Full Description
การศรัทธาที่สมบูรณ์ คือการปรารถนาดีต่อผู้อื่น
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : ณัจญวา บุญมาเลิศ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2012 - 1433
شرح حديث
«لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لِأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ»
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: نجوى بونماليرت
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การศรัทธาที่สมบูรณ์ คือการปรารถนาดีต่อผู้อื่น
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอการสดุดียกย่องและความสันติจงประสบแด่ท่านศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามูฮำหมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
มีรายงานหะดีษซึ่งบันทึกโดยท่านอิมามอัล-บุคอรียฺและมุสลิม จากท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
« لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ » [البخاري برقم 13، ومسلم برقم 45]
ความว่า “คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่มีศรัทธาอย่างแท้จริง จนกว่าเขาจะปรารถนาให้พี่น้องของเขาได้รับในสิ่งที่เขาปรารถนาจะให้ตนเองได้รับ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 13 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 45)
หะดีษอันทรงเกียรติบทนี้ เป็นหนึ่งในหะดีษที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและถือเป็นหัวใจหลักของศาสนา หากว่าเราได้ปฏิบัติตามแล้ว ย่อมสามารถขจัดความชั่วร้าต่างๆ และยุติข้อพิพาทระหว่างผู้คนได้ สังคมส่วนรวมก็จะถูกปกคลุมด้วยความปลอดภัย ความดีงาม และสันติสุข ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหัวใจปราศจากการฉ้อฉล คดโกง และอิจฉาริษยา
ทั้งนี้ เพราะการอิจฉาริษยาส่งผลให้ผู้อิจฉาเกลียดชิงชังผู้คนที่ทำดีเหนือกว่าหรือเทียบเท่ากับเขา โดยเขาปรารถนาที่จะให้ตนเองโดดเด่นแต่เพียงผู้เดียวเหนือผู้อื่นด้วยคุณงามความดีของเขา แต่การศรัทธานั้นจะส่งผลตรงกันข้าม กล่าวคือผู้ที่มีความศรัทธาจะหวังให้ผู้ศรัทธาทั้งมวลมีส่วนร่วมได้รับสิ่งดีๆ ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้ โดยที่ไม่มีสิ่งใดขาดหายไปเลยแม้แต่น้อย (ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 147)
ท่านมุอาซ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงการศรัทธาที่ประเสริฐที่สุด ซึ่งท่านตอบว่า:
« أَفْضَلُ الإِيْمَانِ: أَنْ تُحِبَّ للهِ وَتُبْغِضَ فِي اللهِ ، وَتُعْمِلَ لِسَانَكَ فِي ذِكْرِ الله قَالَ: وماذا يا رسول الله ؟ قال: وَأَنْ تُحِبَّ لِلنَّاسِ مَا تُحِبُّ لِنَفْسِكَ ، وَ تَكْرَهَ لَهُمْ مَا تَكْرَهُ لِنَفْسِكَ ، وَأَنْ تَقُوْلُ خَيْرًا أَوْ تَصْمُتَ » أحمد برقم 22130]
ความว่า “การศรัทธาที่ประเสริฐที่สุด คือ การที่ท่านรักเพื่ออัลลอฮฺ โกรธเพื่ออัลลอฮฺ และการที่ท่านใช้ลิ้นของท่านไปกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ" ท่านมุอาซได้ถามต่อว่า: แล้วมีอะไรอีกไหมครับท่านเราะสูลุลอฮฺ? ท่านตอบว่า: "การที่ท่านปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ท่านปรารถนาให้ตนเองได้รับ และรังเกียจที่จะให้ผู้คนได้รับในสิ่งที่ท่านรังเกียจที่จะให้ตนเองได้รับ และการพูดในสิ่งที่ดีหรือไม่ก็เงียบเสีย” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 22130)
และนี่คือแขนงหนึ่งของการศรัทธาที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้ระบุว่าการปฏิบัติสิ่งนี้จะเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ดังปรากฏจากหะดีษของท่านยะซีด บิน อะสัด อัล-ก็อสรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า:
« أَتُحِبُّ الْجَنَّةَ ؟ » قُلْتُ : نَعَمْ ، قَالَ :« فَأَحِبَّ لِأَخِيْكَ مَا تُحِبُّ لِنَفْسِكَ » [رواه أحمد برقم 16655]
ความว่า “ท่านปรารถนาที่จะเข้าสวรรค์หรือไม่?” ฉันตอบว่า “ครับ” ท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ดังนั้น จงปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้รับเหมือนกับที่ท่านปรารถนาให้ตนเองได้รับ” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 16655)
มีหะดีษบันทึกจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
