ่งอิมามอัล- บุคอรีย์ ได้ตั้งชื่อบทในตำราหะดีษเช่นนั้น และได้นำเอาหะดีษของท่านหญิงอาอิชะอฺมาอ้างอิง และอิบนุ หะญัรฺ ได้อ้างมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ ไว้ในหนังสือฟัตหุลบารีย์ของท่าน
อิบนุ กุดามะฮฺ ได้กล่าวไว้ในอัล-มุฆนีย์ (6/487) “บรรดาผู้รู้ทุกคนที่เราได้จดจำมาจากพวกเขา มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า อนุญาตให้พ่อแต่งงานลูกสาวที่ยังเยาว์วัยโดยมิต้องขออนุญาตได้ เมื่อแต่งให้กับบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกัน"
ฉัน (ชัยค์เฟาซาน) กล่าวว่า “และในการที่อบูบักรฺจัดสมรสท่านหญิงอาอิชะฮฺให้แก่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่เธออายุได้ 6 ขวบ เป็นการโต้ตอบที่ล้ำลึกยิ่งต่อพวกที่ตำหนิการแต่งงานผู้เยาว์ให้แก่ชายที่อายุมาก และสร้างความเสียหายในประเด็นนี้ และพวกเขาถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียด และนี่มิใช่อื่นใดเลยนอกจากความโง่เขลาของพวกเขาเท่านั้น หรือพวกเขาต้องการที่จะสร้างความปั่นป่วน"
2. สาวพรหมจรรย์ซึ่งบรรลุศาสนภาวะแล้ว
เธอจะไม่ถูกแต่งงานนอกจากต้องได้รับอนุญาตจากเธอเสียก่อน และการอนุญาตของเธอคือการนิ่งเฉย เนื่องจากท่าน เราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«وَلَا تُنْكَحُ الْبِكْرُ حَتَّى تُسْتَأْذَنَ» قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّهِ ، فَكَيْفَ إذْنُهَا؟ قَال: «أَنْ تَسْكُتَ»
ความว่า “และสาวพรหมจรรย์จะไม่ถูกแต่งงานจนกว่าจะมีการขออนุญาตจากเธอ" พวกเขาถามว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ การอนุญาตของเธอเป็นอย่างไรเล่า? ท่านกล่าวว่า “คือการนิ่งเฉยของเธอ" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5136 และมุสลิม : 3458)
ดังนั้น จึงต้องได้รับการยินยอมจากเธอ แม้ว่าพ่อของเธอจะเป็นผู้แต่งงานให้ก็ตาม ตามทัศนะที่ถูกต้องจากสองทัศนะของบรรดาผู้รู้
อิบนุล ก็อยยิม ปราชญ์อาวุโสกล่าวว่า “และนี่คือทัศนะของบรรพชนส่วนมาก และทัศนะของอบู หะนีฟะฮฺ และอะห์มัดในรายงานหนึ่งจากหลายๆ รายงานของท่าน และเป็นทัศนะที่เรานำมาปฏิบัติ ซึ่งเราไม่ยึดถืออื่นใดนอกเหนือจากนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับการตัดสินชี้ขาดของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และสอดคล้องกับการสั่งใช้และการห้ามของท่าน" (อัล-ฮัดย์ อัน-นะบะวีย์ : 5/96)
3. สตรีที่ผ่านการแต่งงานแล้ว
เธอจะไม่ถูกแต่งงานนอกจากด้วยการอนุญาตของเธอเท่านั้น และการอนุญาตของเธอนั้นด้วยวาจา ซึ่งต่างกับสาวพรหมจรรย์เพราะการอนุญาตของเธอนั้นคือการนิ่งเฉย
อิบนุ กุดามะฮฺกล่าวว่า “สำหรับสตรีที่เคยผ่านการแต่งงานแล้วนั้น เราไม่ทราบว่าปวงปราชญ์มีความเห็นขัดแย้งกันเลยว่า การยินยอมของเธอคือการเปล่งวาจา ดังหะดีษของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และการพูดนั้นเป็นการสื่อถึงสิ่งที่อยู่ในใจ ซึ่งการเปล่งวาจาคือมาตรฐานในทุกเรื่องที่ต้องขออนุญาต" (อัล-มุฆนีย์ : 6/493)
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ ได้กล่าวไว้ในมัจญ์มูอฺ ฟะตาวา (32/39-40) “ไม่บังควรแก่คนใดที่จะแต่งงานให้กับสตรีนอกจากด้วยการยินยอมของเธอเท่านั้น ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้สั่งใช้ ถ้าหากเธอไม่ยินยอมก็ไม่มีคนใดบังคับเธอได้ นอกจากสาวพรหมจรรย์ที่ยังเยาว์วัย พ่อของเธอสามารถแต่งงานให้กับเธอได้ และไม่มีการอนุญาตใดๆ จากเธอ (เพราะยังเป็นผู้เยาว์) ส่วนสตรีที่เคยแต่งงาน ซึ่งบรรลุศาสนภาวะแล้ว ต้องได้รับการยินยอมจากเธอ ไม่ว่าจะเป็นพ่อหรือคนอื่น โดยมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ และเช่นเดียวกันสาวพรหมจรรย์ที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว คนอื่นจากพ่อและปู่ไม่มีสิทธิ์บังคับเธอ (หรือแต่งแบบคลุมถุงชนหรือขืนใจ) โดยมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ ส่วนพ่อและปู่ควรที่จะได้รับความยินยอมเสียก่อน และบรรดาผู้รู้มีความเห็นแตกต่างกันไปในเรื่องของการอนุญาต เป็นสิ่งที่บังคับหรือควรกระทำ (วาญิบหรือมุสตะหับ) และทัศนะที่ถูกต้องนั้นคือ มันเป็นสิ่งที่บังคับ และจำเป็นต่อผู้ปกครองของสตรีต้องมีความ ยำเกรงต่ออัลลอฮฺในเรื่องของผู้ที่เขาจะจัดการแต่งงานแก่เธอ และต้องพิจารณาถึงคนที่จะเป็นคู่ครองของเธอว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะว่าเขาแต่งงานให้เธอเพื่อผลดีแก่เธอไม่ใช่ผลดีแก่เขาอย่างเดียว"
วะลีย์ในการแต่งงาน
จำเป็นต้องมีวะลีย์หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิงในการแต่งงานและเหตุผลที่ต้องมีผู้ปกครอง
การให้สิทธิ์แก่สตรีในการเลือกคู่ครองที่เหมาะสมกับเธอนั้นไม่ได้หมายความว่าปล่อยให้เธอกระทำได้ตามอำเภอใจ จะแต่งงานกับใครตามที่เธอประสงค์ และหากเป็นเช่นนั้น ย่อมจะเป็นพิษภัยต่อญาติและครอบครัวของเธอ แต่แท้ที่จริงแล้วเธอต้องอาศัยผู้ปกครอง ซึ่งคอยดูแลการเลือกของเธอ ให้คำปรึกษา และจัดการแต่งงานแก่เธอ เธอไม่สามารถจะแต่งงานให้กับตัวเองได้ หากเธอแต่งงานให้กับตัวเอง การแต่งงานนั้นก็เป็นโมฆะ เนื่องจากหะดีษจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา
«أَيُّمَا امْرَأَةٍ نُكِحَتْ بِغَيْرِ إِذْنِ وَلِيِّهَا فَنِكَاحُهَا بَاطِلٌ»
ความว่า “สตรีคนใดแต่งงานให้กับตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของเธอ การแต่งงานของเธอก็เป็นโมฆะ (3 ครั้ง)" (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 1102 , อบู ดาวูด : 2083 , อิบนุ มาญะฮฺ : 1879 และอัต-ติรมิซีย์ : 1190 และกล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน)
และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا نِكَاحَ إِلَّا بِوَلِيٍّ»
ความว่า “ไม่มีการแต่งงานใดๆ นอกจากจะต้องมีผู้ปกครองของฝ่ายหญิง" (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 1101, อบู ดาวูด : 2085, อิบนุ มาญะฮฺ : 1881 และท่านอื่นๆ)
ทั้งสองหะดีษนี้และหะดีษที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน บ่งชี้ว่าการแต่งงานจะเป็นโมฆะ นอกจากจะต้องมีผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเท่านั้น เพราะว่าหลักพื้นฐานของคำว่า "ไม่" คือไม่ถูกต้อง และอัต-ติรมิซีย์ กล่าวว่า “นี่คือแนวปฏิบัติของปวงปราชญ์ เช่น อุมัรฺ, อะลีย์, อิบนุ อับบาส, อบู ฮูร็อยเราะฮฺ และท่านอื่นๆ และในทำนองเดียวกันนี้ มีรายงานจากบรรดานักวิชาการสาขานิติศาสตร์อิสลามของบรรดาตาบีอีนว่าแท้จริงพวกเขากล่าวว่า ไม่มีการแต่งงานนอกจากจะต้องมีผู้ปกครองของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์, อะห์มัด และอิสหาก" (โปรดดูอัล-มุฆนีย์ : 6/449)
การตีกลองเพื่อประกาศการแต่งงาน
ส่งเสริมให้มีการตีกลองของเหล่าสตรีเพื่อให้รู้ว่ามีการแต่งงาน และนั่นจะปฏิบัติกันในหมู่ของสตรีเป็นการเฉพาะโดยไม่มีดนตรี อุปกรณ์บันเทิงต่างๆ และไม่มีการขับร้องของนักร้อง และไม่เป็นไรในการที่สตรีจะเอาบทกวีมาขับร้องในโอกาสนี้ โดยที่ไม่ให้บรรดาบุรุษได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«فَصْلُ مَا بَيْنَ الْحَلَالِ وَالْحَرَامِ الدُّفُّ وَالصَّوْتُ فِي النِّكَاحِ»
ความว่า “การประกาศให้รู้ว่า ระหว่างชายหญิงคู่ไหนที่ฮาลาล(ร่วมชีวิตเป็นสามีภรรยากันแล้ว)หรือหะรอม(ยังไม่ได้เป็นสามีภรรยา) ก็คือกลองและการขับร้องในการแต่งงานนั่นเอง" (บันทึกโดยอะห์มัด :15451, อัต-ติรมิซีย์ : 1088, อัน-นะสาอีย์ : 3369 , อิบนุ มาญะฮฺ : 1896 และอัต-ติรมีซีย์ กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน)
อิมาม อัช-เชากานีย์ กล่าวว่า “ในสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าในงานแต่งนั้นอนุญาตให้มีการตีกลองและใช้เสียงดัง โดยนำถ้อยคำต่างๆ มากล่าวขาน เช่น เราได้มายังท่านทั้งหลายแล้ว เราได้มายังท่านทั้งหลายแล้ว และอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพลงยั่วยุเพื่อสิ่งเลวร้าย พรรณนาความงามของสตรี ลามก และการดื่มเหล้า เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นที่ต้องห้ามในงานแต่งและในโอกาสอื่นๆ และในทำนองเดียวกันกับการละเล่นต่างๆ ที่ต้องห้าม"
