×

ย่อจากสําราเล่ยใหญ่ เราะสูลุลลอสุ วะ คลดับ ลัน-นะบียืน ตืน วะ เดาละส์ - (ไทย)

ย่อจากสําราเล่ยใหญ่ เราะสูลุลลอสุ วะ คลดับ ลัน-นะบียืน ตืน วะ เดาละส์

การสร้างและพัฒนาสังคมเมือง ในชีวประวัติศาสนทูตมุหัมมัด ﷺ - (ไทย)

การสร้างและพัฒนาสังคมเมือง ในชีวประวัติศาสนทูตมุหัมมัด ﷺ

บทเรียนจากชีวประวัติศาสนทูต - (ไทย)

ไฟล์เสียงโดย อาจารย์ฮาบีบุลลอฮฺ ศรีอุทัย ออกอากาศในรายการของวิทยุวามีย์ wamythai.org เป็นบทเรียนเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะซัลลัม ในตอนหลังจากที่ท่านได้ฮิจญ์เราะฮฺมาถึงมะดีนะฮฺและทำการผูกญาติระหว่างชาวมุสลิมมุฮาญิรีนและอันศอร

เยาวชนหนุ่มสาว ในยุคสมัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม - (ไทย)

ตัวอย่างชีวประวัติของคนหนุ่มสาวเศาะหาบะฮฺที่เป็นกำลังสำคัญของอิสลามในหน้าประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ อาทิ อะลีย์ บิน อบีฏอลิบ, อิบนุ อุมัร, อัซ-ซุเบรฺ, อัสมาอ์, อิบนุ อับบาส, สะอัด บิน อบีวักกอศ, อัน-นุอฺมาน บิน บะชีร, มุอาซ บิน อัมรฺ และ มุเอาวิซ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ควรค่าแก่การศึกษาและเอาเยี่ยงอย่างสำหรับหนุ่มสาวในยุคปัจจุบัน

วิเคราะห์ข้อคิดและบทเรียนจากชีวประวัติศาสนทูตมุหัมมัด - (ไทย)

หนังสือ "อัส-สีเราะฮฺ อัน-นะบะวียะฮฺ ดุรูส วะ อิบัรฺ" (วิเคราะห์ข้อคิดและบทเรียนจากชีวประวัติศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม) เป็นหนึ่งในจำนวนหนังสือควรอ่านสำหรับมุสลิมทุกคนที่ประสงค์จะเรียนรู้วิถีอิสลามอันถูกต้อง จากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของอิสลาม ผ่านตัวอย่างอันประเสริฐที่สุดของประชาชาติและมวลมนุษย์ หนังสือเ่ล่มนี้รวบรวมข้อคิดต่างๆ อย่างกระทัดรัดและเข้าใจได้ง่าย และมีเนื้อหาครอบคลุมในหลายแง่มุม ทั้งในด้านความเชื่อ การปฏิบัติ การเชิญชวน การต่อสู้เพื่อสัจธรรม และอื่นๆ อีกมากมาย

เล่ห์มาร ช่องทางของชัยฏอนในการล่อลวงคนดี - (ไทย)

หนังสือที่ให้ข้อมูลและตักเตือนถึงความร้ายกาจของชัยฏอนมารร้าย ที่คอยยุแหย่ล่อลวงมนุษย์ให้กระทำความผิด ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพของระดับการศรัทธาของมุสลิม ประกอบด้วยข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงหลักคืออัลกุรอานและคำสอนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมคำอธิบายวิธีการรับมือกับภัยร้ายนี้ .. (ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 4-10-2011)

ระดับชั้นของผู้ศรัทธา - (ไทย)

อธิบายระดับชั้นของผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์ ของท่านเชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

จำเป็นต้องระวังฟิตนะฮฺที่ชัยฏอนโยนใส่พี่น้องมุสลิม - (ไทย)

ความเป็นศัตรูของชัยฏอนที่มีต่อมนุษย์นั้นได้รับการยืนยันแล้ว ไม่มีข้อสงสัยใดๆ อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงมันไว้ในอัลกุรอานเพื่อเตือนบ่าวของพระองค์ถึงแผนการร้ายของมัน ซึ่งก็คือมันจะไม่ปล่อยสิ่งใดที่อาจก่อความบาดหมางกัน นอกจากมันจะทำและพยายามถึงที่สุดในเรื่องดังกล่าวนั้น และหนึ่งในนั้นก็คือ การก่อฟิตนะฮฺและความบาดหมางระหว่างกันที่จะส่งผลให้เกิดความแตกแยก การหันหลังให้กัน และการรบราฆ่าฟันกันในระหว่างมุสลิมด้วยกัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

คุฏบะฮฺ ชัยฏอนคือศัตรูของพวกเจ้า - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเป็นศัตรูของชัยฏอนต่อมนุษย์ นับตั้งแต่อดีตกาลมา รวมทั้งอธิบายวิธีการของชัยฏอนในการล่อลวงมนุษย์ เพื่อให้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ หรือเพื่อกระทำบาป หรือเพื่อให้เบี่ยงเบนออกจากความถูกต้องและสิ่งที่ควรทำ ดังนั้น มนุษย์จึงจำเป็นต้องตระหนักในข้อเท็จจริงดังกล่าว และพยายามต่อสู้เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของชัยฏอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดความบาดหมางและการทะเลาะกันเองระหว่างพี่น้อง

คุฏบะฮฺ หัจญ์ ภาพแห่งความเป็นหนึ่งบนฐานแห่งเตาฮีด - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงความสำคัญของหัจญ์ อันเป็นสัญลักษณ์ความงดงามประการหนึ่งของอิสลาม ศาสนาที่วางอยู่บนรากฐานแห่งเตาฮีด หรือการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว ซึ่งนำไปสู่การแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชาติมุสลิมที่ต่างมีเป้าหมายสูงสุดอันหนึ่งเดียว คือการได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ หัจญ์จึงเป็นโรงเรียนที่สามารถสอนอะไรหลายอย่างเพื่อการเปลี่ยนแปลงของปัจเจกชนและสังคมมุสลิม

อิบาดะฮฺฮัจญ์ : สัญลักษณ์แห่งเอกภาพ (เตาฮีด) อันโดดเด่นที่สุด - (ไทย)

ผู้เขียนได้สาธยายถึงอะมัลต่างๆ ในเดือนซุลหิจญะฮฺ เช่นการทำหัจญ์ ความประเสริฐของการทำอิบาดะฮฺในช่วงสิบวันแรกของเดือน อะมัลในวันอีด การเชือดกุรบานในวันตัชรีก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นภาพที่แสดงถึงเตาฮีดอันเด่นชัดยิ่ง

นิยามของเกาะฎออ์(การพิพากษา)และหุก่มของมัน - (ไทย)

จากหนังสือ มุคตะศ็อร ฟิกฮิล อิสลามีย์ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ อาทิ ความหมายของเกาะฎออ์ (การพิพากษา) วิทยปัญญาของบทบัญญัติที่ให้มีการพิพากษา หุก่มหรือข้อตัดสินว่าด้วยการพิพากษา เงื่อนไขของผู้พิพากษา