« فَمَنْ أَحَبَّ أَنْ يُزَحْزَحَ عَنِ النَّارِ وَ يُدْخَلَ الْجَنَّةَ ، فَلْتَأْتِهِ مَنِيَّتُهُ وَ هُوَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَ الْيَوْمِ الْآخِرِ ، وَلْيَأْتِ إِلَى النَّاسِ الَّذِيْ يُحِبُّ أَنْ يُؤْتَى إِلَيْهِ » [رواه مسلم برقم 1844]
ความว่า “ผู้ใดปรารถนาที่จะได้รับการปลดปล่อยให้รอดพ้นจากไฟนรก และได้เข้าสรวงสวรรค์ ก็จงให้ความตายมาเยือนเขาขณะที่เขาดำรงสภาพเป็นผู้ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺและวันสิ้นโลก และจงปฏิบัติต่อผู้คนในสิ่งที่เขาปรารถนาให้ผู้คนปฏิบัติต่อตัวเขาเอง” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1844)
จากท่านอบูซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
« يَا أَباَ ذَرٍّ إِنِّيْ أَرَاكَ ضَعِيْفًا ، وَإِنِّيْ أُحِبُّ لَكَ مَا أُحِبُّ لِنَفْسِيْ ، لَا تَأَمَّرَنَّ عَلَى اثْنَيْنِ ، وَلَا تَوَلَّيَنَّ مَالَ يَتِيْمٍ » [رواه مسلم برقم 1826]
ความว่า “โอ้อบูซัรฺเอ๋ย ฉันเห็นว่าท่านนั้นเป็นผู้ที่อ่อนแอ และฉันก็ปรารถนาที่จะให้ท่านได้รับในสิ่งที่ฉันปรารถนาให้ตนเองได้รับ ดังนั้น ท่านจงอย่าได้เป็นผู้นำ และจงอย่าได้เป็นผู้พิทักษ์คุ้มครองทรัพย์สินของเด็กกำพร้าเลย” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1826)
การที่ท่านนบีได้ห้ามอบูซัรฺในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากท่านนบีเห็นความอ่อนแอในตัวเขา และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ต้องการห้ามผู้อ่อนแอทั้งหมดเช่นเดียวกัน อนึ่ง การที่ท่านนบีเป็นผู้ปกครองดูแลประชาชน ก็เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงมอบความเข้มแข็งให้แก่ท่าน และยังได้ทรงสั่งใช้ให้ท่านทำการเรียกร้องเชิญชวนผู้คนทั้งมวลไปสู่การเชื่อฟังพระองค์ โดยท่านนบียังเป็นผู้บริหารกิจการทางด้านศาสนาและทางโลกของเหล่าประชาชนอีกด้วย
ท่านมุหัมมัด บิน วาสิอ์ ได้เคยขายลาตัวหนึ่ง แล้วก็มีชายคนหนึ่งกล่าวกับเขาว่า “ท่านพอใจที่จะให้ลาตัวนั้นแก่ฉันไหม?" เขาตอบว่า "หากฉันพอใจที่จะให้ท่าน ฉันคงไม่ขายมันไปหรอก" นี่เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเขาจะไม่พึงใจให้พี่น้องของเขาได้รับสิ่งใดนอกจากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เขาพึงใจเช่นกัน และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อคิดเตือนใจแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ซึ่งก็คือภาพรวมของศาสนา
ท่านอบูอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:
إِنَّ فَتًى شَابًّا أَتَى النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ : يَا رَسُوْلُ اللهِ ائْذَنْ لِيْ بِالزِّنَا! فَأَقْبَلَ الْقَوْمُ عَلَيْهِ فَزَجَرُوْهُ وَقَالُوْا : مَهْ ، مَهْ ، فَقَالَ : « ادْنُهْ » ، فَدَنَا مِنْهُ قَرِيْبًا ، قَالَ : فَجَلَسَ ، قَالَ صلى الله عليه وسلم « أَتُحِبُّهُ لِأُمِّكَ ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ :« وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِأُمَّهَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم : « أَفَتُحِبُّهُ لِابْنَتِكَ؟ » قَالَ : لاَ وَاللهِ يَا رَسُوْلُ اللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ : « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِبَنَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم: « أَفَتُحِبُّهُ لِأُخْتِكَ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ : « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِأَخَوَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم: « أَ فَتُحِبُّهُ لِعَمَّتِكَ ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ: « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِعَمَّاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم : « أَفَتُحِبُّهُ لِخَالَتِكَ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ : « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِخَالَاتِهِمْ » قَالَ: فَوَضَعَ يَدَهُ عَلَيْهِ ، وَقَالَ : « اللَّهُمَّ اغْفِرْ ذَنْبَهُ ، وَطَهِّرْ قَلْبَهُ ، وَحَصِّنْ فَرْجَهُ » ، قَالَ: فَلَمْ يَكُنْ بَعدَ ذَلِكَ الفَتَى يَلْتَفِتُ إِلَى شَيْءٍ . [رواه أحمد 22211]