โอ้สตรีผู้ศรัทธา อย่าได้ฟุ่มเฟือยในการซื้อเครื่องประดับและเสื้อผ้า เนื่องในโอกาสงานแต่งเพราะอยู่ในความสุรุ่ยสุร่ายที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ และพระองค์ไม่รักคนที่สุรุ่ยสุร่าย จงใช้จ่ายโดยพอประมาณและอย่าโอ้อวด
﴿ وَلَا تُسۡرِفُوٓاْۚ إِنَّهُۥ لَا يُحِبُّ ٱلۡمُسۡرِفِينَ ٣١ ﴾ [الأعراف: ٣١]
“และพวกเจ้าอย่าได้ฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่รักผู้บรรดาที่ฟุ่มเฟือย" (อัล-อันอาม : 141)
ภรรยาต้องเชื่อฟังสามีและไม่อนุญาตให้ฝ่าฝืน
โอ้สตรีผู้ศรัทธาเอ๋ย จำเป็นที่เธอจะต้องเชื่อฟังสามีด้วยดี มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إذَا صَلَّتْ الْمَرْأَةُ خَمْسَهَا ، وَصَامَتْ شَهْرَهَا ، وَحَفِظَتْ فَرْجَهَا ، وَأَطَاعَتْ زَوْجَهَا دَخَلَتْ الْجَنَّةَ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ شاءت»
ความว่า “เมื่อสตรีได้ละหมาดห้าเวลา ถือศีลอด รักษาอวัยวะเพศของเธอ และเชื่อฟังสามี เธอก็จะได้เข้าสวรรค์จากประตูใดก็ได้ตามที่เธอประสงค์" (บันทึกโดย อิบนุ หิบบาน : 4252)
มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่าน เราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«لَا يَحِلُّ لِلْمَرْأَةِ أَنْ تَصُومَ وَزَوْجُهَا شَاهِدٌ إِلَّا بِإِذْنِهِ»
ความว่า “ไม่อนุญาตให้ภรรยาถือศีลอด (ภาคสมัครใจ) ขณะที่สามีไม่ได้เดินทาง นอกจากจะได้รับอนุญาตจากสามี และเธอจะไม่อนุญาตให้คนใดเข้าบ้านของสามี นอกจากสามีจะอนุญาต" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5192 และมุสลิม : 2367)
«إِذَا دَعَا الرَّجُلُ امْرَأَتَهُ إِلَى فِرَاشِهِ فَأَبَتْ فَبَاتَ غَضْبَانَ عَلَيْهَا لَعَنَتْهَا المَلَائِكَةُ حَتَّى تُصْبِح»
ความว่า “เมื่อสามีได้เรียกภรรยาของเขาไปยังที่นอน แล้วเธอปฏิเสธ แล้วได้เขานอนในสภาพที่โกรธเธอ บรรดามะลาอิกะฮฺสาปแช่งเธอจนถึงยามเช้า" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5193, 3237, มุสลิม : 3526 และท่านอื่นๆ) และในอีกรายงานของมุสลิม
«وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، مَا مِنْ رَجُلٍ يَدْعُو امْرَأَتَهُ إِلَى فِرَاشِهَا فَتَأْبَى عَلَيْهِ إِلَّا كَانَ الَّذِي فِي السَّمَاءِ سَاخِطًا عَلَيْهَا حَتَّى يَرْضَى عَنْهَا»
ความว่า “ฉันขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ไม่มีสามีคนใดที่เรียกภรรยาของเขาไปยังที่นอน แล้วเธอปฏิเสธ นอกจากผู้ที่อยู่บนฟากฟ้าได้โกรธกริ้วเธอ จนกว่าเขาจะพอใจต่อเธออีกครั้ง" (บันทึกโดยมุสลิม : 3525)
และส่วนหนึ่งจากสิทธิของสามีที่มีต่อภรรยา คือเธอจะต้องทำหน้าที่ดูแลรักษาบ้านเรือนของสามี และจะไม่ออกไปจากบ้านนอกจากจะได้รับอนุญาตจากเขาเท่านั้น ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«وَالْمَرْأَةُ فِي بَيْتِ زَوْجِهَا رَاعِيَةٌ وَهِيَ مَسْئُولَةٌ عَنْ رَعِيَّتِهَا»
ความว่า “และภรรยานั้นเป็นผู้ดูแลอยู่ในบ้านของสามี และเธอจะถูกสอบสวนจากหน้าที่ของเธอ" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์: 5200, มุสลิม: 4701, อบู ดาวูด: 2928 และอัตติรมิซีย์: 1705)
และส่วนหนึ่งจากสิทธิของสามีที่มีต่อภรรยาคือเธอจะต้องทำงานบ้าน และไม่ทำให้สามีต้องหาคนใช้ที่เป็นสตรี ซึ่งทำให้สามีต้องลำบากใจ เขาและลูกๆ อาจจะได้รับอันตรายเพราะคนใช้
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ ได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿فَٱلصَّٰلِحَٰتُ قَٰنِتَٰتٌ حَٰفِظَٰتٞ لِّلۡغَيۡبِ بِمَا حَفِظَ ٱللَّهُۚ﴾ [النساء : ٣٤]
ความว่า “บรรดาสตรีที่ดีนั้นคือผู้ที่เชื่อฟังภักดี (อัลลอฮฺและสามี) รักษาทุกสิ่งเมื่อสามีไม่อยู่ด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺให้เธอรักษา" (อัน-นิสาอ์ : 34)
โองการนี้บ่งชี้ว่าภรรยาต้องเชื่อฟังต่อสามีในทุกกรณี (โดยไม่มีข้อแม้) อันได้แก่การปรนนิบัติ ร่วมเดินทาง ร่วมหลับนอน และอื่นๆ ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำเป็นแบบอย่างไว้" (มัจญ์มูอฺฟะตาวา : 32/ 60-61)
อิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ผู้ที่เห็นว่าการปรนนิบัติต่อสามีเป็นหน้าที่ของภรรยา โดยนับว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรมได้อ้างหลักฐานจากอัลกุรอาน ส่วนการให้ภรรยาอยู่อย่างฟุ้งเฟ้อ ปล่อยให้สามีคอยบริการเธอ กวาดบ้าน โม่แป้ง นวดแป้ง ซักเสื้อผ้า ปูที่นอน และการบริการภายในบ้านนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ในขณะที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿وَلَهُنَّ مِثۡلُ ٱلَّذِي عَلَيۡهِنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ ﴾ [البقرة: ٢٢٨]
ความว่า “และสำหรับพวกเธอต้องได้รับการปฏิบัติด้วยดี ดังที่พวกเธอต้องปฏิบัติ" (อัล-บะเกาะเราะฮ : 228)
﴿ٱلرِّجَالُ قَوَّٰمُونَ عَلَى ٱلنِّسَآءِ﴾ [النساء : ٣٤]
ความว่า “และบรรดาสามีเป็นผู้ดูแลรักษาภรรยา" (อัน-นิสาอ์ : 34)
หากภรรยาไม่ได้ปรนนิบัติต่อเขา แต่เขาทำหน้าที่ดูแลรับใช้เธอ เธอก็จะกลายเป็นผู้ปกครองเหนือสามีแทน (ซึ่งตรงกันข้ามกับที่อัลกุรอานบัญญัติไว้) ...แท้จริงอัลลอฮฺได้กำหนดให้สามีจ่ายค่าครองชีพ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยของเธอ เพื่อแลกกับการหาความสุขจากตัวเธอ และการปรนนิบัติของเธอ ตามจารีตประเพณีของคู่ครอง
และเช่นเดียวกันนี้ แท้จริง ข้อตกลงต่างๆ ที่ศาสนาไม่ได้กำหนดกรอบไว้ก็ให้เป็นไปตามจารีต ซึ่งโดยจารีตแล้วนั้นภรรยาต้องปรนนิบัติสามีและรักษาผลประโยชน์ภายในบ้าน และไม่ถูกต้องที่แยกระหว่างสตรีที่มีศักดิ์และที่ไม่มีเกียรติ ที่ยากจนและร่ำรวย ดังตัวอย่างของสตรีผู้มีตระกูลที่สุด –หมายถึง ฟาฏิมะฮฺ บุตรี ของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม –เธอได้รับใช้สามีของเธอ และเธอได้ร้องทุกข์ต่อท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในเรื่องของการรับใช้ ท่านก็ไม่ได้ตอบสนองของการร้องทุกข์ของเธอ" (อัล-ฮัดย์ อัน-นะบะวีย์ : 5/188-189)
คำถาม เมื่อภรรยารู้สามีไม่ปรารถนาในตัวของเธอ โดยที่เธอประสงค์จะอยู่กับเขาต่อไป เธอจะทำอย่างไร?
คำตอบ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَإِنِ ٱمۡرَأَةٌ خَافَتۡ مِنۢ بَعۡلِهَا نُشُوزًا أَوۡ إِعۡرَاضٗا فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِمَآ أَن يُصۡلِحَا بَيۡنَهُمَا صُلۡحٗاۚ وَٱلصُّلۡحُ خَيۡرٞۗ ﴾ [النساء : ١٢٨]
ความว่า “และหากภรรยากลัวว่าสามีของเธอจะปล่อยวางหรือผินหลังให้ ก็ไม่เป็นบาปใดๆ แก่ทั้งสอง ในการที่ทั้งสองจะประนีประนอมกัน และการประนีประนอมนั้นเป็นสิ่งที่ดียิ่ง" (อัน-สาอ์ : 128)
อิบนุกะษีรฺ ได้กล่าวว่า หากภรรยากลัวว่าสามีจะหนีจากหรือทอดทิ้ง เธอมีสิทธิ์ที่จะตัดสิทธิ์ของเธอที่มีต่อสามีทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น ค่าครองชีพ เสื้อผ้า การร่วมหลับนอน หรืออื่นๆ และให้สามีรับข้อเสนอของเธอ และไม่เป็นบาปอันใดแก่เธอที่จะสละให้แก่เขา และไม่เป็นบาปอันใดที่เขาจะตอบรับ และด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِمَآ أَن يُصۡلِحَا بَيۡنَهُمَا صُلۡحٗاۚ وَٱلصُّلۡحُ خَيۡرٞۗ ﴾ [النساء : ١٢٨]
ความว่า “ก็ไม่เป็นบาปอันใดแก่ทั้งสองที่จะประนีประนอมระหว่างทั้งสอง และการประนีประนอมนั้นเป็นสิ่งที่ดียิ่ง" (อัน-นิสาอ์ : 128) กล่าวคือดีกว่าการแยกทาง...แท้จริงท่านหญิงเสาดะฮฺ บินติ ซัมอะฮฺ เมื่อเธอมีอายุมากขึ้น และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตั้งใจจะแยกทางกับเธอ และเธอก็ได้เจรจากับท่าน โดยให้คงสภาพการเป็นภรรยาไว้ และสละเวรของเธอแก่ท่านหญิง อาอิชะฮฺ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ตกลง และคงเธอไว้เหมือนเดิม (ตัฟซีรฺ อิบนุกะษีรฺ : 2/406)
คำถาม เมื่อภรรยาเกลียดชังสามี และไม่ต้องการที่จะเป็นภรรยาอีกต่อไป เธอจะทำอย่างไร?
ตอบ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿فَإِنۡ خِفۡتُمۡ أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ ٱللَّهِ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِمَا فِيمَا ٱفۡتَدَتۡ بِهِۦۗ ﴾ [البقرة: ٢٢٩]
ความว่า “หากพวกเจ้ากลัวว่าเขาทั้งสองจะไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮฺ ก็ไม่เป็นบาปอันใดแก่ทั้งสองในสิ่งที่เธอนำมาไถ่ตัว" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 229)
อิบนุ กะษีรฺ กล่าวว่า “เมื่อสามีภรรยาเกิดความขัดแย้งกัน และภรรยาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อสามี และเธอมีความเกลียดชังสามี และเธอไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้แล้ว เธอสามารถที่จะเอาสินสอดที่สามีเคยมอบให้แก่เธอมาไถ่ตัวได้ และไม่เป็นบาปอันใดแก่เธอที่จะจ่าย และไม่เป็นบาปที่เขาจะตอบรับ" (ตัฟซีรฺ อิบนุ กะษีรฺ : 1/483) นี่คือการซื้อหย่า
คำถาม เมื่อเธอขอแยกทางกับสามี โดยไม่มีอุปสรรคที่ได้รับการอนุโลม เธอจะได้รับโทษอย่างไร?
คำตอบ มีรายงานจาก เษาบาน ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَيُّمَا امْرَأَةٍ سَأَلَتْ زَوْجَهَا طَلاقًا فِي غَيْرِ مَا بَأْسٍ فَحَرَامٌ عَلَيْهَا رَائِحَةُ الْجَنَّة»
ความว่า “ภรรยาคนใดก็ตามที่ขอให้สามีหย่าเธอ โดยที่ไม่มีมูลเหตุแห่งปัญหาใดๆ ดังนั้น กลิ่นของสวรรค์ย่อมเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเธอ" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 2226 และอัตติรมิซีย์ : 1187)
นั่นก็เพราะว่าการหย่าร้าง เป็นสิ่งอนุมัติที่อัลลอฮฺเกลียดชังยิ่ง และแท้จริงจะกระทำเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น หากไม่มีความจำเป็นแล้ว ก็ย่อมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เนื่องจากสิ่งเลวร้ายต่างๆ ที่จะติดตามมา ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัด และความจำเป็นที่ทำให้ภรรยาหันไปพึ่งพาการหย่าร้างนั้น คือการที่สามีไม่ปฏิบัติหน้าที่ของเขาที่พึงมีต่อเธอ โดยเธอได้รับความเดือดร้อน หากยังอยู่ร่วมกันอีกต่อไป อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿فَإِمۡسَاكُۢ بِمَعۡرُوفٍ أَوۡ تَسۡرِيحُۢ بِإِحۡسَٰنٖۗ ﴾ [البقرة: ٢٢٩]
ความว่า “จากนั้นจงยับยั้งเธอไว้โดยชอบธรรม หรือปล่อยเธอไปด้วยดี" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 229)
และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ لِّلَّذِينَ يُؤۡلُونَ مِن نِّسَآئِهِمۡ تَرَبُّصُ أَرۡبَعَةِ أَشۡهُرٖۖ فَإِن فَآءُو فَإِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ٢٢٦ وَإِنۡ عَزَمُواْ ٱلطَّلَٰقَ فَإِنَّ ٱللَّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٞ ٢٢٧ ﴾ [البقرة: ٢٢٦، ٢٢٧]
ความว่า “สำหรับผู้ที่สาบานว่าพวกเขาจะไม่มีเพศสัมพันธ์กับภรรยานั้น ให้มีการรอคอยสี่เดือน ถ้าหากพวกเขากลับมาคืนดี (ในเวลาดังกล่าว) แน่นอนอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ทรงเมตตาเสมอ และถ้าหากพวกเขาตัดสินใจหย่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงได้ยิน ทรงรอบรู้" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 226-227)
สิ่งที่สตรีต้องปฏิบัติเมื่อสิ้นสภาพจากการเป็นภรรยา
การแยกทางระหว่างสามีกับภรรยานั้น มี 2 ประเภทด้วยกัน
หนึ่ง การแยกทางกันในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
สอง การแยกทางกันด้วยการตาย ในทั้งสองประเภทนี้ จำเป็นที่ภรรยาจะต้องอยู่ในอิดดะฮฺ
อิดดะฮฺ คือ ระยะเวลาการรอคอยตามศาสนบัญญัติโดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้เธอเป็นที่ต้องห้ามมิให้แต่งงาน จนกว่าการแต่งงานเดิมจะจบสิ้นอย่างสมบูรณ์ และทำให้มดลูกสะอาดจากการตั้งครรภ์ เพื่อมิให้ชายอื่นซึ่งมิใช่สามีที่แยกทางกับเธอมามีเพศสัมพันธ์ เพราะเป็นเหตุให้เกิดความคลุมเครือ และสับสนในการสืบตระกูล และในการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการรักษาสิทธิ์ของการแต่งงานที่ผ่านมา และรักษาสิทธิ์ของสามีที่แยกทาง (เพื่อให้สิทธิ์ในการคืนดี) และเพื่อให้ประจักษ์ถึงผลกระทบจากการแยกทางกับสามี
อิดดะฮฺมี 4 ประเภท
ประเภทที่หนึ่ง สตรีที่ตั้งครรภ์ อิดดะฮฺของนางคือการคลอด ไม่ว่าในกรณีใดๆ จะเป็นการหย่าที่มีสิทธิ์คืนดีหรือไม่มีสิทธิ์คืนดีก็ตาม หรือแยกทางกันโดยการเสียชีวิตของสามี อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَأُوْلَٰتُ ٱلۡأَحۡمَالِ أَجَلُهُنَّ أَن يَضَعۡنَ حَمۡلَهُنَّۚ وَمَن يَتَّقِ ٱللَّهَ يَجۡعَل لَّهُۥ مِنۡ أَمۡرِهِۦ يُسۡرٗا ٤ ﴾ [الطلاق : ٤]
ความว่า “และบรรดาสตรีที่ตั้งครรภ์นั้น กำหนดเวลาของพวกเธอคือการคลอด" (อัฏ-เฏาะลาก : 4)
ประเภทที่สอง สตรีที่ถูกหย่า ซึ่งยังเป็นผู้ที่ยังมีประจำเดือน อิดดะฮฺของนางคือ ต้องให้ผ่านประจำเดือน 3 ครั้ง ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَٱلۡمُطَلَّقَٰتُ يَتَرَبَّصۡنَ بِأَنفُسِهِنَّ ثَلَٰثَةَ قُرُوٓءٖۚ ﴾ [البقرة: ٢٢٨]
ความว่า “และบรรดาสตรีที่ถูกหย่านั้น พวกเธอจะรอคอยสามกุรูอ์ สำหรับตัวของพวกเธอ" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 228) คำว่า “3 กุรูอ์" หมายถึง ประจำเดือนมา 3 ครั้ง
ประเภทที่สาม สตรีที่ไม่มีประจำเดือน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เยาว์ที่ยังไม่มีประจำเดือน และสตรีที่มีอายุมากซึ่งหมดประจำเดือนแล้ว
อัลลอฮฺได้แจกแจงอิดดะฮฺของทั้งสองประเภทนี้ ด้วยโองการที่ว่า
﴿ وَٱلَّٰٓـِٔي يَئِسۡنَ مِنَ ٱلۡمَحِيضِ مِن نِّسَآئِكُمۡ إِنِ ٱرۡتَبۡتُمۡ فَعِدَّتُهُنَّ ثَلَٰثَةُ أَشۡهُرٖ وَٱلَّٰٓـِٔي لَمۡ يَحِضۡنَۚ ﴾ [الطلاق : ٤]
ความว่า “และบรรดาภรรยาของพวกเจ้าที่หมดหวังในการมีประจำเดือนแล้ว และบรรดาผู้ที่ยังไม่มีประจำเดือน หากพวกเจ้าสงสัยอิดดะฮฺของพวกเธอ อิดดะฮฺของพวกนางคือสามเดือน" (อัฏ-เฏาะลาก : 4)
ประเภทที่สี่ สตรีที่สามีเสียชีวิต อัลลอฮฺได้แจกแจงถึง อิดดะฮฺของพวกเธอ ด้วยโองการที่ว่า
﴿ وَٱلَّذِينَ يُتَوَفَّوۡنَ مِنكُمۡ وَيَذَرُونَ أَزۡوَٰجٗا يَتَرَبَّصۡنَ بِأَنفُسِهِنَّ أَرۡبَعَةَ أَشۡهُرٖ وَعَشۡرٗاۖ ﴾ [البقرة: ٢٣٤]
ความว่า “และบรรดาผู้ที่ตายไปจากพวกเจ้า และได้ทิ้งเหล่าภรรยาไว้ พวกเธอจะรอคอยด้วยตัวของพวกเธอเป็นเวลาสี่เดือนกับสิบวัน" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 234)
อิดดะฮฺสำหรับภรรยาที่สามีเสียชีวิต (สี่เดือนสิบวัน) ครอบคลุมถึงสตรีที่ได้มีเพศสัมพันธ์กับเธอแล้วหรือไม่ก็ตาม เป็นผู้เยาว์หรือมีอายุมาก แต่ไม่ครอบคลุมถึงสตรีที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากอิดดะฮฺของเธอคือการคลอด (อัล-ฮัดย์ อัน-นะบะวีย์ ของอิบนุลก็อยยิม : 5/594-595)
ข้อห้ามสำหรับสตรีที่อยู่ในอิดดะฮฺ
1. การสู่ขอเพื่อแต่งงาน
1.1 สตรีที่อยู่ในอิดดะฮซึ่งมีสิทธิ์คืนดีได้ (คือการหย่าหนึ่งหรือสองครั้งสำหรับภรรยาที่ได้มีเพศสัมพันธ์กันแล้ว) ห้ามมิให้สู่ขอเพื่อแต่งงานโดยสำนวนชัดถ้อยชัดคำหรือคำที่เป็นนัย เนื่องจากเธอยังคงเป็นภรรยา ดังนั้น จึงไม่อนุญาตแก่คนใดที่จะสู่ขอเธอเพื่อแต่งงาน เพราะเธอยังอยู่ในการครอบครองของสามี
1.2 สตรีที่อยู่ในอิดดะฮฺซึ่งไม่มีสิทธิ์คืนดี (เช่นหย่า 3 ครั้งหรือเสียชีวิต)
ห้ามมิให้สู่ขอโดยสำนวนที่ชัดเจน แต่อนุญาตให้ใช้สำนวนที่เป็นนัย เนื่องจากอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ فِيمَا عَرَّضۡتُم بِهِۦ مِنۡ خِطۡبَةِ ٱلنِّسَآءِ﴾ [البقرة: ٢٣٥]
ความว่า “และไม่มีบาปใดอันแก่พวกเจ้าในการสู่ขอหญิงด้วยถ้อยคำที่เป็นนัย(สำหรับหญิงที่อยู่ในอิดดะฮฺที่สามีเสียชีวิต หรืออิดดะฮฺที่สามีหย่า 3 ครั้ง)" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 235)