ความว่า: เด็กหนุ่มคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ โปรดอนุญาตให้ผมทำซินาด้วยเถิด” ผู้คนจึงต่างหันมาตำหนิดุว่าเขาและบอกให้เขาหยุดพูดเช่นนั้น ท่านนบีได้กล่าวกับเด็กหนุ่มคนนั้นว่า ”ไหนเข้ามาใกล้ๆสิ” เขาจึงขยับเข้าไปใกล้ท่านแล้วนั่งลง จากนั้นท่านก็กล่าวถามเขาว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับมารดาของท่านหรือ?” ชายคนนั้นตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน (เป็นสำนวนสาบาน)” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับมารดาของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับบุตรสาวของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับบุตรสาวของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “แล้วท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของบิดาท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวบิดาของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “แล้วท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของมารดาของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “ผู้คนก็ไปพึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของมารดาของพวกเขาเช่นกัน” แล้วท่านนบีก็ได้วางมือบนตัวชายหนุ่มคนนั้น และกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ โปรดอภัยในความผิดบาปของเขา โปรดชำระจิตใจของเขาให้สะอาด และโปรดรักษาอวัยวะเพศของเขาด้วยเถิด” จากนั้นชายหนุ่มคนนั้นก็ไม่มีท่าทีสนใจอะไรเช่นนั้นอีก (บันทึกโดย อะหฺมัด หะดีษเลขที่ 22211)
ท่านอิบนุ เราะญับ กล่าวว่า: "สมควรอย่างยิ่งที่ผู้ศรัทธาจะแสดงความเสียใจที่เขาได้พลาดโอกาสทำคุณความดีในเรื่องศาสนา ด้วยเหตุนี้ ผู้ศรัทธาจึงถูกสั่งใช้ให้มองผู้ที่เหนือกว่าเขาในเรื่องศาสนา และแข่งขันกันในการแสวงหาความดีทางศาสนาด้วยความอุตสาหะและพยายาม ดังที่อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสว่า:
﴿ وَفِي ذَٰلِكَ فَلۡيَتَنَافَسِ ٱلۡمُتَنَٰفِسُونَ ٢٦ ﴾ [المطففين: ٢٦]
ความว่า “และในการนี้บรรดาผู้แข่งขัน จงแข่งขันกันเถิด” (อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน: 26)
และเขาต้องไม่ชิงชังหากจะมีผู้อื่นมาเข้าร่วมแข่งขันกับเขาในการทำความดี แต่ต้องพึงใจให้ผู้คนทั้งหมดเข้าร่วมการแข่งขันนี้ และส่งเสริมพวกเขา นี่เป็นข้อเตือนใจที่เต็มเปี่ยมยิ่งสำหรับพี่น้องมิตรสหาย โดยที่เมื่อใดผู้หนึ่งก้าวขึ้นไปอยู่เหนือเขาในเรื่องการทำความดีทางศาสนา เขาก็ต้องพยายามเร่งตามให้ทัน และเสียใจในความบกพร่องของตนเองที่ยังเดินตามหลังพวกแนวหน้า มิใช่อิจฉาพวกเขาในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานให้ แต่ให้กวดขันและแสดงความยินดีกับพวกเขาพร้อมเสียใจต่อข้อบกพร่องของตนที่ยังล้าหลังจากกลุ่มแนวหน้า และสมควรที่ผู้ศรัทธาจะต้องมองตัวเองว่าบกพร่องอยู่เสมอ ยังไปไม่ถึงจุดสูงสุด เพื่อยังประโยชน์แก่เขาสองประการที่สำคัญ คือ หนึ่ง ความมุมานะในการแสวงหาคุณงามความดี และเพิ่มพูนอยู่เสมอ และสอง คือการที่ได้มองตนเองว่ายังไม่สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลตามมาคือ เขาจะปรารถนาให้ผู้ศรัทธาคนอื่นเป็นคนดีมากกว่าเขา เพราะเขาไม่อยากให้ผู้อื่นมีสภาพเหมือนเขา ดั่งที่เขาไม่อยากให้ตัวเองมีสภาพเช่นนี้ ซึ่งเขาก็มุมานะที่จะปรับปรุงตัวเสมอ มุหัมมัด บิน วาสิอ์ ได้กล่าวแก่ลูกชายของท่านว่า: 'สำหรับบิดาของเจ้านั้น ขออัลลอฮฺทรงอย่าให้มีคนแบบเขามากมายในหมู่มุสลิมเลย'
ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่พอใจในสภาพของตนเอง แล้วเขาจะอยากให้มุสลิมคนอื่นเป็นเหมือนเขาได้อย่างไร! ตรงกันข้าม เขาต้องอยากให้มุสลิมคนอื่นมีสภาพที่ดีกว่าเขา และอยากให้ตนเองมีสภาพที่ดีกว่าเดิม” (ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 148-149)
ท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า “ฉันได้ผ่านอายะฮฺหนึ่งจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และฉันปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คนทุกคนรับรู้สิ่งที่อายะฮฺนั้นกล่าวถึงเสมือนกับที่ฉันได้รู้มา
ท่านอิหม่ามชาฟิอียฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ฉันปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ผู้คนเรียนรู้ศาสตร์นี้ โดยที่พวกเขามิได้อ้างอิงใดๆ ถึงฉันเลย”
والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.