และสำนวนที่ชัดเจน คือการแสดงเจตจำนงในการแต่งงานกับเธอ เช่นคำว่า “ฉันต้องการจะแต่งงานกับเธอ" เพราะบางทีเธออาจจะบอกว่าหมดอิดดะฮฺแล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงยังไม่หมดเพราะเธอต้องการแต่งงาน ซึ่งต่างกับสำนวนที่เป็นนัย เนื่องจากไม่ได้บอกอย่างชัดเจนว่าจะแต่งงานกับเธอ ดังนั้น สิ่งที่เป็นข้อห้ามก็จะไม่ตามมา และเนื่องจากตามความเข้าใจจากโองการนี้ (ในโองการนี้อนุญาตให้ใช้สำนวนที่เป็นนัย ดังนั้นเข้าใจได้ว่าห้ามสำนวนที่ชัดเจน)
ตัวอย่างของสำนวนที่เป็นนัย เช่นคำว่า “แท้จริงฉันปรารถนาผู้ที่มีลักษณะเหมือนเธอ" และอนุญาตให้สตรีที่อยู่ใน อิดดะฮฺซึ่งไม่มีสิทธิ์คืนดีตอบรับการสู่ขอที่เป็นนัยด้วยสำนวนที่เป็นนัย และไม่อนุญาตให้เธอตอบรับการขอที่ชัดเจน และสตรีที่อยู่ในอิดดะฮฺซึ่งคืนดีได้นั้นไม่อนุญาตให้ตอบรับการสู่ขอ ไม่ว่าจะเป็นสำนวนที่ชัดเจนหรือสำนวนที่เป็นนัยก็ตามที
2. ไม่อนุญาตแต่งงานสตรีที่อยู่ในอิดดะฮฺให้แก่ชายอื่นที่ไม่ใช่สามีคนเดิม
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَلَا تَعۡزِمُواْ عُقۡدَةَ ٱلنِّكَاحِ حَتَّىٰ يَبۡلُغَ ٱلۡكِتَٰبُ أَجَلَهُۥۚ﴾ [البقرة: ٢٣٥]
ความว่า “และพวกเจ้าอย่าได้ตัดสินใจจัดการแต่งงาน จนกว่าจะบรรลุเวลาที่ถูกกำหนดไว้ (คือหมดเวลาของอิดดะฮฺ)" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 235)
อิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวในตัฟซีรฺ (1/509) ว่า “หมายถึงพวกเจ้าอย่าได้จัดการแต่งงาน จนกว่าอิดดะฮฺจะหมดเสียก่อน แท้จริงปวงปราชญ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการแต่งงานในช่วงเวลาของอิดดะฮฺนั้นใช้ไม่ได้"
เกร็ดความรู้ 2 ประการ
หนึ่ง สตรีที่ถูกหย่าก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์จะไม่มีอิดดะฮฺใดๆ สำหรับเธอ
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا نَكَحۡتُمُ ٱلۡمُؤۡمِنَٰتِ ثُمَّ طَلَّقۡتُمُوهُنَّ مِن قَبۡلِ أَن تَمَسُّوهُنَّ فَمَا لَكُمۡ عَلَيۡهِنَّ مِنۡ عِدَّةٖ تَعۡتَدُّونَهَاۖ ﴾ [الأحزاب : ٤٩]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกเจ้าได้สมรสกับบรรดาหญิงผู้ศรัทธา ต่อมาพวกเจ้าได้หย่าพวกเธอก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์กับพวกเธอ ดังนั้นจะไม่มีสิทธิ์สำหรับพวกเจ้าที่จะนับอิดดะฮฺใดๆ ต่อพวกเธอ" (อัล-อะห์ซาบ : 49)
อิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวในตัฟซีรฺ (5/479) ว่า “นี่เป็นสิ่งที่ปวงปราชญ์มีความเห็นพ้องกันว่า แท้จริงสตรีที่ถูกหย่าก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์นั้นก็ไม่มีอิดดะฮฺใดๆ ต่อเธอ เธอจะไปแต่งงานได้ทันทีกับใครก็ได้ตามที่เธอประสงค์"
สอง สตรีที่ถูกหย่าก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ แต่ได้มีการกำหนดสินสมรสหรือมะฮัรฺแก่เธอแล้วเธอมีสิทธิ์ได้รับครึ่งหนึ่ง และสตรีใดที่ไม่ได้มีการกำหนดสินสมรสให้แก่เธอ เธอมีสิทธิ์ได้รับของปลอบใจ ด้วยสิ่งที่สามีหาได้อย่างสะดวก เช่น เครื่องนุ่งห่มและอื่นๆ
และสตรีที่ถูกหย่าหลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว เธอมีสิทธิ์ได้รับสินสมรสทั้งหมด อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ لَّا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ إِن طَلَّقۡتُمُ ٱلنِّسَآءَ مَا لَمۡ تَمَسُّوهُنَّ أَوۡ تَفۡرِضُواْ لَهُنَّ فَرِيضَةٗۚ وَمَتِّعُوهُنَّ عَلَى ٱلۡمُوسِعِ قَدَرُهُۥ وَعَلَى ٱلۡمُقۡتِرِ قَدَرُهُۥ مَتَٰعَۢا بِٱلۡمَعۡرُوفِۖ حَقًّا عَلَى ٱلۡمُحۡسِنِينَ ٢٣٦ وَإِن طَلَّقۡتُمُوهُنَّ مِن قَبۡلِ أَن تَمَسُّوهُنَّ وَقَدۡ فَرَضۡتُمۡ لَهُنَّ فَرِيضَةٗ فَنِصۡفُ مَا فَرَضۡتُمۡ﴾ [البقرة: ٢٣٦-٢٣٧]
ความว่า “ไม่มีบาปอันใดสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้าได้หย่าสตรี ตราบใดที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์กับพวกเธอ หรือยังมิได้กำหนดสินสมรสให้แก่พวกเธอ และพวกเจ้าจงมอบสิ่งปลอบใจให้แก่พวกเธอ ใครที่มั่งมีก็ให้ตามความสามารถของเขา และผู้ยากจนก็ให้ตามความสามารถของเขา เป็นการมอบให้โดยชอบธรรม เป็นหน้าที่ของคนมีคุณธรรมทั้งหลาย และหากพวกเจ้าได้หย่าก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์กับพวกเธอ ในขณะที่พวกเจ้าได้กำหนดสินสมรสแก่พวกเธอแล้ว ดังนั้นจงจ่ายครึ่งหนึ่งของสิ่งที่พวกเจ้าได้กำหนด" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 236-237)
หมายความว่าไม่มีบาปอันใดสำหรับพวกเจ้าในการหย่าภรรยาก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ และก่อนกำหนดสินสมรส ถึงแม้ในการกระทำดังกล่าวเป็นการสร้างความเจ็บปวดแก่เธอก็ตาม แท้จริงแล้วควรจะทดแทนด้วยสิ่งปลอบใจ และนั่นก็คือตามสภาพของสามี ขัดสนหรือมั่งมี ก็ให้ปฏิบัติกันตามจารีต หลังจากนั้น อัลลอฮฺได้กล่าวถึงภรรยาที่มีการกำหนดสินสมรสแก่เธอแล้ว โดยที่พระองค์ทรงสั่งใช้ให้สามีมอบครึ่งหนึ่งของสินสมรสให้แก่เธอ
อิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวในตัฟซีรฺ (1/512 ) ว่า “การแบ่งสินสมรสออกเป็นสองส่วน -ในกรณีเช่นนี้- เป็นเรื่องที่ปวงปราชญ์เห็นพ้องกันโดยไม่มีการขัดแย้งอันใด"
3. ห้าสิ่งต้องห้ามสำหรับสตรีซึ่งอยู่ในอิดดะฮฺจากการตายของสามีซึ่งเรียกว่า “อัล-หิดาด" (การไว้ทุกข์)
หนึ่ง เครื่องหอมทุกชนิด (สำหรับการแต่งตัว ไม่ใช่เครื่องหอมเพื่อทำความสะอาด) ดังนั้น เธอจะไม่ใช้เครื่องหอมตามร่างกาย เสื้อผ้า และเธอจะไม่ใช้สิ่งที่ถูกทำให้หอม เนื่องจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«وَلَا تَمَسُّ طِيبًا»
ความว่า “และเธอจะไม่แตะต้องน้ำหอม" (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 2299)
สอง การประดับประดาตามเรือนร่างของเธอ ดังนั้นห้ามมิให้เธอย้อมด้วยใบเทียน และการตกแต่งทุกประเภท เช่น การทาขอบตา การย้อมสีของผิวหนัง นอกจากภาวะความจำเป็นที่จะต้องทาขอบตาเพื่อการรักษาเยียวยาเท่านั้น มิใช่เพื่อการตกแต่ง เธอสามารถที่จะทาขอบตาได้ในเวลาค่ำคืนและลบออกในเวลากลางวัน และไม่เป็นไรที่เธอจะรักษาตาของเธอด้วยสิ่งอื่น ซึ่งไม่ใช่ยาทาขอบตาจากสิ่งที่ไม่ใช่เครื่องประดับ
สาม การประดับประดาด้วยเสื้อผ้าชนิดต่างๆ จากสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อการตกแต่ง และเธอจะใส่เสื้อผ้าตามที่สวมใส่กันตามปกติ ไม่มีการตกแต่งใดๆ และไม่การเจาะจงสีใดเป็นการเฉพาะ
สี่ การสวมใส่เครื่องประดับทุกชนิด แม้กระทั่งแหวน
ห้า อาศัยบ้านหลังอื่นจากบ้านที่เธออาศัยอยู่ขณะสามีเสียชีวิต และเธอจะไม่ย้ายไปอยู่ที่อื่น นอกจากจะมีข้อผ่อนปรนตามศาสนบัญญัติเท่านั้น ไม่ออกไปเยี่ยมคนป่วย เยี่ยมเยียนเพื่อน หรือญาติใกล้ชิด และอนุญาตให้เธอออกไปในเวลากลางวันเพื่อทำธุระต่างๆ ที่จำเป็นได้ และสิ่งอื่นๆ ที่ศาสนาอนุมัติก็สามารถทำได้
อิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “เธอจะไม่ถูกห้ามจากการตัดเล็บ ขจัดขนรักแร้ โกนขนที่ศาสนาส่งเสริมให้โกน และไม่ถูกห้ามจากการอาบน้ำด้วยน้ำใบพุทราและหวีผมด้วยน้ำใบพุทรา" (อัล-ฮัดย์ อัน-นะบะวีย์ : 5/507)
ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “และอนุญาตให้เธอรับประทานทุกสิ่งทุกอย่างที่อัลลอฮฺอนุมัติ เช่น ผลไม้ เนื้อ และเช่นเดียวกันอนุญาตให้ดื่มทุกสิ่งที่อนุมัติ... และไม่เป็นที่ต้องห้ามแก่เธอในการกระทำงานหนึ่งงานใดจากการงานที่อนุมัติ เช่น การปักถักร้อย การตัดเย็บ การทอ และอื่นๆ จากงานทั่วไปของสตรี และอนุญาตให้เธอกระทำสิ่งอื่นๆ ที่อนุมัติแก่เธอในช่วงที่ไม่มีอิดดะฮฺ เช่น การพูดกับผู้ชายที่เธอมีความจำเป็นจะต้องพูดกับเขา โดยเธออยู่ในสภาพที่ปกปิดมิดชิด และการกระทำอื่นๆ และสิ่งที่ฉันได้กล่าวถึงนี้ คือแนวทางของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเหล่าภริยาของบรรดาเศาะหาบะฮฺได้ปฏิบัติกันเมื่อเหล่าสามีของพวกเธอได้เสียชีวิต" (มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา : 34/27-28)
ส่วนสิ่งที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปกล่าวว่า แท้จริงเธอจะต้องปกปิดใบหน้าไม่ให้ดวงจันทร์ได้เห็น โดยการไม่ขึ้นไปบนดาดฟ้า ไม่ให้พูดกับผู้ชาย ปิดหน้าไม่ให้มะห์ร็อมของเธอได้เห็น และอื่นๆ ทั้งหมดนั้นไม่มีหลักฐานรับรองแต่ประการใด วัลลอฮุอะอฺลัม
บทที่ 10 ว่าด้วยการรักษาเกียรติและความบริสุทธิ์ของสตรี
1. สตรีต้องลดสายตาและรักษาอวัยวะเพศเช่นเดียวกับผู้ชาย
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ قُل لِّلۡمُؤۡمِنِينَ يَغُضُّواْ مِنۡ أَبۡصَٰرِهِمۡ وَيَحۡفَظُواْ فُرُوجَهُمۡۚ ذَٰلِكَ أَزۡكَىٰ لَهُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ خَبِيرُۢ بِمَا يَصۡنَعُونَ ٣٠ وَقُل لِّلۡمُؤۡمِنَٰتِ يَغۡضُضۡنَ مِنۡ أَبۡصَٰرِهِنَّ وَيَحۡفَظۡنَ فُرُوجَهُنَّ﴾ [النور : ٣٠-٣١]
ความว่า “จงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายเถิด ให้ลดสายตาของพวกเขาและรักษาอวัยวะเพศของพวกเขา นั่นเป็นความบริสุทธิ์ยิ่งสำหรับพวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเขากระทำ และจงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาหญิงเถิด ให้พวกเธอลดสายตาของพวกเธอ และรักษาอวัยวะเพศของพวกเธอ" (อัน-นูรฺ : 30-31)
ชัยค์มุหัมมัด อัล-อะมีน อัช-ชันกีฏีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรฺของท่าน (อัฎวาอ์ อัล-บะยาน : 6/186-187) ว่า “อัลลอฮฺได้สั่งใช้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง ให้ลดสายตาและรักษาอวัยวะเพศ สิ่งที่จัดอยู่ในการรักษาอวัยวะเพศด้วยก็คือการรักษาให้พ้นจากการผิดประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผู้ชายด้วยกัน หรือผู้หญิงกับผู้หญิง และรักษาให้พ้นจากการนำมาแสดงและเปิดเผยแก่ผู้คน...และอัลลอฮฺได้สัญญาแก่ผู้ชายและผู้หญิงที่ปฏิบัติตามบัญชาของพระองค์ในโองการนี้ ว่าจะได้รับการอภัยโทษ และการตอบแทนรางวัลอันใหญ่หลวง เมื่อเขาได้ลดสายตาและรักษาอวัยวะเพศพร้อมกับกระทำสิ่งต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ในโองการนี้
﴿ إِنَّ ٱلۡمُسۡلِمِينَ وَٱلۡمُسۡلِمَٰتِ وَٱلۡمُؤۡمِنِينَ وَٱلۡمُؤۡمِنَٰتِ وَٱلۡقَٰنِتِينَ وَٱلۡقَٰنِتَٰتِ وَٱلصَّٰدِقِينَ وَٱلصَّٰدِقَٰتِ وَٱلصَّٰبِرِينَ وَٱلصَّٰبِرَٰتِ وَٱلۡخَٰشِعِينَ وَٱلۡخَٰشِعَٰتِ وَٱلۡمُتَصَدِّقِينَ وَٱلۡمُتَصَدِّقَٰتِ وَٱلصَّٰٓئِمِينَ وَٱلصَّٰٓئِمَٰتِ وَٱلۡحَٰفِظِينَ فُرُوجَهُمۡ وَٱلۡحَٰفِظَٰتِ وَٱلذَّٰكِرِينَ ٱللَّهَ كَثِيرٗا وَٱلذَّٰكِرَٰتِ أَعَدَّ ٱللَّهُ لَهُم مَّغۡفِرَةٗ وَأَجۡرًا عَظِيمٗا ٣٥ ﴾ [الأحزاب : ٣٥]
ความว่า “แท้จริง บรรดาชายและหญิงมุสลิมที่สวามิภักดิ์ต่อ อัลลอฮฺ บรรดามุอ์มินผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้เชื่อฟังอัลลอฮฺชายและหญิง บรรดาผู้สัจจะชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ยำเกรงทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ทำทานทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาชายและหญิงที่รักษาอวัยวะเพศของพวกเขา และบรรดาชายและหญิงที่รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมาย อัลลอฮฺนั้นได้ทรงจัดเตรียมไว้ให้แก่พวกเขา ซึ่งการอภัยโทษ และผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่" (อัล-อะห์ซาบ : 35)
คำกล่าวของชัยค์ที่ว่า “ผู้หญิงกับผู้หญิง" หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ของผู้หญิงกับผู้หญิงด้วยการถูไถ และนั่นเป็นการกระทำที่เป็นบาปใหญ่ สมควรที่ผู้กระทำทั้งสองต้องได้รับการลงโทษเพื่อเป็นการอบรมสั่งสอน
อิบนุ กุดามะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “เมื่อผู้หญิงสองคนทำการถูไถกัน เธอทั้งสองก็ผิดประเวณี ซึ่งจะถูกสาปแช่ง เนื่องจากมีการรายงานจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إذَا أَتَتْ الْمَرْأَةُ الْمَرْأَةَ ، فَهُمَا زَانِيَتَانِ»
ความว่า “เมื่อผู้หญิงสมสู่กับผู้หญิงด้วยกัน เธอทั้งสองก็เป็นผู้ผิดประเวณี" ทั้งสองจะต้องถูกตะอฺซีรฺ(โทษตามการพิจารณาของผู้พิพากษา) เนื่องจากเป็นการผิดประเวณีที่ไม่มีโทษถูกกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ" (อิบนุ กุดามะฮฺ : 8/198)
จงหลีกเลี่ยงการกระทำที่น่ารังเกียจเช่นนี้เถิด โอ้สตรีผู้ศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาหญิงสาว
ส่วนการลดสายตานั้น อิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “การจ้องมองนั้น จะเป็นปัจจัยนำไปสู่ความใคร่ การยับยั้งสายตาจากการมองเป็นแก่นของการรักษาอวัยวะเพศ ดังนั้น ผู้ใดปล่อยสายตาของเขา เขาย่อมนำตัวของเขาเองสู่ความหายนะ และแท้จริง ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “โอ้ อะลีย์ เอ๋ย ท่านอย่าได้มองซ้ำ เพราะแท้จริงแล้ว สิทธิของท่านคือการมองครั้งที่หนึ่งเท่านั้น" ซึ่งหมายถึง การมองอย่างกะทันหันโดยไม่ตั้งใจ และในอัล-มุสนัดของอะห์มัด ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “การมองเป็นลูกศรหนึ่งซึ่งอาบยาพิษ จากบรรดาลูกศรของอิบลีส..." และการมองนั้นเป็นที่มาของความวิบัติต่างๆ ที่ประสบกับผู้คน เพราะการมองจะทำให้เกิดการจินตนาการ การจินตนาการจะทำให้เกิดความคิด จากนั้นความคิดทำให้เกิดความใคร่ ความใคร่จะทำให้เกิดความต้องการ หลังจากนั้นมันจะกลายเป็นความตั้งใจที่มุ่งมั่น แล้วจะเกิดการกระทำอย่างแน่นอน ตราบใดที่ไม่มีสิ่งหักห้าม และด้วยเหตุนี้ จึงมีสุภาษิตว่า การอดทนในการลดสายตานั้น ง่ายกว่าการอดทนในความเจ็บปวดของสิ่งที่จะตามมา" (อัล-ญะวาบ อัล-กาฟีย์ : 129-130)
ดังนั้น โอ้สตรีผู้ศรัทธาเอ๋ย จำเป็นที่เธอจะต้องลดสายตาไม่ไปมองผู้ชาย ไม่มองรูปภาพต่างๆ ที่นำพาสู่ความวิบัติซึ่งมีอยู่ในวารสารบางฉบับ ตามจอโทรทัศน์ หรือวีดีโอ -แล้วเธอจะปลอดภัยจากบั้นปลายที่ชั่วช้า มากต่อมากแล้วที่การมองได้นำพาความโศกเศร้ามาให้ผู้มอง และไฟกองใหญ่นั้นมักเริ่มมาจากสะเก็ดไฟ
2. การออกห่างจากการฟังเพลงและดนตรี
อิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “และส่วนหนึ่งจากเล่ห์กลของชัยฏอนมารร้ายที่นำมาหลอกผู้ที่มีความรู้น้อย คนเบาปัญญา และผู้ไม่เคร่งครัดศาสนา และที่นำมาใช้จับหัวใจของพวกผู้ที่โง่เขลา และผู้ก่อความเสื่อมเสีย คือการฟังเสียงโห่ร้อง การตบมือ การร้องเพลงที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องห้าม ซึ่งกีดกั้นเป็นอุปสรรคไม่ให้อัลกุรอานทะลุเข้าไปในหัวใจ และทำให้หัวใจจมปลักอยู่กับการฝ่าฝืน และอบายมุขต่างๆ ดนตรีเป็นบทสวดของชัยฏอนมารร้าย เป็นกำแพงกั้นระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺ เป็นเวทมนต์กล่อมเป่านำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายและการผิดประเวณีกับต่างเพศ ด้วยเสียงเพลงนี้ ผู้มีความใคร่อันชั่วช้าจะได้สมหวังกับคนที่เขาหลงใหล ... ส่วนการฟังเพลงจากสตรีหรือชายหนุ่มรูปหล่อนั้นเป็นบาปที่ใหญ่ยิ่ง และทำให้เกิดความเสื่อมเสียในศาสนาเป็นอย่างมาก... และไม่มีข้อกังขาเลยว่า แท้จริง ทุกคนที่มีความหึงหวงนั้น เขาจะให้ครอบครัวของเขาห่างไกลจากการฟังเพลงเหมือนกับที่ต้องการให้พวกเธอออกห่างสาเหตุต่างๆ ที่น่าระแวง ... และเป็นที่ทราบกันดีว่า แท้จริงเมื่อผู้ชายเข้าหาสตรีด้วยความยากลำบาก เขาก็จะพยายามให้เธอได้รับฟังเสียงเพลง เพื่อว่าเธอนั้นจะได้ใจอ่อน ทั้งนี้เนื่องจากสตรีจะมีความรู้สึกต่อเสียงต่างๆ อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เมื่อเสียงนั้นเป็นเสียงเพลง ความรู้สึกของเธอก็จะเกิดขึ้นด้วยสองทางด้วยกัน กล่าวคือทางด้านเสียงและด้านความหมายของมัน ... เมื่อเสียงเพลงถูกประกอบด้วยกลอง ความเป็นสาว และการเต้นรำอย่างอ่อนช้อย แล้วหากสตรีนั้นได้ตั้งครรภ์เพราะเพลง แน่นอน เธอย่อมตั้งครรภ์ด้วยเสียงเพลงเช่นนี้ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ มากต่อมากแล้วที่สตรีต้องเป็นโสเภณีเพราะเสียงเพลง"
โอ้สตรีผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺเถิดและจงระวังโรคร้ายเยี่ยงนี้ นั่นคือการฟังเพลงต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มของบรรดามุสลิมด้วยความหลากหลายของสื่อและรูปแบบ ซึ่งทำให้หญิงสาวจำนวนมากที่รู้ไม่เท่าทัน ได้สั่งซื้อจากแหล่งผลิตและส่งมอบให้เป็นของขวัญในกลุ่มพวกเธอซึ่งกันและกัน
3. การไม่อนุญาตให้เดินทางโดยไม่มีมะห์ร็อม
ช่องทางหนึ่งที่จะรักษาอวัยวะเพศ คือห้ามมิให้สตรีเดินทางโดยไม่มีมะห์ร็อม ซึ่งคอยปกป้องคุ้มกันเธอจากพวกเกะกะเกเรและคนชั่วทั้งหลาย ดังมีหะดีษที่เชื่อถือได้รายงานว่า ไม่อนุญาตให้สตรีเดินทางโดยปราศจากมะห์ร็อม เช่น รายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا تُسَافِرُ الْمَرْأَةُ ثَلَاثًا إِلَّا وَمَعَهَا ذُو مَحْرَمٍ»
ความว่า “สตรีจะไม่เดินทางเป็นเวลาสามวัน นอกจากจะต้องพร้อมกับมะห์ร็อมเท่านั้น" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1862 และมุสลิม : 1338)
จากอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ “ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามมิให้สตรีเดินทางในระยะเวลาสองวัน...." (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1864 และมุสลิม : 3249)
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا يَحِلُّ لِامْرَأَةٍ تُؤْمِنُ بِاَللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ أَنْ تُسَافِرَ مَسِيرَةَ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ إلَّا وَمَعَهَا حُرْمَةٌ»
ความว่า “ไม่อนุญาตให้สตรีที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลกเดินทางในระยะทางวันกับคืน นอกจากต้องพร้อมกับมะห์ร็อมของเธอเท่านั้น" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1088 และมุสลิม : 3249)
การกำหนดระยะเวลาในหะดีษต่างๆ สามวัน สองวัน และหนึ่งวันกับหนึ่งคืนนั้น เป้าหมายคือ ตามสภาพของพาหนะการเดินทางในสมัยนั้น เดินทางด้วยเท้าและยานพาหนะต่างๆ และความแตกต่างของหะดีษในการกำหนดเวลา สามวัน สองวัน หรือวันกับคืน หรือที่น้อยกว่านั้น -บรรดาผู้รู้ได้ตอบชี้แจงว่า สำนวนของหะดีษไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป้าหมายคือทุกสภาพที่ถูกเรียกว่าเป็นการเดินทาง ดังนั้น สตรีจึงถูกห้ามเดินทางโดยปราศจากมะห์ร็อม
อิมาม อัน-นะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในการอธิบายหะดีษของอิมามมุสลิมว่า “บทสรุป คือทุกสิ่งที่ถูกเรียกว่าการเดินทางนั้น สตรีถูกห้ามไม่ให้เดินทางโดยไม่มีสามี หรือไม่มีมะห์ร็อมเดินทางไปด้วย ไม่ว่าการเดินทางสามวัน สองวัน หนึ่งวัน สิบสองไมล์ หรืออื่นๆ เนื่องจากในรายงานของอิบนุ อับบาส ไม่ได้กำหนดเวลา ซึ่งเป็นรายงานสุดท้ายของอิมามมุสลิม (สตรีจะไม่เดินทางโดยไม่มีมะห์ร็อม) และรายงานนี้ครอบคลุมทุกสิ่งที่เรียกว่าเดินทาง" วัลลอฮุอะอฺลัม (ชัรห์ เศาะฮีหฺ มุสลิม : 9/103)
ส่วนผู้ที่ชี้ขาดว่า อนุญาตให้สตรีเดินทางไปกับหมู่คณะของสตรี เพื่อประกอบพิธีหัจญ์ภาคบังคับนั้น ขัดแย้งกับคำสอนของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อิมามอัล-ค็อฏฏอบียฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (มะอาลิมุสสุนัน : 2/276-277) คู่กับตะฮฺซีบของอิบนุลก็อยยิมว่า “แท้จริงท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามเธอไม่ให้เดินทางนอกจากจะต้องมีผู้ชายที่เป็นมะห์ร็อมพร้อมกับเธอด้วย ดังนั้นการอนุญาตให้เธอเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์โดยไม่มีเงื่อนไขตามที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม วางไว้นั้น เป็นสิ่งที่ค้านกับแบบอย่างของท่าน ต่อมาเมื่อการออกไปของเธอโดยที่ไม่มีมะห์ร็อมเป็นการฝ่าฝืน ก็ย่อมไม่อนุญาตให้บังคับเธอเพื่อการทำหัจญ์ นั่นคือการเชื่อฟังภักดีซึ่งนำไปสู่การฝ่าฝืน"
ฉัน(ผู้เขียน)ขอกล่าวว่า พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ชี้ขาดว่าอนุญาตให้สตรีเดินทางโดยไม่มีมะห์ร็อมในทุกกรณีไม่ และแท้จริงแล้วพวกเขาอนุญาตให้เธอกระทำเช่นนั้นได้เฉพาะกรณีประกอบพิธีหัจญ์ภาคบังคับเท่านั้น
อิมาม อัน-นะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ไม่อนุญาตให้เธอเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ภาคสมัครใจ ไปทำการค้า การเยี่ยมเยียน และอื่นๆ นอกจากจะต้องมีมะห์ร็อมเท่านั้น" (อัล- มัจญ์มูอฺ : 8/249)
ดังนั้น ผู้ที่ปล่อยให้สตรีในสมัยนี้เดินทางโดยที่ไม่มี มะห์ร็อมเดินทางไปด้วยนั้น ไม่มีผู้รู้คนใดที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือ มีความเห็นสอดคล้องกับคนเหล่านั้น
ส่วนคำพูดของพวกเขาที่ว่า “แท้จริงมะห์ร็อมของเธอจะให้เธอโดยสารเครื่องบินไป หลังจากนั้นจะมีมะห์ร็อมอีกคนมาต้อนรับเมื่อถึงปลายทาง เพราะว่าเครื่องบินนั้นมีความปลอดภัย ตามการอ้างของพวกเขาอันเนื่องจากมีผู้โดยสารชายและหญิงเป็นจำนวนมาก" เราก็จะตอบแก่พวกเขาว่า “มิได้เป็นเช่นนั้น เครื่องบินนั้นอันตรายที่สุด เพราะว่าผู้โดยสารจะปะปนกัน เธออาจจะนั่งอยู่ใกล้กับผู้ชาย และบางทีอาจจะมีเหตุการณ์ทำให้เครื่องบินต้องเปลี่ยนทิศทางบินไปทางสนามบินอื่น ดังนั้น ก็จะไม่มีคนที่มาต้อนรับเธอ ท้ายสุดเธอก็จะต้องตกอยู่ในภาวะอันตราย และจะเป็นอย่างไร เมื่อสตรีอยู่ในประเทศที่เธอไม่รู้จัก และไม่มีมะห์ร็อม"
4. ห้ามชายหญิงอยู่กันตามลำพัง
และแนวทางหนึ่งที่จะรักษาอวัยวะเพศคือห้ามมิให้สตรีอยู่ตามลำพังกับชายที่ไม่ใช่มะห์ร็อมของเธอ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
«مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلا يَخْلُونَّ بِامْرَأَةٍ لَيْسَ مَعَهَا ذُو مَحْرَمٍ مِنْهَا فَإِنَّ ثَالِثْهُمَا الشَّيْطَانُ»
“ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก เขาก็อย่าได้อยู่กับสตรีโดยที่ไม่มีมะห์ร็อมของเธออยู่ด้วย เพราะคนที่สามก็คือชัยฏอน" (บันทึกโดยอะห์มัด : 3/339)
มีรายงานจากอามิรฺ อิบนุ เราะบีอะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “จงรู้ไว้เถิดว่าชายคนหนึ่งจะไม่อยู่ตามลำพังกับหญิงที่ไม่เป็นที่อนุมัติแก่เขา เพราะตนที่สามคือ ชัยฏอน นอกจากจะมีมะห์ร็อมอยู่ด้วยเท่านั้น" (บันทึกโดยอะห์มัด : 1/18)
อัล-มัจญดุดดีน (ปู่ของอิบนุ ตัยมียะฮฺ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือมุนตะกอ อัล-อัคบารฺ ว่า “ทั้งสองหะดีษนี้บันทึกโดย อิมามอะห์มัด และความหมายดังหะดีษที่กล่าวมาปรากฏในรายงานของอิบนุอับบาสซึ่งเป็นหะดีษที่บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม
อิมาม อัช-เชากานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือนัยลุลเอาฏอรฺ (6/120) “และการอยู่ตามลำพังกับสตรีที่แต่งงานได้นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม โดยมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ ดังที่อิบนุ หะญัรฺ ได้กล่าวไว้ในฟัตหุลบารี และสาเหตุของการห้ามตามหะดีษคือการที่มีชัยฏอนมาเป็นตนที่สามและมาอยู่ด้วยนั้น จะทำให้ทั้งสองกระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืน ส่วนการอยู่กับสตรีที่แต่งงานได้โดยมีมะห์ร็อมอยู่ด้วยก็เป็นสิ่งที่อนุญาต เนื่องจากจะไม่เกิดการฝ่าฝืน ขณะที่มะห์ร็อมอยู่"
สตรีบางคนและผู้ปกครองของเธออาจจะไม่สนใจ ปล่อยปะละเลยในเรื่องการอยู่ด้วยกันตามลำพังในหลากหลายรูปแบบ อาทิ
หนึ่ง สตรีอยู่ตามลำพังกับญาติใกล้ชิดของสามี และเปิดใบหน้า และนี่เป็นการอยู่ตามลำพังที่อันตรายที่สุด ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إيَّاكُمْ وَالدُّخُولَ عَلَى النِّسَاءِ» . فَقَالَ رَجُلٌ مِنْ الْأَنْصَارِ : يَا رَسُولَ اللَّهِ ، أَفرَأَيْتَ الْحَمْوَ ؟ قَالَ: «الْحَمْوُ الْمَوْتُ».
ความว่า
“ท่านทั้งหลายจงระวังการเข้าไปหาบรรดาสตรี" แล้วชายคนหนึ่งจากชาวอันศอรฺได้กล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แล้วท่านเห็นอย่างไรกับน้องชายของสามี? ท่านตอบว่า “นั่นคือความตาย" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5232 และอัต-ติรมีซีย์ : 1171)
อิบนุ หะญัรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในฟัตหุลบารีว่า “อิมามอัน-นะวะวีย์กล่าวว่า นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า “อัล-หัมวุ" ในสำนวนหะดีษ คือ ญาติใกล้ชิดของสามี เช่น พ่อ ลุง พี่น้อง หลาน ลูกพี่ลูกน้องของเขา และคนอื่นๆ....จุดประสงค์ของหะดีษคือบรรดาญาติใกล้ชิดของสามี แต่ไม่รวมถึงพ่อ และลูกๆ ของสามี เนื่องจากพวกเขาเป็นมะห์ร็อมของเธอ อนุญาตให้อยู่กับตามลำพังกับเธอได้ และพวกเขาไม่ถูกระบุลักษณะว่าเป็นความตาย... การปฏิบัติโดยทั่วไปมักจะมีการปล่อยปะละเลย โดยที่น้องชายจะอยู่ตามลำพังกับภรรยาของพี่ชาย ดังนั้น เขาจึงถูกเปรียบเหมือนกับความตาย ซึ่งสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการห้าม" (ฟัตหุลบารี : 9/331)
และอิมามอัช-เชากานีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือนัยลุลเอาฏอรฺ (6/122) “คำว่าญาติของสามีคือความตาย หมายความว่า ญาติของสามีน่ากลัวยิ่งกว่าคนอื่น ดังที่ความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากกว่าสิ่งอื่นๆ"
โอ้สตรีผู้ศรัทธาเอ๋ย เธอจงยำกรงต่ออัลลอฮฺเถิด และอย่าได้ปล่อยปะละเลยในเรื่องนี้ เพราะว่าบรรทัดฐานนั้นอยู่ที่บัญญัติของศาสนา ไม่ใช่วิถีปฏิบัติของมนุษย์ทั่วไป
สอง สตรีบางคนและผู้ปกครองของเธอ ปล่อยปะละเลยในเรื่องการโดยสารรถยนต์ไปกับคนขับตามลำพัง ซึ่งคนขับรถนั้นไม่ใช่มะห์ร็อมของเธอ ทั้งที่แท้จริงแล้วการกระทำเช่นนั้นเป็นที่ต้องห้าม
ชัยค์มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อาล อัช-ชัยค์ ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนาของประเทศซาอุดิอาระเบีย กล่าวไว้ใน มัจญ์มูอฺฟะตาวา เล่มที่ 10 หน้าที่ 52 ว่า “ในปัจจุบันนี้ไม่มีความสงสัยอันใดเลยว่า การโดยสารของสตรีซึ่งไปกับคนขับหรือเจ้าของรถตามลำพัง โดยไม่มีมะห์ร็อมติดตามเธอไปด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย และมีผลเสียมากมาย ไม่อาจมองข้ามได้ ไม่ว่าสตรีนั้นจะเป็นเด็กที่สงบเสงี่ยมหรือเด็กเรียบร้อยที่พูดคุยกับผู้ชายก็ตาม ผู้ชายที่พอใจกับการกระทำเช่นนี้ เขาเป็นผู้ที่ไม่เคร่งครัด ขาดความเป็นบุรุษ มีความหึงหวงน้อย" ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีชายคนใดที่อยู่ตามลำพังกับผู้หญิงนอกจากชัยฏอนจะเป็นตนที่สาม" (หะดีษบทนี้ได้อ้างอิงก่อนนี้แล้ว)
และการอยู่ตามลำพังในรถกับคนขับนั้น ยิ่งกว่าการอยู่กับเธอภายในบ้านและที่อื่นๆ เพราะเขาสามารถที่จะพาเธอไปไหนก็ได้ตามที่เขาประสงค์ ในประเทศ นอกประเทศ ด้วยความสมัครใจหรือบังคับ และจะมีผลเสียที่ร้ายแรงติดตามมา ซึ่งมากกว่าผลเสียจากการอยู่ตามลำพังทั่วๆ ไป และจำเป็นที่มะห์ร็อมจะต้องเป็นผู้ใหญ่ จึงไม่เพียงพอหากมะห์ร็อมนั้นเป็นเด็ก และสตรีบางคนเข้าใจผิดว่าเมื่อเธอได้พาเด็กมากับเธอด้วยนั่นหมายความว่าไม่อยู่ในข่ายการอยู่ด้วยกันโดยลำพังกับผู้ชายแล้ว นี่เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดมาก
อิมาม อัน-นะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “เมื่อชายและหญิงที่แต่งงานกันได้อยู่ตามลำพัง โดยไม่มีคนที่สามอยู่ด้วยก็เป็นสิ่งต้องห้ามโดยมติเอกฉันท์ และเช่นเดียวกันหากมีเด็กเล็กอยู่พร้อมกับเขาทั้งสอง การอยู่ด้วยกันโดยลำพังที่ต้องห้ามก็ยังคงมีอยู่" (อัล-มัจญ์มูอฺ : 9/109)
สาม สตรีบางคนและผู้ปกครองของเธอปล่อยปะละเลยให้สตรีเข้าไปหาหมอ โดยอ้างว่ามีความจำเป็นที่เธอจะต้องรักษา และนี่เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายมาก อันตรายยิ่ง และไม่อนุญาตให้ยอมรับและนิ่งเฉยต่อข้ออ้างเช่นนี้
ชัยค์มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม กล่าวไว้ในมัจญ์มูอฺฟะตาวา (10/13) ว่า “และอย่างไรก็ตาม การอยู่ตามลำพังกับสตรีที่แต่งงานกันได้ เป็นสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติ แม้กระทั่งหมอที่จะมาทำการเยียวยาเธอก็ตาม เนื่องจากหะดีษที่ว่า “ไม่มีชายคนใดที่จะอยู่กับสตรีโดยลำพังนอกจากชัยฏอนจะเป็นตนที่สาม" ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีคนหนึ่งคนใดอยู่กับเธอด้วย จะเป็นสามีหรือมะห์ร็อมคนอื่นๆ ถ้าหากมะห์ร็อมไม่พร้อมก็ให้มีญาติของเธอที่เป็นผู้หญิง แล้วหากไม่มีคนหนึ่งคนใดจากที่กล่าวมาแล้ว ในขณะความเจ็บป่วยถึงขั้นอันตรายไม่สามารถรอช้าได้ อย่างน้อยก็ต้องให้พยาบาลหรือคนอื่นอยู่ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้รอดพ้นจากการอยู่กันตามลำพังที่ต้องห้าม"
และเช่นเดียวกันไม่อนุญาตให้หมออยู่กับสตรีโดยลำพัง ไม่ว่าเธอจะเป็นหมอ เป็นเพื่อน หรือเป็นพยาบาลก็ตาม ไม่อนุญาตให้ครูชายซึ่งตาบอดหรืออื่นๆ อยู่ตามลำพังกับนักเรียนหญิง และไม่อนุญาตให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินไปอยู่ตามลำพังกับผู้ชาย
สำหรับเรื่องนี้ ผู้คนทั้งหลายได้ปล่อยปะละเลย โดยอ้างความทันสมัย เลียนแบบต่างศาสนิกอย่างเงยหัวไม่ขึ้น และไม่สนใจใยดีต่อบทบัญญัติศาสนา ดังนั้น ไม่มีอำนาจและไม่มีพลังอันใดนอกจากต้องพึ่งพาอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งและทรงไพศาล – ลาเหาละ วะลา กูว์วะตะ อิลลา บิลลาฮิล อะลียิลอะซีม
และไม่อนุญาตให้ผู้ชายอยู่ตามลำพังกับคนใช้หญิงที่บริการอยู่ในบ้านของเขา และไม่อนุญาตให้สตรีเจ้าของบ้านอยู่กับคนใช้ผู้ชายโดยลำพัง
สำหรับปัญหาคนรับใช้นั้นเป็นปัญหาที่ร้ายแรง ซึ่งผู้คนในสมัยนี้ประสบกันมาก เพราะผู้หญิงยุ่งอยู่กับการศึกษาและการทำงานนอกบ้าน และนั่นเป็นสิ่งที่ผู้ศรัทธาจำเป็นต้องระวังเป็นอย่างยิ่งและหลีกเลี่ยงให้มาก และอย่ายอมที่จะแลกกับประเพณีที่ไม่ดีทั้งหลายแหล่
เพิ่มเติม : ห้ามสตรีจับมือกับผู้ชายที่ไม่ใช่มะห์ร็อม
ชัยค์อับดุลอะซีซ บิน บาซ ประธานองค์การค้นคว้าด้านวิชาการ การชี้ขาดปัญหาศาสนา และการเรียกร้องเชิญชวน กล่าวไว้ในอัล-ฟะตาวา ซึ่งสถาบันการเผยแพร่และการเรียกร้องเชิญชวนจัดพิมพ์ (1/85) ว่า “ไม่อนุญาตให้สตรีจับมือผู้ชายที่ไม่ใช่ได้ มะห์ร็อมในทุกกรณี ไม่ว่าพวกเธอจะเป็นสาวหรือชราก็ตาม ไม่ว่าผู้ชายที่จับมือนั้นจะเป็นเด็กหนุ่มหรือคนแก่ก็ตาม เนื่องจากการกระทำเช่นนั้นเป็นอันตรายแก่ทุกคน มีรายงานที่เชื่อถือได้จากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنِّي لَا أُصَافِحُ النِّسَاءَ»
ความว่า “แท้จริง ฉันจะไม่จับมือกับบรรดาสตรี" (บันทึกโดยอัน- นะสาอีย์ : 4181)
และท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
وَاللَّهِ مَا مَسَّتْ يَدُ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَدَ امْرَأَةٍ قَطُّ غَيْرَ أَنَّهُ يُبَايِعُهُنَّ بِالْكَلَامِ.
ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ มือของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยสัมผัสกับมือของหญิงคนใดเลย เพียงแต่ท่านทำสัตยาบันกับพวกเธอด้วยคำพูดเท่านั้น" (บันทึกโดยมุสลิม : 1866)
และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างการจับมือโดยมีสิ่งขวางกั้นหรือไม่มีสิ่งขวางกั้นก็ตาม เนื่องจากหลักฐานต่างๆ ที่ครอบคลุม และเพื่อปิดช่องทางที่จะนำไปสู่ความวุ่นวาย
ชัยค์มุหัมมัด อัล-อะมีน อัช-ชันกีฏีย์ กล่าวไว้ในตัฟซีรฺ อัฎวาอ์ อัล-บะยาน (6/602-603) ว่า “พึงทราบเถิดว่า ไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับผู้ชายและผู้หญิงที่แต่งงานกันได้จะจับมือกัน และไม่อนุญาตให้สัมผัสร่างกายกับร่างกาย และหลักฐานในเรื่องราวดังกล่าวนั้นมีมากมาย
หนึ่ง ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงฉันจะไม่จับมือกับบรรดาสตรี..." และอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ لَّقَدۡ كَانَ لَكُمۡ فِي رَسُولِ ٱللَّهِ أُسۡوَةٌ حَسَنَةٞ لِّمَن كَانَ يَرۡجُواْ ٱللَّهَ وَٱلۡيَوۡمَ ٱلۡأٓخِرَ وَذَكَرَ ٱللَّهَ كَثِيرٗا ٢١ ﴾ [الأحزاب : ٢١]
ความว่า “โดยแน่นอนในเราะสูลของอัลลอฮฺมีแบบอย่างอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว" (อัล-อะห์ซาบ : 21)
ดังนั้น เราจะต้องไม่จับมือกับสตรี เพื่อเป็นการดำเนินตามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และหะดีษดังกล่าวเราได้นำเสนอมาแล้วในการอธิบายอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-หัจญ์ในเรื่องที่ว่าด้วยการห้ามไม่ให้ผู้ชายสวมใส่เสื้อผ้าที่ย้อมสีเหลือง ทุกกรณี ในพิธีกรรมหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ และอื่นๆ และในซูเราะฮฺ อัล- อะห์ซาบเกี่ยวกับเรื่องหิญาบ
และการที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่จับมือกับบรรดาสตรีในขณะที่ทำสัตยาบันนั้น เป็นหลักฐานที่ชัดแจ้งว่าผู้ชายนั้นจะไม่จับมือกับผู้หญิง และร่างกายของเขาจะไม่ไปสัมผัสกับร่างกายของเธอ เพราะว่าการจับมือเป็นการสัมผัสที่เบาที่สุดจากประเภทของการสัมผัส ดังนั้น เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ไม่จับมือในเวลาที่มีความจำเป็น นั่นก็คือเวลาการทำสัตยาบัน ก็บ่งบอกการจับมือไม่เป็นที่อนุญาต และไม่อนุญาตให้คนหนึ่งคนใดขัดแย้งกับท่าน เพราะท่านเป็นผู้วางบทบัญญัติให้แก่ประชาชาติของท่าน โดยคำพูด การกระทำต่างๆ และการยอมรับของท่าน
สอง เราเคยนำเสนอแล้วว่า บรรดาสตรีเป็นเอาเราะฮฺ (สิ่งพึงสงวน) ดังนั้นเธอต้องสวมใส่หิญาบ และการที่มีคำสั่งให้ลดสายตาเนื่องจากเกรงว่าจะเกิดอันตราย และไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าการสัมผัสร่างกายกับร่างกายนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดและชักนำความรู้สึกได้ดีที่สุดมากกว่ามองด้วยสายตา และบุคคลที่มีหลักธรรมย่อมรู้ว่านี่คือความจริง
สาม การจับมือจะเป็นตัวนำสู่การเสพสุขกับสตรีที่ไม่ใช่ภรรยา เนื่องจากสมัยนี้ความยำเกรงลดน้อยลง ขาดความซื่อสัตย์ และไม่มีการออกห่างจากสิ่งที่ทำให้เกิดความระแวง ซึ่งเราก็ได้บอกหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า สามีบางคนจูบพี่น้องสาวของภรรยา ด้วยการจูบปากต่อปาก และเรียกการจูบดังกล่าวว่า -ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามโดยมติเอกฉันท์- ว่าเป็นการทักทายให้เกียรติ พวกเขาจะกล่าวกันว่า ท่านจงทักทายแก่เธอ พวกเขาหมายถึงว่าท่านจงจูบเธอ ดังนั้นความจริงที่ไม่ต้องสงสัยใดๆ คือการออกห่างจากฟิตนะฮฺและสาเหตุที่ทำให้เกิดความระแวง และที่ใหญ่หลวงที่สุดคือการสัมผัสเรือนร่างของสตรีที่แต่งงานกันได้ และทุกช่องทางที่นำสู่สิ่งต้องห้ามนั้น จำเป็นจะต้องปิดให้สนิท
บทส่งท้าย
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงคำสั่งของอัลลอฮฺ ในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
﴿ قُل لِّلۡمُؤۡمِنِينَ يَغُضُّواْ مِنۡ أَبۡصَٰرِهِمۡ وَيَحۡفَظُواْ فُرُوجَهُمۡۚ ذَٰلِكَ أَزۡكَىٰ لَهُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ خَبِيرُۢ بِمَا يَصۡنَعُونَ ٣٠ وَقُل لِّلۡمُؤۡمِنَٰتِ يَغۡضُضۡنَ مِنۡ أَبۡصَٰرِهِنَّ وَيَحۡفَظۡنَ فُرُوجَهُنَّ وَلَا يُبۡدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلَّا مَا ظَهَرَ مِنۡهَاۖ وَلۡيَضۡرِبۡنَ بِخُمُرِهِنَّ عَلَىٰ جُيُوبِهِنَّۖ وَلَا يُبۡدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلَّا لِبُعُولَتِهِنَّ أَوۡ ءَابَآئِهِنَّ أَوۡ ءَابَآءِ بُعُولَتِهِنَّ أَوۡ أَبۡنَآئِهِنَّ أَوۡ أَبۡنَآءِ بُعُولَتِهِنَّ أَوۡ إِخۡوَٰنِهِنَّ أَوۡ بَنِيٓ إِخۡوَٰنِهِنَّ أَوۡ بَنِيٓ أَخَوَٰتِهِنَّ أَوۡ نِسَآئِهِنَّ أَوۡ مَا مَلَكَتۡ أَيۡمَٰنُهُنَّ أَوِ ٱلتَّٰبِعِينَ غَيۡرِ أُوْلِي ٱلۡإِرۡبَةِ مِنَ ٱلرِّجَالِ أَوِ ٱلطِّفۡلِ ٱلَّذِينَ لَمۡ يَظۡهَرُواْ عَلَىٰ عَوۡرَٰتِ ٱلنِّسَآءِۖ وَلَا يَضۡرِبۡنَ بِأَرۡجُلِهِنَّ لِيُعۡلَمَ مَا يُخۡفِينَ مِن زِينَتِهِنَّۚ وَتُوبُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِ جَمِيعًا أَيُّهَ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٣١ ﴾ [النور : ٣٠-٣١]
ความว่า “จงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายเถิด ให้พวกเขาลดสายตาของพวกเขา และรักษาอวัยวะเพศของพวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้รอบรู้ในสิ่งที่พวกเขากระทำ และจงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาหญิงเถิด ให้พวกเธอลดสายตาของพวกเธอ และรักษาอวัยวะเพศของพวกเธอ ไม่นำเอาเครื่องประดับของพวกเธอมาแสดง นอกจากสิ่งที่อยู่ภายนอกเท่านั้น และพวกเธอจงเอาผ้าคลุมศีรษะของพวกเธอมาคลุมคอเสื้อของพวกเธอ และไม่นำเครื่องประดับของพวกเธอมาแสดง นอกจากแก่สามีของพวกเธอ พ่อของพวกเธอ พ่อของสามีของพวกเธอ ลูกของพวกเธอ ลูกของสามีของพวกเธอ พี่น้องชายของพวกเธอ ลูกของพี่น้องชายของพวกเธอ ลูกชายของพี่น้องหญิงของพวกเธอ พวกผู้หญิงของพวกเธอ พวกทาสของพวกเธอ พวกติดตามที่ไม่มีความต้องการทางเพศจากพวกผู้ชาย หรือเด็กที่พวกเขาไม่รู้จักสิ่งที่พึงสงวนต่างๆ ของสตรี และพวกเธออย่าได้เอาเท้าของพวกเธอกระแทกพื้น เพื่อให้รู้ถึงสิ่งที่พวกเธอซ่อนไว้จากเครื่องประดับของพวกเธอ และพวกเจ้าจงกลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮฺอย่างพร้อมเพรียงกัน โอ้บรรดาผู้ศรัทธา หวังว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ" (อัน-นูรฺ : 30-31)
มวลการสรรเสริญนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความจำเริญและสันติจงมีแด่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม วงศ์วานของท่าน และบรรดาสาวกทั้งมวล
وصلى الله على محمد وآله وصحبه وسلم.
หนังสือที่ประมวลบทบัญญัติต่างๆ ในอิสลามที่เกี่ยวข้องกับสตรีเป็นการเฉพาะ รวบรวมประเด็นต่างๆ โดยสังเขป ประกอบด้วยบทบัญญัติทั่วไป บัญญัติเกี่ยวกับการตกแต่งเรือนร่างของสตรี บัญญัติเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน เลือดเสีย และเลือดหลังคลอด เสื้อผ้าและหิญาบ การละหมาด การจัดการศพ การถือศีลอด การประกอบพิธีหัจญ์และ อุมเราะฮฺ การเป็นสามีภรรยาและการสิ้นสุดระหว่างกัน บัญญัติต่างๆ ที่จะปกป้องรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความบริสุทธิ์ของสตรี